เรียนรู้...จากมด


การสื่อสารเป็นสิ่งจำเป็นในการอยู่ร่วมกันของสังคม

วันนี้ได้ร่วมเข้ารับฟังการประชาสัมพันธ์ "โครงงานของนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ ครั้งที่ 10 (Young Scientist Competition 2008: YSC 2008)" ซึ่งมาจัดที่โรงเรียน....โดยทางฝ่ายวิทยากรซึ่งมาจากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และศูนย์เทคโนโลยีอิเลกทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (National Electronics and Computer Technology Center: NECTEC หรือเนคเทค)  ได้นำmultimedia เกี่ยวกับ การศึกษาพฤติกรรมของมด...สัตว์ตัวน้อย ตัวนิดของเรา....ก็ได้เห็นการทำงานอย่างมุ่งมั่นของนักวิจัยเรื่องมด....และทำให้นักเรียนที่จะทำโครงงานตระหนักว่า ปัญหาในการทำโครงงานมาจากรอบๆตัวเรานั่นละค่ะ...ในส่วนของตนเองก็ทึ่งในหลายๆประเด็นจากการชม multimedia เรื่องนี้คือ 

  • มดเป็นสัตว์สังคม....ไม่มีการแยกตัวโดดเดี่ยว (คนเราก็ควรจะทำงานเป็นทีม)
  • มดเป็นสัตว์มีน้ำใจ...ตรงที่เวลามดไปกินน้ำหวานจะมีการเก็บน้ำหวานส่วนหนึ่งไว้เป็นน้ำหวานสาธารณะ.....เพื่อให้มดตัวอื่นได้ชิม (คนเราก็ควรมีน้ำใจ  เอื้อเฟื้อต่อเพื่อนร่วมโลก)
  • มดเป็นสัตว์ที่มีความอดทนสูง......น้ำหนักมด 1 ตัวแค่ 5 mg แต่สามารถจะรับน้ำหนักได้ถึง 100 เท่า คือ 500 mg (เราก็ควรจะหนักเบาเอาสู้แบบมดนะ)
  • มดมีระบบการสื่อสารกันตลอดเวลา  โดยใช้การหลั่งสารฟีโรโมน ....(เราเองก็ควรจะสื่อสารเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกัน)
  • มดมีการทำงานเป็นทีม แบ่งหน้าที่ชัดเจน เพราะช่วงหนึ่งมีมดที่ทำหน้าที่ตัด....ตัดใบไม้ให้ร่วง...มดอีกส่วนรอที่พื้นเพื่อขนชิ้นส่วนใบไม้ที่ถูกมดด้านบนตัดลงมา........ทึ่งมากค่ะ....ทำได้อย่างไร
    โดยสรุปวันนี้ทำให้ได้ข้อคิดหลากหลายประเด็นทั้งด้านการทำงาน  การสอนโครงงานนักเรียน และด้านส่วนตนด้วยค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 108158เขียนเมื่อ 2 กรกฎาคม 2007 21:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 ตุลาคม 2013 21:10 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท