ถนนทุกสายมุ่งมาสู่จีน


ในทศวรรษนี้ ไม่มีใครปฏิเสธว่า จีนเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจประเทศหนึ่ง และก้าวไปอย่างไม่หยุดยั้ง จีนมีบทบาทสำคัญต่อโลกหลายด้าน ทั้งการเมือง การทหาร เศรษฐกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้า มีบทบาทในเวทีโลกทุกเวที ด้วยตลาดที่มีประชากรถึง 1,300 ล้านคน ความหลากหลายของชนเผ่า แหล่งทรัพยากรธรรมชาติมหาศาล
 สำหรับประเทศไทย จีนมีความสำคัญมากขึ้น กลายเป็นประเทศคู่ค้าของไทย เป็นตลาดส่งออก เป็นแหล่งนำเข้า และมีแนวโน้มขยายตัวสูง ขึ้นอย่างต่อเนื่อง จีนจึงเป็นตลาดที่ทวีความสำคัญสำหรับไทยมากขึ้นทุกขณะ
 ระดับความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศไทย-จีน เป็นเสมือนเพื่อนและญาติที่เก่าแก่ ความสัมพันธ์แนบแน่น ด้วยการอพยพของชาวจีนโพ้นทะเลสู่ประเทศไทยทำให้เกิดความ สัมพันธ์และถ่ายทอดวัฒนธรรมหลากหลายรูปแบบ จากอดีตจวบจนปัจจุบัน
 การเชื่อมสัมพันธ์ไมตรี และเปิดตัวสู่โลกภายนอกของจีน ทำให้ความสัมพันธ์ของทั้งสอง ประเทศ สืบทอดมาเป็นระยะๆ และต่อเนื่องจีนจึงมองไทยเป็นมิตรสนิทที่เป็นมากกว่าเพื่อนและไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อจีน สำหรับประเทศไทย แม้จีนจะเป็นคู่แข่งดึงดูดการค้าการลงทุนจากประเทศที่สาม แต่ไทยควรมองจีนในลักษณะ เป็น “คู่ค้า” มากกว่า “คู่แข่ง” ด้วยการพัฒนาความสัมพันธ์ ในการค้าในรูปแบบ “win-win Situation”
 ปักกิ่งเป็นศูนย์กลางกำหนดนโยบาย ออกกฎหมายระเบียบปฏิบัติ และมอบนโยบายไป ยังรายมณฑล แต่ละมณฑลมีการบริหารงานเชิงแข่งขัน เพื่อผู้บริหารจะสามารถก้าวขึ้น สู่ตำแหน่งสำคัญในพรรคได้ต่อไป สภาพการค้าจึงมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเมื่อ 20 ปีก่อน จากการที่อำนาจธุรกิจมีศูนย์กลางอยู่ที่ปักกิ่ง เป็นการถ่ายโอนมารายมณฑลมากขึ้น ทำให้มณฑล และผู้บริหารมณฑลมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น ผู้บริหารแต่ละมณฑลมีการแข่งขันกันสร้างผลงาน ค่อนข้างสูง มุ่งไปในทางการดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ การค้าขายกับต่างประเทศและการท่องเที่ยว ด้วย ดังนั้นการเจาะตลาดรายมณฑลจึงเป็นหลักการค้าขายกับจีนในปัจจุบัน
 ขณะนี้จีนมีนโยบาย “go west” รัฐบาลกลางให้การสนับสนุนการค้า การลงทุน การพัฒนาสาธารณูปโภคต่างๆ มากมายในมณฑลทางตะวันตก โดยยึดเมืองมณฑลตะวันออกเป็น แม่แบบและกำหนดศูนย์กลางการพัฒนาอยู่ที่ “มหานครฉงชิ่ง” โดยกำหนดว่าอีก 10 ปี นับจากนี้ “ฉงชิ่ง” จะมีความเจริญเทียบเท่า “มหานครเซี่ยงไฮ้” เมื่อ 5 ปีที่แล้ว มณฑลทางตะวันตกจึงเป็น มณฑลที่สำคัญในขณะนี้ มีสภาพแวดล้อมและศักยภาพในด้านต่างๆ เหมาะแก่การค้า-การลงทุน ของไทย
 รัฐบาลจีนเริ่มผลักดัน การพัฒนาเศรษฐกิจภาคอีสานซึ่งเคยเป็นเขต อุตสหากรรมหนักของจีน ประกอบด้วยมณฑลเหลียวหนิง จี๋หลินและเฮยหลงเจียง ให้มีการพัฒนาด้านการค้า การลงทุนและเทคโนโลยี เป็นมณฑลที่เริ่มมีความสำคัญมากขึ้น และเป็นแหล่งดึงดูดนักลงทุนต่างชาติ
 สินค้าไทยหลายรายการที่ได้รับความนิยมในตลาดจีน มีการนำเข้าไปจำหน่าย โดยผู้นำเข้า เช่น อาหาร เครื่องสำอาง และได้มีการลับลอบจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ในประเทศจีน ทำให้ผู้ส่งออกซึ่งเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ไม่สามารถส่งสินค้าไปจำหน่ายได้อีกต่อไป
 สินค้าไทยถูกจีนละเมิดและส่งไปขายยังต่างประเทศ เช่น ไม้แกะสลัก รองเท้า ข้อต่อท่อเหล็ก ทำให้กระทบต่อภาพลักษณ์ของสินค้า สินค้าละเมิดจากจีนส่งมาจำหน่ายในไทย เช่น รถยนต์ นาฟิกาปลอม เครื่องหนังปลอม เครื่องใช้ไฟฟ้าปลอม เครื่องผลิตซีดี

ยุทธศาสตร์ขยายความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย - จีน เพื่อเปลี่ยนความกังวลวิกฤตแข่งขันกับจีนให้เป็นโอกาส ทั้งด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว ที่นำไปสู่ผลประโยชน์ทางบวกให้ทั้งไทยและจีนได้มากขึ้นในที่สุด ทั้งนี้ เห็นควรกำหนดให้มีข้อสนับสนุน 3 ด้าน ดังนี้
 1. ด้านลู่ทางการค้า นอกจากตลาดจีนจะเปิดกว้างและเสรีมากขึ้น ทั้งการลดภาษีนำเข้า และการผ่อนปรนข้อกีดกันการค้าที่มิใช่ภาษี (Non - Tariff Barriers) ทำให้โอกาสสินค้าไทยเข้าตลาดจีนได้ง่ายขึ้นแล้ว การเพิ่มโอกาสที่ไทยต้องเร่งดำเนินการ คือ การมุ่งเน้นผลิตสินค้าระดับบน หรือการผลิตสินค้าที่ไทยได้เปรียบด้านการผลิตมากกว่าจีน เพื่อส่งเข้าตลาดจีน ก็จะช่วยให้สินค้าไทยมีโอกาสขยายในตลาดจีนได้มากขึ้น
 2. ด้านการลงทุน จีนจะลดข้อจำกัดด้านการลงทุนให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เสรี และความได้เปรียบด้านทรัพยากร แรงงาน และพื้นฐานการผลิตมีส่วนดึงดูดการร่วมลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น และจากความสัมพันธ์ไทย - จีน ที่แนบแน่นกว่าประเทศที่สามอื่น ๆ ทำให้การเข้าร่วมทุนของไทยในจีนมีโอกาสมากยิ่งขึ้น
 3. ด้านการท่องเที่ยว จีนมีแหล่งธรรมชาติที่สวยงามมากมายอยู่ทุกมณฑล และปัจจุบันมีความพร้อมพื้นฐานทางเศรษฐกิจ และสาธารณูปโภคที่พัฒนาได้กว้างขวางมาก ประเทศไทยมีความได้เปรียบด้านการบริการที่มีระบบและเป็นที่ยอมรับของลูกค้าได้กว้างขวางมาก จึงต้องรีบฉกฉวยโอกาสเข้าร่วมมือกับจีนในเรื่องการส่งเสริมการท่องเที่ยว
 4. ด้านการแข่งขันจากสินค้าจีนทั้งในตลาดจีน ตลาดไทย และตลาดประเทศที่สามนั้น จะสามารถลดลงได้โดยไทยต้องเน้นผลิตสินค้าคุณภาพสูง มูลค่าเพิ่มสูง หรือเป็นสินค้าระดับสูง (High End) เพื่อหนีการแข่งขันกับสินค้าคุณภาพต่ำที่จีนได้เปรียบด้านค่าแรงงานและต้นทุนการผลิตที่ต่ำกว่าของไทย 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท