จีนกับอุตสาหกรรมเครื่องหนัง


อุตสาหกรรมเครื่องหนังเป็นอุตสาหกรรมเบาที่ใหญ่เป็นอันดับสองของจีน จีนเป็น ศูนย์กลางการผลิตและการกระจายเครื่องหนังขนาดใหญ่แห่งหนึ่งของโลก มีแหล่งผลิตอยู่ใน มณฑลทางภาคใต้และตะวันออกของประเทศ ส่วนใหญ่อยู่ในมณฑลกวางโจว จีนยังมีมณฑลเจ้อ เจียงเป็นเมืองของเครื่องหนังอีกด้วย โดยมีตอนใต้เป็น “Town of Leather” ตะวันตกเป็น “Leather Corridor” และตอนกลางเป็นศูนย์กระจายสินค้าส่งออก และมี[n1] มณฑลแถบชายฝั่ง ตะวันออกของประเทศเป็นที่ตั้งของแหล่งผลิตรองเท้าด้วย ในปี 2543 จีนมีปริมาณการผลิตรอง เท้าประมาณ 2.5 พันล้านคู่และผลิตภัณฑ์หนังประมาณ 130 ล้านชิ้น จีนได้กลายเป็นผู้ผลิตรอง เท้าและหนังฟอกรายใหญ่ที่สุดของโลก นอกจากนี้ยังมีศูนย์ปศุสัตว์คือ มณฑลชิงไห่ และมีแหล่ง ผลิตหนังเทียมอยู่ทางตะวันออกของมณฑลฝูเจี้ยน การผลิตของจีนเป็นการผลิตขนาดใหญ่ จ้าง งานเฉลี่ยโรงงานละประมาณ 1,500 คน ส่วนใหญ่เป็นการรับจ้างผลิตในปริมาณมาก แต่ไม่เน้น รูปแบบและความประณีตมากนัก จีนมีความได้เปรียบด้านต้นทุน มีแรงงานมหาศาล และค่าจ้าง แรงงานโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับที่ต่ำ อีกทั้ง ยังมีความพร้อมของวัตถุดิบ ทำให้มีต้นทุนเฉลี่ยต่ำส่งผล ให้จีนมีศักยภาพการแข่งขันสูง แต่เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นสินค้าคุณภาพไม่สูงนักจึงทำให้จีนมีศักย ภาพสูงเฉพาะในตลาดระดับกลางลงไป


อย่างไรก็ตาม จีนหันมาสู่ตลาดระดับบนมากขึ้นจากใน ระยะแรกที่มีฮ่องกงเป็นผู้บุกเบิกด้านการตลาด มีการนำระบบบัญชี (book keeping) มาใช้ควบ คุมและวางแผนการผลิต ทำการวิจัยและพัฒนามากขึ้นโดยเฉพาะการออกแบบเพื่อพัฒนารูปแบบ ผลิตภัณฑ์ และการพัฒนาฝีมือแรงงานด้วยการว่าจ้างช่างจากอิตาลีมาสอนในโรงเรียนสอนอาชีพ (Vocational School) และให้ความสำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐานสากลมากขึ้น บทบาทของจีนในตลาดหนังและเครื่องหนังโลกทวีความสำคัญมากขึ้นเป็นลำดับ เห็นได้จากมูลค่า การส่งออกและนำเข้าที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นโดยตลอด จีนมีสหรัฐอเมริกาเป็นตลาดหลัก (เป็น ตลาดเดียวกับไทย) และมีไทยเป็นคู่ค้าที่สำคัญในผลิตภัณฑ์หนังดิบและเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญ อันดับต้นๆ ของจีนในผลิตภัณฑ์หนังฟอกด้วย จีนนำเข้าเครื่องหนังระดับ High-end มากขึ้น เห็น ได้จากแหล่งนำเข้าที่สำคัญของจีน นั่นคือ อิตาลีเป็นแหล่งนำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องหนังของจีนที่มี บทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งสามารถสะท้อนถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป นิยมสินค้าที่มีคุณ ภาพและมีรูปแบบทันสมัยมากขึ้น เช่นเดียวกับการนำเข้าหนังฟอก เกาหลีใต้และไต้หวันซึ่งเป็น แหล่งนำเข้าสำคัญได้ลดบทบาทลง เช่นเดียวกับสหรัฐอเมริกาที่มีสัดส่วนตลาดลดลงเช่นเดียวกัน แต่อิตาลี บราซิล และอาร์เจนตินามีสัดส่วนตลาดมากขึ้น ในส่วนของไทยและจีนในภาพรวมแล้ว ไทยเป็นแหล่งนำเข้าหนึ่งในสิบอันดับของจีน มีสัดส่วนตลาดค่อนข้างต่ำและผันผวน แต่จีนเป็น ตลาดขนาดใหญ่ หลากหลาย สามารถจับตลาดได้หลายกลุ่ม ไทยจึงควรรักษาตลาดในส่วนนี้ไว้ และพยายามเพิ่มส่วนแบ่งตลาดโดยแข่งในตลาดระดับบนมากขึ้น เนื่องจากเมื่อเปรียบเทียบกับ สินค้าระดับบนจากประเทศยุโรปแล้ว ไทยมีความได้เปรียบด้านต้นทุน ราคาต่ำกว่าแต่มีคุณภาพ ใกล้เคียงกัน โดยไทยต้องสร้างตรายี่ห้อให้เป็นที่รู้จักและยอมรับมากขึ้น


การที่จีนเข้าเป็นสมาชิก องค์กรการค้าโลกและการจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีนย่อมมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเครื่อง หนังของไทย ซึ่งมีทั้งด้านบวกและด้านลบ กล่าวคือ จีนอาจกลายเป็นคู่แข่งที่สำคัญของไทย เพราะ นอกจากผลิตสินค้าระดับเดียวกับไทยคือระดับกลางลงไปแล้ว จีนยังมีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าไทย มีขนาดการผลิตที่ใหญ่ซึ่งทำให้เกิดการประหยัดต่อขนาด จีนมีความพร้อมทั้งวัตถุดิบและเครื่อง จักร ประกอบกับแรงงานจีนมีการพัฒนาฝีมือที่รวดเร็วจึงอาจเข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาดผลิตภัณฑ์ ในระดับกลางและล่างของไทยได้ อย่างไรก็ตาม จีนก็สามารถกลายเป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญของ ไทยได้ในตลาดสินค้าระดับบน โดยไทยควรให้ความสำคัญกับการศึกษาลักษณะพฤติกรรมของผู้ บริโภคชาวจีนที่มีลักษณะเป็นฤดูกาลและไทยยังสามารถทำ indirect export จากนักท่องเที่ยวชาว จีนที่มาท่องเที่ยวยังประเทศไทยได้อีกทางหนึ่งด้วย


นอกจากนี้ ทางด้านการผลิต จีนอาจเป็นแหล่ง วัตถุดิบประเภทส่วนประกอบของเครื่องหนังได้การจัดตั้งเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีนซึ่งหมายถึง การลดอุปสรรคหรือการกีดกันการค้าระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนและจีนลงทั้งมาตรการภาษี โดยการลดภาษีการค้าลงเหลือศูนย์และมาตรการอื่นๆ ที่มิใช่ภาษี ทำให้มีการแข่งขันกันสูงขึ้น แต่ ก็ทำให้ทราบถึงศักยภาพของตน ผู้ประกอบการจะต้องปรับตัวโดยใช้กลยุทธ์ในการสร้างภาพ ลักษณ์เฉพาะตัวในการแข่งขันต่อไปและติดตามทิศทางความต้องการของตลาดอย่างต่อเนื่องเพื่อ รักษาและเพิ่มส่วนแบ่งตลาดในต่างประเทศต่อไป


ไทยมีศักยภาพในการแข่งขันในตลาดโลกอยู่แล้วและสามารถเพิ่มศักยภาพให้สูง ขึ้นไปได้อีกด้วยความร่วมมือของภาครัฐและภาคเอกชนไปในทิศทางเดียวกัน โดยการมุ่งเน้นการ พัฒนารูปแบบโดยเฉพาะการเร่งพัฒนาด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ รักษามาตรฐานสินค้าให้อยู่ ในระดับสากลควบคู่กับการแข่งขันภายใต้ตรายี่ห้อของตนเอง การแสวงหาตลาดใหม่ๆ โดยการ มุ่งเน้นสู่ตลาดระดับบนมากขึ้นนอกเหนือจากการรักษาตลาดเดิมไว้ หลีกเลี่ยงการแข่งขันในตลาด ระดับกลางและล่างกับจีน ร่วมกันผลักดันแนวคิด “Land of Food and Queen of Fashion” ควบ คู่กับการพัฒนาให้ไทยเป็น Regional Hub ของภูมิภาค รวมทั้งปรับโครงสร้างภาษีให้ส่งเสริม สนับสนุนต่อการผลิตเพื่อการส่งออกมากขึ้น แม้ว่าจะมีการช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้า เพื่อการส่งออกโดยการยกเว้นภาษีนำเข้าวัตถุดิบก็ตาม แต่ขั้นตอนการขอคืนภาษีดังกล่าวยังไม่ สามารถอำนวยความสะดวกได้เท่าที่ควร เนื่องจากยังต้องเก็บภาษีตามขั้นตอนปกติก่อน เมื่อส่ง ออกสินค้าแล้วผู้ประกอบการจึงขอคืนภาษีได้
ปัจจัยที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือ การสร้างความ สัมพันธ์และดำเนินกลยุทธ์ร่วมกันระหว่างอุตสาห-กรรมต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำให้เป็นไปใน ทิศทางเดียวกัน นอกจากนี้ ในส่วนของตลาดเครื่องหนังที่ผลิตจาก exotic skin ซึ่งเป็นที่นิยมของ ตลาดจีนอย่างมากนั้น ไทยก็ควรพัฒนาฝีมือให้มีความประณีตโดดเด่นและผลิตให้อยู่ในมาตรฐาน ระดับเดียวกัน หากไทยสามารถพัฒนาศักยภาพการแข่งขันในตลาดระดับบนได้ จีนน่าจะมีบท บาทสำคัญเป็นประเทศคู่ค้าของไทยได้ นอกจากนี้ ยังอาจเป็นแหล่งวัตถุดิบบางส่วนให้กับไทยอีก ด้วยเช่นกัน



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท