จรรยา แผนสมบูรณ์
Dr. จรรยา แผนสมบูรณ์ จรรยา แผนสมบูรณ์

ภาวะผู้นำแบบความสามารถพิเศษ (Charismatic Leadership)


ภาวะผู้นำแบบความสามารถพิเศษ (Charismatic Leadership)

ทฤษฎีภาวะผู้นำแบบความสามารถพิเศษ (Chariamatic Leadership) คำว่า "Charisma" หรือ "ความสามารถพิเศษ" มาจากภาษากรีก
หมายถึงบุคคลที่มีพรสวรรค์ที่สามารถทำงานได้สำเร็จ อย่างน่าอัศจรรย์ ทั้งยังสามารถทำนายเหตุการณ์และคาดการณ์ล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำ นัก
สังคมวิทยาอย่าง แม็กซ์ วีเบอร์ (Max Weber, 1947) อ้างจาก ยุคส์ (Yukl, 1989:204) ได้อธิบายถึง ผู้นำที่มีความสามารถพิเศษ (Charismatic
Leader) ว่าเป็นผู้นำที่มีอิทธิพลเหนือผู้ตามโดยไม่ได้อาศัยตำแหน่ง อำนาจหน้าที่และประเพณีที่ยึดถือกันมา
      หากอยู่ที่ความสามารถพิเศษของตัวผู้นำเองซึ่งก่อให้เกิดอำนาจบารมีผู้นำที่มีความสามารถพิเศษนั้นพบในการศึกษาผู้นำหลายประเภทโดย
เฉพาะผู้นำทางการเมืองทางศาสนาผู้นำที่นำชุมชนเคลื่อนไหวหรือต่อสู้เรียกร้องสิทธิบางประการ แต่ไม่ค่อยพบเห็นผู้นำเช่นนี้ในองค์การทางธุรกิจ
หรือองค์การประเภทอื่น
      ได้มีนักสังคมวิทยาและรัฐประศาสนศาสตร์พยายามอธิบายคำว่าCharismaโดยศึกษาเงื่อนไขที่ทำให้เกิดลักษณะหรือคุณสมบัติพิเศษเช่นนั้นใน
ตัวผู้นำจนทำให้มีภาวะผู้นำแบบความสามารถพิเศษในที่สุดสิ่งที่โต้แย้งกันมากก็คือความสามารถพิเศษของผู้นำเกิดได้อย่างไรกันจากคุณลักษณะ
ของผู้นำเอง เงื่อนไขของสถานการณ์หรือเพราะการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้นำและผู้ตามจากข้อโต้แย้งนี้ทำให้มีการศึกษาแตกต่างกันออกไปหลายแนว
ทางเพื่อหาคำตอบให้ได้เช่น การศึกษาคุณลักษณะสถานการณ์กระบวนการใช้อิทธิพลซึ่งกันและกันในการศึกษาวรรณคดีเกี่ยวกับภาวะผู้นำอย่างไรก็
ตามทุกวันนี้คำว่า Charisma หรือความสามารถพิเศษ ยังคงถูกใช้หลายความหมายและการใช้แตกต่างกันแต่อย่างไรก็ตามยังมีความหมายที่แสดงให้
เข้าใจถึงว่าเกิดจากการมีความสัมพันธ์ระหว่างการอยู่ร่วมกัน หรือทำงานร่วมกันของผู้นำและผู้ตาม

1 ทฤษฎีภาวะผู้นำแบบความสามารถพิเศษของเฮาส์ (House's Charismatic Leadership Theory)
      เฮาส์(House,1977)ได้เสนอทฤษฎีที่อธิบายภาวะผู้นำแบบความสามารถพิเศษที่ได้มาจากการสังเกตผู้นำในสังคมหลาย  แบบทฤษฎีนี้ได้พบว่า
ภาวะผู้นำแบบความสามารถพิเศษนั้นเกิดขึ้นอย่างไร มีความแตกต่างจากคนอื่นอย่างไร และเงื่อนไขใดหรือที่ไหนที่ทำให้เกิดได้อย่างดี ซึ่งรวมถึง
คุณลักษณะของผู้นำ พฤติกรรม และเงื่อนไขของสถานการณ์ จึงทำให้ทฤษฎีครอบคลุม โดยได้สรุปให้เห็นกว้าง ๆ ถึงลักษณะพิเศษของผู้นำที่ทำให้
เกิดภาวะผู้นำแบบความสามารถพิเศษได้นั้น ก็คือผู้นำที่ทำให้ผู้ตามมีความเชื่อหรือเกิดสิ่งต่อไปนี้ อ้างจาก ยุคส์ (Yukl, 1989:205)



    จากทฤษฎีจะเห็นได้ว่าภาวะผู้นำแบบความสามารถพิเศษต้องการมีอำนาจ มีความ มั่นใจและเชื่อมั่นในความคิดของตนเอง ความต้องการมีอำนาจ
ของผู้นำทำให้ผู้นำพยายามมีอิทธิพลเหนือผู้ตาม โดยการพยายามมีพฤติกรรมหรือกิจกรรมร่วมกันมากและบ่อยครั้งขึ้น
การแสดงให้เห็นถึงการมีความเชื่อมั่นและมีความมั่นใจในตนเองของผู้นำจะทำให้ผู้ตามเชื่อมั่นในการตัดสินหรือวินิจฉัยงานและการสั่งการ
ต่าง  สำหรับผู้นำที่ขาดทั้งความมั่นใจและเชื่อมั่นในตนเองย่อมไม่สามารถจะสร้างอิทธิพลเหมือนคนอื่นได้และแน่นอนโอกาสจะประสบความสำเร็จ
ในการปฏิบัติงานก็ย่อมน้อยไปด้วย
    ภาวะผู้นำแบบความสามารถพิเศษจะเกิดขึ้นเมื่อผู้นำแสดงให้เห็นถึงความสามารถและความสำเร็จจนประทับใจลูกน้องฉะนั้นผู้นำต้องรู้จักมี
พฤติกรรมให้ลูกน้องเชื่อมั่นดังกล่าวให้ได้เพราะถ้าทำให้ลูกน้องเชื่อมั่นในความสามารถโดยเฉพาะในเรื่องการตัดสินใจ ก็จะทำให้ลูกน้องยอมรับและ
ยินดีจะปฏิบัติตามคำสั่งของผู้นำมากขึ้น แต่หากขาดในสิ่งที่กล่าวมา ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและการผิดพลาดในเรื่องการตัดสินใจ หรืออื่น ๆ จะทำให้ผู้
ตามขาดความเชื่อมั่นในผู้นำ และผู้นำจะมีอิทธิพลต่อผู้ตามลดน้อยไปเรื่อย ๆ
    ผู้นำแบบความสามารถพิเศษเน้นความสำคัญที่เป้าหมายของงานแต่ก็ให้ความสนใจกับค่านิยมความคิดเห็นและแรงจูงใจร่วมกันของผู้ตามหรือผู้ทำ
งานโดยจะให้ผู้ทำงานรู้ถึงทิศทางในการทำงานว่าจะมุ่งไปทางไหน ซึ่งทำให้คนทำงานรู้ว่าเขามีความสำคัญและงานของเขาทั้งหมดมีความหมาย จึงทำ
ให้มีแรงดลใจและทุ่มเทแรงใจแรงกายร่วมกัน สุดท้ายก็จะทำให้ผู้ทำงานทุกคน เกิดการยอมรับในงานและจุดมุ่งหมายของงานร่วมกัน
    ผู้นำที่มีความสามารถพิเศษจะคำนึงถึงความคาดหวัง และรับฟังความคิดเห็นของผู้ตามเข้าใจเงื่อนไขที่กำหนดบทบาทหน้าที่ของผู้ตาม รู้ลักษณะ
งานที่ต้องใช้ความสามารถแตกต่างกัน อย่างไรก็ตามก็ต้องทำให้ทุกงานมีความหมายอย่างมีคุณธรรม ผู้นำที่มีความสามารถพิเศษจะพยายามปฏิบัติ
ตนเป็นตัวอย่างแก่ผู้ตาม ไม่ใช่ให้แต่เลียนแบบ แต่ให้รู้ถึงว่าผู้นำควรเป็นอย่างไร เพื่อผู้ตามจะเอาอย่างความเชื่อและค่านิยมของผู้นำ จากนี้ผู้นำก็
สามารถจะทำให้มีความพอใจ และแรงจูงใจเมื่อต้องการให้เขามีพฤติกรรม หรือปฏิบัติงานอย่างไร
    ผู้นำที่มีความสามารถพิเศษจะตั้งความหวังในการปฏิบัติงานไว้สูงในขณะที่ต้องแสดงให้ผู้ตามเห็นในความเชื่อมั่นของผู้นำต่อผู้ตามว่าจะต้องทำได้ผู้
นำที่มีอำนาจแห่งการเป็นเพื่อนหรือให้ความเป็นกันเองสามารถจะชักจูงให้ผู้ตามตั้งเป้าหมายของการปฏิบัติงานไว้สูง และเพิ่มความเต็มใจในการยอม
รับหรือเห็นชอบในเป้าหมายนั้นร่วมกันอย่างไรก็ตามการยอมรับเป้าหมายจะไม่เกิดขึ้นถ้าผู้นำไม่แสดงความมั่นใจให้เห็นว่าเป้าหมายนั้นสามารถจะเป็น
จริงได้และเป็นเป้าหมายที่มีคุณค่าและน่าสนใจ เพราะถ้าผู้ตามขาดความมั่นใจว่าจะสามารถทำได้ตามที่ผู้นำคาดหวัง ก็จะไม่ยอมรับและจะลดความ
พยายามในการทำงานนั้น
    ฉะนั้นการแสดงให้เห็นถึงความมั่นใจจึงเป็นเครื่องมือส่งเสริมการทุ่มเทความพยายามของผู้ตามและเชื่อในความสำเร็จนั้น ซึ่งงานวิจัยจำนวนมากก็
เห็นทำนองเดียวกันว่าผู้ตามจะทำงานได้สำเร็จมากขึ้นหากผู้นำแสดงให้เห็นว่าเชื่อมั่นในความสามารถของผู้ตาม
    ผู้นำที่มีความสามารถพิเศษ โดยทั่วๆ ไปจะมีพฤติกรรมที่ใช้กระตุ้นแรงจูงใจในกลุ่มงานต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม เช่น กระตุ้นแรงจูงใจในด้านความ
ต้องการความสำเร็จ จะต้องใช้กับงานที่ค่อนข้างซับซ้อนหรือยาก งานที่ต้องการการท้าทายความคิดริเริ่มใหม่ ๆ งานที่ต้องเสี่ยงภัย ความรับผิดชอบสูง
และต้องใช้ความมุมานะ อดทน สำหรับแรงกระตุ้นจากอำนาจเหมาะสมสำหรับงานที่ต้องการใช้การแข่งขันกัน งานที่ต้องการการชักจูงและก้าวร้าว คุก
คาม ส่วนการได้แรงกระตุ้นจากความเป็นเพื่อน ความเป็นกันเอง เหมาะสำหรับส่วนที่ต้องการความร่วมมือระหว่างผู้ปฏิบัติงาน งานที่ต้องเป็นทีมงาน
และพึ่งพาระหว่างกันตลอดเวลา แรงจูงใจที่จะใช้ในการกระตุ้นผู้ทำงานนั้น ยังต้องการการพูดที่สร้างแรงดลใจให้ลูกน้องเกิดค่านิยมว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้อง
และควรปฏิบัติให้ได้ เช่น "ความภักดีหรือความรักในองค์การ" "ต้องทำแต่สิ่งที่ดีที่สุด" "ชนะคู่แข่งให้ได้" เป็นต้น


การศึกษาทฤษฎีของเฮาส์ เพิ่มเติมโดย แบส (Bass's Extension of House's Theory) แบส (Bass, 1985:2-6) ได้เสนอผลการศึกษาต่อ
เนื่องจากทฤษฎีของ เฮาส์ ว่า "ผู้นำที่มีความสามารถพิเศษ" นั้น ไม่ใช่มีแต่ในด้านความเชื่อมั่นใจในความเชื่อมั่นตนเองเท่านั้น แต่จะเชื่อว่าตนเองมี
ความมุ่งหมายและแรงดลบันดาลใจเหนือคนอื่นธรรมดาทั่ว ๆไป สำหรับลูกน้องก็ไม่เพียงแต่ไว้ใจหรือยกย่องผู้นำเฉกเช่นธรรมดา หากแต่ถึงขั้นบูชา
และเคารพสักการะในตัวผู้นำว่าเป็น ประดุจวีระบุรุษ หรือตัวแทนของผู้มีปัญญาหรือผู้เสียสละ ซึ่งถ้ามองในภาพรวม ผู้นำที่มีความสามารถพิเศษ จะ
เป็นกลไกในการกระตุ้นจิตวิทยาของกลุ่มให้มีการเคลื่อนไหวต่อเนื่องตลอดเวลา ทำให้กลุ่มยอมรับในปทัสฐาน เกิดความเชื่อ และมีความฝันที่
สามารถสนองตอบต่ออารมณ์ และเหตุผลของคนในกลุ่มทุก ๆ คน
     แบสได้ชี้ให้เห็นว่า ผู้นำแบบนี้จะแตกต่างจากผู้นำแบบอื่นตรง มุ่งมั่นที่จะเป็นแบบอย่างที่ดี ยืดหยุ่น เปิดโอกาสและขอร้องแทนการข่มขู่ ผู้นำจะมี
ลักษณะเป็นนักวิชาการหรือเชี่ยวชาญจนเป็นที่ยอมรับ มีทักษะในการชักจูง ตอบสนองความต้องการของคนอื่นได้ ไม่ใช่ตามหน้าที่ หากแต่พิจารณาถึง
อารมณ์และความต้องการ ความเชื่อของเขาเหล่านั้นด้วย ในทางตรงกันข้าม ผู้นำที่ไม่มีความสามารถพิเศษจะมีสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ได้เหมือนกัน แต่
โดยการสร้างหรือกระตุ้นให้เกิดโดยการข่มขู่ หรือสร้างแรงกดดันต่างๆ ให้เกิดความกลัว อันจะนำมาซึ่งการเกลียดชังไปในที่สุด ผู้นำที่มีความสามารถ
พิเศษ ดูเหมือนจะเหมาะกับองค์การที่มีความตึงเครียดหรือมีการเปลี่ยนแปลง
     อำนาจบารมีจะจำเป็นเมื่ออำนาจหน้าที่ของผู้นำใช้ไม่มีผลต่อกรณีวิกฤติต่างๆ ค่านิยมและความเชื่อบางประการที่ยึดถือกันมานาน ฉะนั้นจึงมักจะ
พบผู้นำแบบนี้ในองค์การเก่าที่กำลังล้มเหลว มากกว่าในองค์การเก่าที่ประสบความสำเร็จ อย่างไรก็ตาม แบสไม่ได้เสนอสิ่งหรือปัจจัยต่าง ๆ ที่ผู้นำ
แบบนี้ควรต้องรู้เพื่อให้สามารถมีภาวะผู้นำแบบความสามารถพิเศษได้


3 ทฤษฎีภาวะผู้นำแบบความสามารถพิเศษ คองเกอร์ และคานันโก (Conger and Kanungo's Charismaic Leadership Theory)
     คองเกอร์ และคานันโก (Conger and Kanungo, 1987:637-647) ได้เสนอทฤษฎีของภาวะผู้นำแบบความสามารถพิเศษ บนพื้นฐานจาก
คุณสมบัติของผู้นำที่สังเกตเห็นได้ การศึกษาของเขาเป็นการสังเกตจากพฤติกรรมของผู้นำ โดยทำการเปรียบเทียบระหว่างผู้นำที่มีความสามารถ
พิเศษ กับผู้นำที่ไม่มีความสามารถพิเศษ เขาได้สรุปข้อค้นพบเกี่ยวกับคุณลักษณะและพฤติกรรมของผู้นำที่มีความสามารถพิเศษ (Charismatic
leaders) ที่


1. วิสัยทัศน์กว้างไกล (Extremty vision) คือ ผู้นำที่เห็นความสำคัญในการมีวิสัยทัศน์ ไม่ใช่แต่เพียงจะทำการต่าง ๆ ให้แค่สำเร็จตามหน้าที่เท่านั้น
การมีวิสัยทัศน์ย่อมต้องมีความกล้าในการปรับเปลี่ยน ซึ่งก็จะขึ้นอยู่ว่าผู้ตามจะรับได้หรือตามได้ทันแค่ไหนด้วย ผู้นำที่ขาดอำนาจบารมี ทั่วไปมักจะ
ทำแค่ให้ได้อยู่ในตำแหน่งเท่านั้น จะคิดปรับเปลี่ยนก็เพียงเล็กน้อยเพื่อไม่ให้ถูกตำหนิได้ ไม่มีนโยบายหรือกลยุทธที่ชัดเจนพอ เป็นแผนงานอย่างเป็น
รูปธรรมให้ทุกคนได้รู้หรือปฏิบัติตามได้ อย่างไรก็ตาม ถ้าผู้นำมีวิสัยทัศน์ที่ไกลเกินไป จนลูกน้องปรับเปลี่ยนและรับไม่ได้ ก็จะคิดว่าผู้นำเพี้ยนไป
หรือเพราะไม่มีความสามารถในการปฏิบัติงานในปัจจุบันไปเลย


2. กล้าเสี่ยง (High personal risk) โดยทั่วไปผู้นำที่มีความสามารถพิเศษนั้นจะเป็นบุคคลที่ยอมเสียสละเพื่อกลุ่ม เพื่อองค์การ กล้าเสี่ยง และให้
ความสำคัญของการมีส่วนในความสำเร็จร่วมกัน ไม่ใช่ของผู้นำเอง ความเชื่อใจในลูกน้องจะมีให้เห็นในผู้นำแบบนี้ และลูกน้องก็จะเชื่อใจ
ผู้นำที่สนใจในความต้องการของลูกน้อง ไม่ใช่เพื่อสิ่งที่ตนเองต้องการอย่างเดียว สิ่งที่จะประทับใจลูกน้องต่อการเสี่ยงของผู้นำก็คือ การเสี่ยงถึงขั้นยอมที่จะสูญ
เสียตำแหน่งหน้าที่ ผลประโยชน์และมวลชนในองค์การไป เพื่อความถูกต้องชอบธรรม
3. ใช้กลยุทธวิธีทุกรูปแบบ (Use of unconventional strategies) คือผู้นำที่จะใช้กลยุทธวิธีรูปแบบต่างๆ ไม่ติดยึดอยู่กับแบบใดแบบหนึ่ง เพื่อให้วิสัย
ทัศน์ร่วมกันของผู้นำและผู้ตามประสบความสำเร็จ แม้ว่าบางยุทธวิธีจะสร้างแรงกดดันให้ผู้ตามมากว่าปกติก็ตาม การปรับเปลี่ยนยุทธวิธีเพื่อสำเร็จจะ
เป็นคุณสมบัติของผู้นำชนิดนี้ ซึ่งผู้ตามจะสังเกตเห็นได้ชัดเจน ซึ่งค่อนข้างจะชื่นชอบ เพราะแสดงว่าได้มีความสนใจติดตามการปฏิบัติงาน รู้ถึง
อุปสรรค และปรับเปลี่ยนได้อย่างรวดเร็ว ทันการ และประการสุดท้าย การแสดงถึงความตั้งใจ ทุ่มเทในการทำงานของผู้นำ
4. ประเมินสถานการณ์รอบข้างตลอดเวลา (Accurate assessment of the situation) โดยทั่ว ๆ ไปผู้นำที่จะเสี่ยงในเรื่องใดก็ตาม ย่อมต้องมีข้อมูล
ต่าง ๆ อย่างดี เพื่อจะได้รู้ถึงปัจจัยที่จะสนับสนุน หรือขัดขวางการเสี่ยงในเรื่องนั้น ๆ โดยเฉพาะเรื่องเวลา ผู้นำต้องเรียนรู้และมีทักษะในเรื่องความต้อง
การ ค่านิยม เท่า ๆ กับปัจจัยรอบด้านนี้จะทำให้การเสี่ยงนั้นประสบความสำเร็จในเวลาที่เหมาะสม ดังนั้น ผู้นำจะต้องประเมินสถานการณ์ให้มีข้อมูลที่
ถูกต้อง ทันสมัย ตลอดเวลา
5. เปลี่ยนความติดยึดของผู้ตาม (Follower disenchantment) โดยทั่วไปหลายคนคิดว่า ผู้นำที่มีความสามารถพิเศษจะเป็นที่ต้องการ หรือเหมาะที่จะ
เกิดขึ้นเมื่อมีปัญหาที่วิกฤต แต่อย่างไร พบว่าเหตุการณ์วิกฤตไม่ใช่เงื่อนไขของความต้องการผู้นำที่มีความสามารถพิเศษ เพราะถึงแม้ไม่มีเหตุการณ์
วิกฤตก็เกิดขึ้นได้ เมื่อผู้นำต้องการเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติงาน หรือเงื่อนไขการปฏิบัติงานใหม่ และกระตุ้นผลักดันให้เป็นไปตามวิสัยทัศน์ใหม่ โดยผู้นำ
ใช้กลยุทธวิธีต่าง ๆ ที่แสดงให้เห็นถึงความเชี่ยวชาญของผู้นำในการปฏิบัติงานที่ไม่ติดยึดหรือจำเจด้วยวิธีเดิม เมื่อผู้ตามได้เห็นผลที่เกิดจากการใช้วิธี
การใหม่ที่ทำให้การทำงานมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพกว่าวิธีเก่าได้ ต่อไปผู้นำก็สามารถจะทำให้ผู้ตามไม่ติดยึด หรือวนเวียนอยู่กับการทำงานแบบ
เดิม และเริ่มจะยอมรับการทำงานที่มีการแสวงหาวิธีทำงานใหม่ที่แตกต่างไป
6. สื่อสารด้วยความมั่นใจ (Communication of self-confidence) ผู้นำที่สื่อสารเรื่องราวต่าง ๆ ด้วยความมั่นใจดูจะเป็นที่ยอมรับว่ามีความสามารถ
พิเศษ มากกว่าผู้ที่สับสนและไม่มีความชัดเจน หรือคลุมเครือ ความสำเร็จของการเปลี่ยนแปลงกลยุทธด้านต่าง ๆ จะไม่มีทางสำเร็จได้ด้วยความโชคดี
ของผู้นำไปทุกครั้ง หากเขาขาดการสื่อที่แสดงถึงความเชื่อมั่น ความมั่นใจของผู้นำจะเป็นแบบอย่างของผู้ตาม ความรู้สึกของผู้ตามที่เชื่อว่าผู้นำมี
ความรู้วิธีการที่จะทำให้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ และเป้าหมาย ย่อมตั้งใจทำงานหนัก เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของผู้นำ นั่นก็คือ เพิ่มโอกาสของความ
สำเร็จของงาน อันเนื่องมาจากการมีการสื่อสารด้วยความมั่นใจ
7. ใช้อำนาจส่วนบุคคล (Use of personal power) โดยทั่วไปพบว่า ผู้นำที่มีความสามารถพิเศษชอบใช้อำนาจส่วนบุคคล ซึ่งได้แก่อำนาจแห่งความ
เชี่ยวชาญ และอำนาจแห่งความเป็นเพื่อนในการปฏิบัติงานให้เสร็จลุล่วง ส่วนผู้นำที่ใช้อำนาจหน้าที่สั่งการให้ลูกน้องปฏิบัติงาน แม้ว่างานจะเสร็จลุล่วง
ด้วยดี ผู้นำก็ดูเหมือนไม่มีความสามารถพิเศษใด ๆ เปรียบเหมือนกับการที่ผู้นำสั่งการให้ลูกน้องช่วยกันหากลยุทธต่าง ๆ และช่วยกันทำงาน แม้นลูก
น้องจะพอใจที่ได้มีส่วนร่วม แต่ผู้นำก็ไม่ได้รับการยกย่องใด ๆ มากขึ้น เพราะไม่ได้แสดงความเชี่ยวชาญให้เป็นที่ประจักษ์แก่ผู้ตามได้
 

หมายเลขบันทึก: 108275เขียนเมื่อ 3 กรกฎาคม 2007 13:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ขอบคุณมากค่ะสำหรับข้อมูล

ขอขอบคุณมากสำหรับข้อมูล ดิฉันนำข้อมูลดังกล่าวไปทำรายงานส่งอาจารย์ค่ะ

ช่วยเผยแพร่หลัก ทฤษฎีภาวะผู้นำทางวิชาการ หรือทางการเรียนการสอน (Instructional leadership)

ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาครับ พอดีหาข้อมูลเชิงลึก เพื่อเอาไปทำรายงาน ป.โท

ขอขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ หนูนำข้อมูลไปทำรายงาน มีประโยชน์มากๆ เลยค่ะ

จะไปอบรมผบต. มีงานให้ส่งก่อนอบรม ให้เขียนถึงความสามารถพิเศษ/ความชำนาญ/ความเชี่ยวชาญ ในเรื่องใด และมีประเด็นสำคัญอย่างไร ...นึกไม่ออกเลย จะเขียนอย่างไร? เพราะลักษณะงานที่ทำอยู่ คิดว่าใครๆ ก็ทำได้เหมือนกันถ้ามีประสบการณ์หรือได้ปฏิบัติเป็นประจำ ก็ไม่เห็นจะพิเศษตรงไหน

แต่ถ้าดูตามทฤษฎีที่คุณจรรยา (ชื่อเดียวกันเลยค่ะ) บันทึกนี้มันคือบุคลิก/พฤติกรรมที่แสดงความเป็นภาวะผู้นำที่แต่ละคนอาจมี มาก น้อย หรือไม่มีเลย แตกต่างกันไปใช่หรือปล่าว? คะ

ขอบพระคูณ ท่านผอ. ที่ให้ความรู้

ลูกศิษยืราชบุรี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท