สร้างสรรค์งานกราฟิกกับ Adobe Photoshop Elements 2.0


สร้างสรรค์งานกราฟิกกับ Adobe Photoshop Elements 2.0

สร้างสรรค์งานกราฟิกกับ Adobe Photoshop Elements 2.0

การเรียกใช้งานโปรแกรม

มาดูขั้นตอนการเรียกใช้งาน Adobe Photoshop Elements 2.0 กันโดยไปคลิ้กที่ปุ่ม Start All Programs Adobe Photoshop Elements 2.0 หรือไปดับเบิลคลิ้กที่ช็อตคัตโปรแกรม Adobe Photoshop Elements 2.0 ก็ได้ จากนั้นจะแสดงหน้าต่างโปรแกรมทันที มาดูกันว่ามีเครื่องมืออะไรให้ได้ใช้งานกันบ้าง

Photoshop Elements มีพื้นที่ทำงานให้ผู้ใช้งานได้เลือกใช้ตามต้องการได้แก่... (รูปที่ 1)

หมายเลข 1 Toolbox : เครื่องมือที่ใช้ในการสร้างและการแก้ไขรูปภาพ

หมายเลข 2 Menu bar : เมนูบาร์ที่บรรจุเมนูที่จำเป็นต้องการใช้งาน ตัวอย่างเช่นเมนู Layers ที่จัดเก็บรายการเมนูคำสั่งเกี่ยวกับการใช้งานเลเยอร์

หมายเลข 3 Shortcuts bar : ช็อตคัตบาร์ที่แสดงปุ่มคำสั่งที่ใช้มีการเรียกใช้งานบ่อยๆ เพื่อให้สะดวกต่อการใช้งาน

หมายเลข 4 Options bar : ออปชันบาร์ที่ให้ผู้ใช้งานได้เลือกใช้เครื่องมือ

หมายเลข 5 Active image area : หน้าต่างแสดงรูปภาพที่กำลังเปิดใช้งาน เพื่อให้ผู้ใช้งานได้เลือกแก้ไข พรีวิวส่วนที่ต้องการได้อย่างชัดเจน

หมายเลข 6 Search field : ช่อง Search ที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลที่ต้องการช่วยเหลือจากระบบ

หมายเลข 7 Pallatt well : พาแลตต์จะช่วยให้ผู้ใช้งานจัดการพาเล็ตได้ในพื้นที่ๆต้องการ

หมายเลข 8 Pallatt : พาแลตต์ที่ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถมอนิเตอร์และแก้ไขไฟล์รูปภาพได้

รูปที่ 1 หน้าต่างของเครื่องมือโปรแกรม
Photoshop Elements
รูปที่ 2 หน้าต่าง Browse ของใหม่ใน
Photoshop Elements 2.0

ตกแต่งรูปภาพ

เมื่อต้องการเอกสารรูปภาพอันใหม่ขึ้นมาเพื่อแก้ไขปรับแต่ง สีและโทนของรูปภาพ เพราะรูปภาพที่ได้มาจากการสแกนอาจทำให้สีดูแสดงค่าไม่เต็มประสิทธิภาพหรือซีดเหลืองไป ต้องมาปรับแต่งรูปภาพด้วยโปรแกรม Photoshop Elements ผู้ใช้งานสามารถเลือกใช้งานเมนูคำสั่งต่างๆได้ตามต้องการ

แต่หากต้องการความรวดเร็วในการแก้ไข ตกแต่งรูปภาพก็สามารถใช้ฟังก์ชันในการปรับแต่งรูปภาพได้โดยอัตโนมัติ คำสั่ง Auto Levels, คำสั่ง Auto Contrast, คำสั่ง Auto Color Correction, คำสั่ง Adjust Backlighting, คำสั่ง Fill Flash, ไดอะล็อกบ็อกซ์ Quick Fix มาทดลองใช้งานคำสั่ง Auto Levels ซึ่งสามารถทำได้โดย...

  • คลิ้กที่ปุ่ม Open บนทูลบาร์หรือคลิ้กผ่านปุ่ม Browse (รูปที่ 2)

  • จะแสดงหน้าต่าง File Browser เพื่อให้ผู้ใช้งานได้เลือกคลิ้กไฟล์รูปภาพที่ต้องการ ด้วยความสามารถของหน้าต่าง File Browser ผู้ใช้งานสามารถคลิ้กเลือกพรีวิวรูปภาพได้จากโฟลเดอร์ที่ต้องการ ตลอดจนการแสดงรายละเอียดเกียวกับไฟล์รูปภาพ

  • นอกจากนี้หากต้องการปรับแต่งค่าในหน้าต่าง File Browser ก็สามารถคลิ้กที่ปุ่ม More เพื่อเลือกรายการเมนูที่ต้องการ เช่นการหมุนรูปภาพ, การแก้ไขชื่อไฟล์, ลักษณะการพรีวิวรูปภาพเป็นต้น

  • เมื่อคลิ้กลงบนไฟล์รูปภาพที่ต้องการแล้วให้ไปดับคลิ้กที่รูปภาพที่ต้องการ จากนั้นคลิ้กปิดหน้าต่าง File Browser

  • ก่อนการปรับแต่งรูปภาพให้ไปตรวจสอบโดยการคลิ้กที่เมนูคำสั่ง Select > Deselect เพื่อตรวจสอบไม่สามารถเลือกเมนูดังกล่าวได้ แต่หากรูปภาพมีหลายเลเยอร์ ให้ไปคลิ้กเลือกลงบนเลเยอร์ที่ต้องการปรับแต่ง โดยไปคลิ้กเลือกเลเยอร์จาก Layers พาแลตต์

  • คลิ้กเลือกที่เมนูคำสั่ง Enhance แล้วเลือกรายการเมนูคำสั่ง Auto Levels (รูปที่ 3)

  • หรือคลิ้กที่เมนูคำสั่ง Enhance > Adjust Brightness/Contrast > Levels ในไดอะล็อกบ็อกซ์ Levels ให้ไปคลิ้กที่ Auto แล้วคลิ้กปุ่ม OK
รูปที่ 3 การปรับแต่งรูปภาพด้วยคำสั่ง
Auto Levels
รูปที่ 4 ปรับแต่งแบ็กกราวนด์รูปภาพด้วยคำสั่ง
Adjust Backlighting

การปรับแต่งรูปภาพด้วยคำสั่ง Adjust Backlighting

เมื่อผู้อ่านได้มีโอกาศไปเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ หรือไปงานสังสรรค์แล้วพกกล้องดิจิตอลไปด้วย แล้วอาจมีการใช้แสงสว่างเข้าช่วย แต่ปรากฏว่าแสงที่ได้นั้นมันดูชอบกลๆ ทำให้รูปภาพมีแบ็กกราวนด์โดยรอบที่ออกมามีแสงตกกระทบมากจนเกินไป ลองใช้คำสั่ง Adjust Backlighting เพื่อช่วยตกแต่งรูปภาพดู

การใช้คำสั่ง Adjust Backlighting นั้นจะช่วยปรับแต่งรูปแบบและแบ็กกราวนด์ของรูปภาพให้ดูสดใสสวยงามมากขึ้น มาดูขั้นตอนการปรับแต่งรูปภาพ

  • ก่อนการปรับแต่งรูปภาพให้ไปตรวจสอบโดยการคลิ้กที่เมนูคำสั่ง Select > Deselect เพื่อตรวจสอบไม่สามารถเลือกเมนูดังกล่าวได้ แต่หากรูปภาพมีหลายเลเยอร์ ให้ไปคลิ้กเลือกลงบนเลเยอร์ที่ต้องการปรับแต่ง โดยไปคลิ้กเลือกเลเยอร์จาก Layers พาเล็ต

  • คลิ้กเลือกเมนูคำสั่ง Enhance > Adjust Lighting > Adjust Backlighting (รูปที่ 4)

  • ให้ลากสไลเดอร์ Darker หรือใส่ค่าที่ต้องการลงไปในช่องรับค่าเพื่อปรับแต่งค่าโทนสีในรูปภาพ โดยค่าที่ปรับแต่งมีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 100

  • แล้วคลิ้กปุ่ม OK

แฟลชไม่ถึงต้องใช้คำสั่ง Fill Flash

ในรูปภาพที่ถ่ายมีความสว่างของแสง เงา หรืออื่นที่ทำให้รูปภาพไม่สว่างเท่าความเป็นจริง หรือพลังแฟลชอันน้อยนิดส่งแสงออกไปไม่ถึงทำให้รูปภาพบางส่วนมืดจนเกินไป ผู้ใช้งานสามารถปรับแต่งแสงแฟลช เพื่อให้รูปภาพมองเห็นเงาของรูปภาพได้ด้วยคำสั่ง Fill Flash โดยการทำดังนี้...

  • ก่อนการปรับแต่งรูปภาพให้ไปตรวจสอบโดยการคลิ้กที่เมนูคำสั่ง Select > Deselect เพื่อตรวจสอบไม่สามารถเลือกเมนูดังกล่าวได้ แต่หากรูปภาพมีหลายเลเยอร์ ให้ไปคลิ้กเลือกลงบนเลเยอร์ที่ต้องการปรับแต่ง โดยไปคลิ้กเลือกเลเยอร์จาก Layers พาเล็ต

  • คลิ้กเลือกเมนูคำสั่ง Enhance > Adjust Lighting > Fill Flash (รูปที่ 5)
รูปที่ 5 ปรับแต่งเพิ่มพลังแฟลชได้ง่ายดาย
รูปที่ 6 ปรับแต่งรูปภาพแบบด่วนสุดๆด้วย
Quick Fix
  • ลากสไลเดอร์ Lighter หรือใส่ค่าลงไปในช่อง เพื่อปรับแต่งโทนของสีในรูปภาพ โดยค่าที่ปรับแต่งมีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 100

  • จากนั้นคลิ้กปุ่ม OK

ปรับแต่งรูปภาพแบบด่วนๆกับ Quick Fix

ด้วยคำสั่ง Quick Fix ที่จะพาผู้ใช้งานไปปรับแต่ง ความสว่าง, สี, ความคมชัดและการหมุนรูปภาพ ทั้งหมดนี้ทำได้ภายในไดอะล็อกบ็อกซ์เดียว นอกจากยังทำการเปรียบเทียบระหว่างรูปภาพต้นฉบับ กับรูปภาพที่ได้ว่าแตกต่างกันเพียงใด มาดูการใช้งานคำสั่ง Quick Fix กัน...

  • ก่อนการปรับแต่งรูปภาพให้ไปตรวจสอบโดยการคลิ้กที่เมนูคำสั่ง Select > Deselect เพื่อตรวจสอบไม่สามารถเลือกเมนูดังกล่าวได้ แต่หากรูปภาพมีหลายเลเยอร์ ให้ไปคลิ้กเลือกลงบนเลเยอร์ที่ต้องการปรับแต่ง โดยไปคลิ้กเลือกเลเยอร์จาก Layers พาแลตต์

  • เปิดไดอะล็อกบ็อกซ์ Quick Fix ขึ้นมาโดยการไปคลิ้กที่ปุ่ม บนช็อตคัตบาร์หรือคลิ้กเมนูคำสั่ง Enhance > Quick Fix (รูปที่ 6)

  • จะแสดงไดอะล็อกบ็อกซ์ Quick Fix ในขั้นตอนนี้ให้ไปคลิ้กเลือกออปชัน ทางด้านซ้ายในส่วน Select Adjustment Category
    o Brightness เอาไว้ปรับแต่งสีขาวดำของรูปภาพ, โทนสีและความสว่าง
    o Color Correction เอาไว้ปรับแต่งความถูกต้องของสีในรูปภาพโดยอัตโนมัติและการใช้กำหนดค่า hue และ Saturation ตามต้องการ
    o Focus ให้ผู้ใช้งานสามารถปรับความคมชัดและเบลอของรูปภาพได้ตามต้องการ
    o Rotate คำสั่งที่ให้ในการหมุยรูปภาพตามแนวนอน แนวตั้ง,หมุนภาพไป 90 องศาหรือ 180 องศา

  • คลิ้กเลือกปรับแต่งค่าต่างๆ ตามต้องการ โดยการคลิ้กเลือกปรับค่าจากออปชันที่ต้องการ

  • หากต้องการดูผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น หลังจากการกำหนดค่าให้ไปคลิ้กปุ่ม Apply หรือบางออปชันต้องคลิ้กเลื่อนที่สไลเดอร์ แล้วสังเกตรูปภาพทางด้านขวาใส่หน้าต่างพรีวิว

  • หากต้องการยกเลิกการปรับค่าทั้งหมดให้ไปคลิ้กที่ปุ่ม Reset Image แต่หากต้องการยกเลิกการปรับค่าเมื่อครู่ก่อนหน้านี้ให้ไปคลิ้กปุ่ม Undo

  • เมื่อปรับแต่งเรียบร้อยแล้วให้คลิ้กที่ปุ่ม OK
รูปที่ 7 สร้างรูปภาพในแบบ panorama
รูปที่ 8 สั่งพิมพ์รูปภาพในแบบสติกเกอร์

สร้างรูปภาพ panorama ด้วย Photomerge

(รูปที่ 7) คำสั่ง Photomerge จะช่วยจับเอารูปภาพหลายๆภาพมาเรียงต่อกันให้กลายเป็นรูปภาพหนึ่งใบ หรือรูปภาพในแบบ panorama บางครั้งเราอาจไปถ่ายภาพเมือง รูปวิว แล้วกล้องถ่ายเก็บภาพไม่หมดต้องถ่ายแต่ละส่วนแล้วนำแต่ละรูปภาพมาประติดประต่อกันด้วยคำสั่ง Photomerge มาดูขั้นตอนการสร้างภาพ panorama กันเลย

  • ไปคลิ้กที่เมนูคำสั่ง File > Create Photomerge

  • จากนั้นจะแสดงไดอะล็อกบ็อกซ์ Photomerge ให้ไปคลิ้กที่ปุ่ม Browse

  • จะแสดงหน้าต่าง Open เพื่อให้ผู้ใช้งานได้คลิ้กเลือกไฟล์รูปภาพที่ต้องการ แล้วคลิ้กปุ่ม Open

  • จากนั้นไฟล์รูปภาพที่เลือกจะไปปรากฏรายชื่อไฟล์อยู่ในส่วน Source Files ของไดอะล็อกบ็อกซ์ Photomerge

  • คลิ้กปุ่ม OK เพื่อให้คำสั่ง Photomerge จัดการวางรูปภาพโดยอัตโนมัติและเข้าสู่ขบวนการทันที

  • เมื่อโปรแกรมสร้างภาพ panorama เรียบร้อยแล้วจะแสดงหน้าต่าง

  • ในออปชัน Setting จะถูกเลือกค่าเป็น Normal แต่หากเลือกเป็น Perspective จะได้ผลลัพธ์ดังรูป หากต้องการบันทึกรูปภาพคลิ้กปุ่ม Save(รูปที่ 8)

สร้างรูปภาพในแบบแพ็กเกจ

ด้วยคำสั่ง Picture Package ผู้ใช้งานสามารถทำการก๊อปปี้รูปภาพหนึ่งหรือหลายรูปภาพลงบนกระดาษแผ่นเดียวได้ คล้ายๆกับรูปภาพในสตูดิโอ ผู้ใช้งานสามารถเลือกขนาดและออปชันได้หลากหลายผ่านการเลย์เอาต์แพ็กเกจ ขั้นตอนการสร้างแพ็กเกจรูปภาพจากรูปภาพเดียว

  • เปิดรูปภาพที่ต้องการจะพิมพ์ขึ้นมา

  • คลิ้กที่เมนูคำสั่ง File > Print Layouts > Picture Package

  • จากนั้นระบุค่าที่ต้องการ
    o Frontmost Document เพื่อเลือกรูปภาพที่กำลังเปิดใช้งานอยู่
    o File คลิ้ก browse เพื่อเลือกค้นหาไฟล์รูปภาพเอง
    o Folder คลิ้ก browse เพื่อเลือกค้นหารูปภาพจากโฟลเดอร์ ซึ่งจะเลือกรูปภาพได้มากกว่าแบบอื่นๆ

  • นอกจากนี้ผู้ใช้งานยังสามารถกำหนดค่าต่างๆ ภายใต้ Document, ขนาดกระดาษ, layout(คลิ้กเลือกรูปแบบของการจัดรูปภาพได้จาก Layout), ความละเอียด และโหมดของสี

  • คลิ้กเลือก Flatten All Layers เพื่อสร้างแพ็กเกจรูปภาพให้รูปภาพทั้งหมดรวมกันเป็นเลเยอร์เดียว

  • ส่วนภายใต้ Label ผู้ใช้งานสามารถเลือกกำหรดให้แสดงลาเบล, การกำหนดฟอนต์, ขนาด, ตำแหน่งของลาเบล

  • แล้วคลิ้กปุ่ม OK เมื่อต้องการสร้างแพ็กเกจเลย์เอาต์

การใช้คำสั่ง Color Variations

คำสั่ง Color Variations เป็นคำสั่งที่ให้ผู้ใช้งานสามารถปรับความเท่ากันของสี, ความสว่างของรูปภาพที่เลือกโดยให้โปรแกรมช่วยปรับแต่งให้ด้วยเฉดสีในแบบต่างๆ ขั้นตอนการใช้งานคำสั่ง Color Variations

  • ก่อนการปรับแต่งรูปภาพให้ไปตรวจสอบโดยการคลิ้กที่เมนูคำสั่ง Select > Deselect เพื่อตรวจสอบไม่สามารถเลือกเมนูดังกล่าวได้ แต่หากรูปภาพมีหลายเลเยอร์ ให้ไปคลิ้กเลือกลงบนเลเยอร์ที่ต้องการปรับแต่ง โดยไปคลิ้กเลือกเลเยอร์จาก Layers พาแลตต์

  • เปิดไดอะล็อกบ็อกซ์ Color Variations, คลิ้กเมนูคำสั่ง Enhance > Adjust Color > Color Variations, หรือคลิ้กปุ่ม Color Variations ในช็อตคัตบาร์ก็ได้
รูปที่ 9 ปรับแต่งรูปภาพด้วยคำสั่ง Color Variations


  • จะแสดงไดอะล็อกบ็อกซ์ Color Variations เพื่อแสดงรูปภาพสองรูปอยู่ทางด้านบน โดยรูปภาพต้นฉบับจะแสดงคำว่า Before และรูปภาพที่จะมีการปรับแต่งจะแสดงคำว่า After

  • คลิ้กเลือกรูปแบบการปรับแต่งจากออปชัน ทางด้านขวา ได้แก่ Shadows, Midtones, Highlights เพื่อปรับความมืด, ค่าระดับกลางๆ หรือความสว่าง

  • Saturation จะเป็นการเปลี่ยนสีของรูปภาพให้ดูฉุดฉาดมากขึ้น (รูปที่ 9)

  • ลากสไลเดอร์ Adjust Color Intensity เพื่อกำหนดจำนวนการปรับแต่งค่าต่างๆ

  • เมื่อคลิ้กเลือกออปชันต่างๆ รูปภาพด้านล่างจะเปลี่ยนไปตามค่าที่เลือก ให้คลิ้กที่รูปด้านล่างเพื่อนำรูปแบบการตกแต่งภาพไปใช้งานกับรูปภาพทางด้านขวา

  • โดยแต่ละออปชันที่เลือกจะให้รูปแบบสีสันที่แตกต่างกันออกไป หากปรับค่าได้ตามต้องการแล้วไปคลิ้กปุ่ม OK

ใส่ฟิลเตอร์ให้รูปภาพ

ฟิลเตอร์จะใช้แต่เติมรูปภาพให้ดูแปลกไปอีกแบบด้วยฟิลเตอร์จากโปรแกรม ที่มีให้ผู้ใช้งานได้เลือกใช้งานกันอย่างจุใจ ด้วยขั้นตอนการใช้งานง่ายๆดังนี้...

  • เปิดรูปภาพที่ต้องการใช้งานฟิลเตอร์ขึ้น

  • จากนั้นใช้ Marquee Tool เลือกตรงกลางรูป แล้วคลิ้กเลือกเมนูคำสั่ง Select > Invert เพื่อเลือกใส่เอฟเฟ็กต์บริเวณรอบๆ บริเวณที่เลือกด้วย Marquee Tool

  • หรือไม่ต้องทำตามขั้นตอนที่สองก็ได้กรณีที่ต้องการให้ทั้งรูปภาพถูกปรับแต่งด้วยฟิลเตอร์ทั้งหมด

  • ไปคลิ้กที่แถบพาเล็ต Filters จะแสดงหน้าต่างเพื่อให้คลิ้กเลือกรูปแบบฟิลเตอร์ต่างตามต้องการ (รูปที่ 10)
รูปที่ 10 ฟิลเตอร์ Radial Blur ให้กับรูปภาพ
รูปที่ 11 ใส่กรอบรอยยักให้รูปภาพ
  • ดับเบิลคลิ้กเลือกฟิลเตอร์ตามต้องการ จากนั้นจะแสดงไดอะล็อกบ็อกซ์เพื่อให้ปรับค่าเพิ่มเติม หรืออาจพรีวิวดูผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นพร้อมปรับแต่งค่าของฟิลเตอร์

  • ให้คลิ้กปุ่ม OK จะเห็นผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นทันที

การใช้งานเอฟเฟ็กต์

ในแถบพาแลตต์ Effects จะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถสร้างรูปภาพให้เกิดเอฟเฟ็กต์ต่างๆ โดยมีเอฟเฟ็กต์ในแบบSelection, Layer, Type ซึ่งในการใช้งานจะไม่สามารถพรีวิวเอฟเฟ็กต์กับรูปภาพที่ใช้งานได้ ซึ่งการใช้งานก็ไม่ยุ่งยากอะไร (รูปที่ 11)

  • เปิดรูปภาพทีต้องการขึ้นมา

  • ทดลองใส่กรอบเป็นรอยยักให้รูปภาพ โดยไปคลิ้กที่พาแลตต์ Effects แล้วดับเบิลคลิ้กไปที่ Ripple Frame

  • รอสักครู่...จะได้ผลลัพธ์ดังรูปทันที

  • ในกรณีที่มีการใส่ข้อความลงบนรูปภาพด้วย จะต้องไปสร้างเลเยอร์สำหรับข้อความขึ้นมาก่อน

  • หากต้องการแสดงพาแลตต์ Layer ให้ไปคลิ้กที่เมนูคำสั่ง Window > Layers(รูปที่ 12)
รูปที่ 12 ใส่ข้อความลงในรูปแบบด้วยเอฟเฟ็กต์
รูปที่ 13 ใส่รูปทรงแปลกๆแต่งเติมรูปภาพ
  • จากนั้นคลิ้กที่ Type tool แล้วคลิ้กลงบนรูปภาพ เพื่อพิมพ์ข้อความที่ต้องการลงไป

  • คลิ้กเลือกเลเยอร์ข้อความ จากนั้นก็ไปดับเบิลคลิ้กเลือกเอฟเฟ็กต์จากพาแลตต์ Effects

วาดรูปทรงต่างๆได้ไม่ยาก

หากต้องการจะลงมือวาดรูปทรงต่างๆ โปรแกรมก็ได้จัดเตรียมเครื่องมือ shape tools เพื่อให้ผู้ใช้งานวาดลายเส้น, รูปทรงสี่เหลี่ยม, สี่เหลี่ยมมุมโค้ง, รูปทรงที่มีด้านมากกว่าสี่เหลี่ยม, รูปทรงไข่ และ custom shapes รูปทรงที่สามารถเลือกวาดได้ตามต้องการ (รูปที่ 13)

  • สร้างเอกสารว่างๆ ขึ้นมา หรือเปิดรูปภาพที่ต้องการเพิ่มเติมรูปทรงต่างๆ ลงไป

  • แล้วให้คลิ้กเลือกที่ custom shape tool จากนั้นคลิ้กเลือกออปชันในปุ่มรูปทรงต่างๆ จากพาเล็ต Shape ป็อปอัพ ในออปชันบาร์

  • คลิ้กเลือกรูปทรง แล้ววาดรูปทรงดังกล่าวลงไปบนรูปภาพที่ต้องการ

  • ผู้ใช้งานสามารถเลือกปรับสี, หมุนรูปทรง และอื่นปรับค่าต่างๆ ได้ตามต้องการ

การบันทึกรูปภาพสำหรับเว็บ

ผู้ใช้งานสามารถใช้ไดอะล็อกบ็อกซ์ Save For Web เพื่อเลือกบันทึกในรูปแบบของไฟล์เว็บ โดยการเลือกการบีบอัดขนาดไฟล์รูปภาพและสี, การพรีวิวรูปภาพ ตลอดจนการกำหนดค่าความโปร่งใสของแบ็กกราวนด์, การเปลี่ยนขนาดรูปภาพ, กำหนดแบ็กกราวนด์ให้เข้ากับรูปภาพเป็นต้น โดยทำตามขั้นตอนดังนี้...

  • คลิ้กที่เมนูคำสั่ง File > Save for Web หรือไปคลิ้กที่ปุ่ม Save for Web ในช็อตคัตบาร์

  • หากต้องการทดสอบว่าจะต้องใช้ความเร็วของโมเด็มเท่าใดถึงจะใช้เวลาไม่มาก ก็สามารถคลิ้กเลือกที่ปุ่มวงกลมที่มีรูปสามเหลี่ยมอยู่ด้านบน

  • จะแสดงเมนูป็อปอัพ Preview ขึ้นมาเพื่อให้เลือกความเร็วในการเข้าใช้งานเช่นโมเด็ม, ISDN, เคเบิล หรือ DSL

  • จากนั้นก็ไปคลิ้กเลือกรูปแบบ ค่าต่างๆ ได้จากส่วน Settings หรือเลือกปรับขนาดรูปภาพใหม่ได้จากส่วน New Size

  • เมื่อกำหนดค่าเรียบร้อยแล้วไปคลิ้กที่ปุ่ม OK เป็นอันเรียบร้อย(รูปที่ 14)
รูปที่ 14 สร้างเว็บเพจแสดงรูปภาพได้อย่างไม่ยากเลย
รูปที่ 15 หน้าต่าง Web Photo Gallery
สวยงามดีไปอีกแบบ
สร้าง Web photo gallery กันเถอะ ผู้ใช้งานสามารถใช้งานคำสั่ง Create Web Photo Gallery เพื่อสร้างอัลบั้มรวบรวมรูปจากชุดรูปภาพที่มี โดย Web photo gallery จะเป็นเว็บเพจที่แสดงรูปภาพในแบบขนาดเล็กๆ และเมื่อคลิ้กลงบนรูปภาพก็จะแสดงขนาดของรูปภาพเต็มหน้าจอขึ้นมา ในแต่ละเพจจะมีการเชื่อมต่อถึงกัน

โปรแกรม Photoshop Elements เองก็มีรูปแบบให้ผู้ใช้งานได้เลือกใช้งานมากมาย โดยการใช้งานผ่านเมนูคำสั่ง Create Web Photo Gallery จากนั้นก็จะทำการสร้าง photo gallery ในโปรแกรม Photoshop Elements ทันทีซึ่งผู้ใช้งานสามารถนำไปใช้งานในรุปแบบเว็บเพจได้ทันที ขั้นตอนการสร้างทำดังนี้...

  • ไปคลิ้กที่เมนูคำสั่ง File > Create Web Photo Gallery

  • จากนั้นจะแสดงหน้าต่าง Web Photo Gallery เพื่อให้คลิ้กเลือกรูปแบบของเว็บเพจ

  • คลิ้กเลือกรูปแบบสไตล์ gallery จากเมนูป็อปอัพ Styles โดยจะแสดงหน้าต่างพรีวิวในรูปแบบที่เลือกทางด้านขวาของหน้าต่าง

  • ในช่อง E-mail เป็นส่วนที่ให้กรอกรอีเมล์แอดเดรส

  • ในส่วนของ Folders ให้ไปคลิ้กที่ปุ่ม Browse เพื่อเลือกโฟลเดอร์ที่จัดเก็บรูปภาพที่ต้องการ

  • คลิ้กปุ่ม Destination เพื่อเลือกโฟลเดอร์ที่เก็บรูปภาพและ HTML เพจเพื่อแสดงผลลัพธ์ที่ได้ แล้วคลิ้กปุ่ม OK

  • ถ้าเลือก Table จากเมนูป็อป-อัพ Styles ให้ไปคลิ้กที่ปุ่ม Background เพื่อเลือกรูปภาพ JPEG เพื่อแสดงเป็นแบ็กกราวนด์ของตาราง

  • จากนั้นก็ไปกำหนดค่าออปชันของข้อความแบนเนอร์ที่ปรากฏบนเพจและค่าอื่นตามต้องการจากลิสต์บ็อกซ์ Options

  • ให้คลิ้กปุ่ม OK เพื่อเริ่มทำการสร้าง Web Photo Gallery

  • จากนั้นโปรแกรมจะเริ่มสร้าง Web Photo Gallery ทันที

  • รอสักครู่จะแสดง Web Photo Gallery ผ่านหน้าต่างเว็บบราวเซอร์ทันที(รูปที่ 15)

    เป็นโปรแกรมที่น่าสนใจไม่น้อยทีเดียว สำหรับมือใหม่แล้วโปรแกรมนี้ใช้งานได้ไม่ยากเลย ไม่ว่าจะทำงานเว็บ ออกแบบโลโก้ หรืองานตกแต่งรูปภาพนับว่าอยู่ในระดับน่าพอใจถึงแม้จะไม่เก่งเท่าโปรแกรมรุ่นพี่อย่าง Adobe Photoshop

อ้างอิงข้อมูลจาก computer.today

หมายเลขบันทึก: 107671เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2007 19:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท