การจำแนกประเภทต้นทุนสินค้าเพื่อการส่งออก


 เพื่อให้ผู้บริหารกำหนดราคาสินค้าส่งออกได้อย่างครบถ้วนและถูกต้อง จำเป็นที่จะต้องรวบรวมและจำแนกประเภทต้นทุนและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ของตัวสินค้า นับตั้งแต่ออกจากโรงงานผู้ผลิตจนถึงมือของผู้นำเข้าหรือผู้ค้าส่งหรือค้าปลีกหรือผู้บริโภคแล้วแต่กรณี การจำแนกประเภทต้นทุนสินค้าเพื่อการส่งออกจะแบ่งเป็นประเภท 3 ประเภทดังนี้
1. ต้นทุนสินค้า ในกรณีทีผู้ผลิตเป็นผู้ส่งออกสินค้าเอง โดยไม่ผ่านนายหน้าตัวแทน ต้นทุนสินค้าก็คือต้นทุนการผลิตโรงงาน ซึ่งประกอบด้วย
  ♛ ค่าวัตถุดิบ
  ♛ ค่าแรงงาน
  ♛ ค่าใช้จ่ายการผลิตและโสหุ้ยการผลิต
  ♛ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับฉลากและเครื่องหมายการค้า
  ♛ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเก็บรักษาสินค้าไว้ในคลังสินค้าของผู้ผลิตก่อนขนย้ายออกไปท่าเรือ หรือท่าอากาศยาน
  ♛ ค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบและคัดเลือกคุณภาพของสินค้าให้ได้ตามคุณภาพหรือคุณลักษณะที่ตกลงกับลูกค้าต่างประเทศ
2. ต้นทุนค่าขนส่งสินค้าจากโรงงานผู้ผลิตไปจนถึงจุดหมายปลายทางในต่างประเทศประกอบด้วย
  ♛ ค่าขนส่งภายในประเทศ จากโกดังสินค้าของโรงงานไปยังสถานีขนส่ง ท่าเรือ หรือท่าอากาศยาน
  ♛ ค่าระวางขนส่งทางรถ เรือ เครื่องบิน รวมทั้งค่าธรรมเนียมพิเศษต่าง ๆ เนื่องจากการใช้พาหนะ การใช้สถานีท่าเรือ หรือท่าอากาศยาน
  ♛ ค่าขนถ่ายสินค้าทางเรือ หรือทางเครื่องบิน ณ เมืองปลายทาง
  ♛ ค่าใช้จ่ายขนส่งสินค้าจากสถานที่ ท่าเรือ หรือท่าอากาศยานไปยังคลังสินค้าของลูกค้าหรือผู้นำเข้า
3. ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ อันเกี่ยวข้องกับการส่งออก ทั้งที่เกิดภายในและภายนอกประเทศ อาทิเช่น
  ♛ ค่าใช้จ่ายบรรจุหีบห่อ หรือค่าบรรจุภัณฑ์เพื่อการส่งออกโดยเฉพาะ
  ♛ ค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบและวิเคราะห์ เพื่อรับรองคุณภาพของสินค้า ซึ่งรวมทั้งค่าออกใบรับรองต่าง ๆ จากสถาบันการค้า หรือสถานกงศุลการค้าต่างประเทศ
  ♛ ค่าใช้จ่ายด้านการออกของ และค่าใช้จ่ายในการผ่านพิธีการศุลกากร
  ♛ ค่าภาษีศุลกากรและค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการส่งสินค้าออกนอกประเทศและนำเข้าประเทศของลูกค้า
  ♛ ค่าเบี้ยประกันภัยและค่ากรมธรรม์ประกันภัยทั้งทางบก เรือ อากาศ
  ♛ ค่าเสียหายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ต่าง ๆ เช่น การสูญเสียปริมาตรหรือน้ำหนักของตัวสินค้า คุณภาพสินค้าเสียหายเนื่องจากบรรจุภัณฑ์ ชำรุดระหว่างการขนส่งหรือคุณภาพสินค้าเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากสภาพแวดล้อมระหว่างการขนส่ง
  ♛ ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการจัดเตรียมเอกสารการส่งออกและการติดต่อธนาคาร
  ♛ ค่าธรรมเนียมธนาคารทุกประเภท รวมทั้งดอกเบี้ยอันเกิดจากการส่งออก
  ♛ ค่าติดต่อสื่อสาร โทรเลข โทรศัพท์ทางไกล เทเล็กซ์ และโทรสาร
  ♛ ค่านายหน้าแก่ตัวการหรือตัวแทนผู้ซื้อหรือผู้นำเข้า
  ♛ ปริมาณกำไร(ขาดทุน) อันเกิดจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ
 
 ในกรณีที่ผู้ผลิตที่เป็นผู้ส่งออกได้รับภาษีคืนในการนำเข้าวัตถุดิบสำหรับผลิตสินค้าส่งออกก็สามารถนำภาษีที่ได้รับคืนมานี้มาลดต้นทุนสินค้าของโรงงานให้ต่ำลงได้ ซึ่งจะทำให้กิจการสามารถแข่งขันในตลาดต่างประเทศได้


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท