การบ้านการจัดการทุนมนุษย์ อ.ภาวนา อังคณานุวัตร


การบ้านการจัดการทุนมนุษย์

ท่านมีส่วนร่วมในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การของท่านอย่างไร? ด้วยวิธีการใด? และท่านสามารถนำประสบการจากการบรรยายในวันนี้ไปปรับใช้ได้อย่างไร?

คำสำคัญ (Tags): #hrd
หมายเลขบันทึก: 107565เขียนเมื่อ 30 มิถุนายน 2007 12:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2012 14:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

กะลาภิวัฒน์ GALALIZATION

 

"ท่ามกลางความบีบคั้นของยุคสมัย เราจะทำอย่างไรไม่ให้ชีวิตถูกฉีกทึ้งเหมือนผักปลาที่ไร้ราคา ต้องพุ่งทะยานไปข้างหน้าอย่างบ้าคลั่งตลอดเวลา หรือปฏิเสธทุกอย่างให้สิ้นเรื่องสิ้นราวกันไป ชีวิตที่มีความหมายยังเป็นไปได้หรือไม่ในโลกที่เร่งเร้าและเรียกร้องจากเราราวกับเป็นเครื่องจักรกลเช่นนี้ ในเมื่อความจริงมีอยู่ว่าโลกไม่มีวันกลับไปเป็นเหมือนเดิมอีก เราจะเอาอย่างไรกับตัวเองดี จะต้องปรับสมมติฐานในการใช้ชีวิตอะไรบ้าง

ใครต่อใครต่างบอกว่า "การศึกษา" เป็นเครื่องมือเปลี่ยนชีวิตคน มนุษย์สามารถยกระดับตัวเองได้ผ่านการศึกษาหาความรู้....หากการศึกษาเป็นรากฐานของชีวิตเช่นนั้นแล้ว คำถามที่เกิดขึ้นก็คือ ความรู้ที่เราเฝ้าไขว่คว้าได้แฝงทรรศนะที่ถูกต้องต่อโลกและชีวิตไว้บ้างหรือเปล่า หรือเป็นเพียงความรู้ที่มีไว้เพื่อเอาชนะ เอาตัวรอด เอาเปรียบและเอาความสำเร็จเท่านั้น แล้วอะไรเล่าคือความสำเร็จ สำเร็จที่แลกมาด้วยสิ่งใดบ้าง บนความปวดใจของใครบ้าง ทำอย่างไรให้การแสวงหาความรู้ไม่มุ่งเพียงเพื่อสนองกิเลสของจิตฝ่ายต่ำเป็นสรณะ แต่ยังเพื่อปลดปล่อยมนุษย์สู่อิสระและรับใช้สิ่งดีงามด้วย ถ้าความรู้ไม่เอื้อให้เราเข้าใจสิ่งต่างๆ ตามที่เป็นจริงแล้ว เราจะเรียกว่ามันเป็นอวิชชาได้หรือไม่ เพราะความเข้าใจที่บิดเบี้ยวย่อมก่อให้เกิดพฤติกรรมที่ผิดพลาด สุดท้ายก็นำมาแต่ความทุกข์มาให้ทุกคนที่เกี่ยวข้อง......"

ข้างบนนั่นเป็นคำนำสำนักพิมพ์ โอ้พระเจ้า พับลิชชิ่ง ที่มีต่อหนังสือ "กะลาภิวัฒน์ GALALIZATION" ทำให้ฉันอดไม่ได้ที่จะหยิบหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาพลิกดู เป็นหนังสือที่เขียนโดย ดร.ไสว บุญมา นักเศรษฐศาสตร์และนักการศึกษา เนื้อหาเป็นการย่อและสรุปสาระสำคัญของหนังสือถึง 23 เล่ม ซึ่งเคยปรากฏอยู่ในคอลัมน์ "ผ่ามันสมองของปราชญ์" ของประชาชาติธุรกิจ ร่วมกับ พญ.นภาพร ลิมป์ปิยากร 

หนังสือ กะลาภิวัฒน์  ราคา 250 บาท

บทนำ  :  โลกเข้าสู่ทางสองแพร่ง

1. The Chaos Point  -  โลกเข้าสู่ทางสองแพร่ง

      "เราต้องการแนวคิดใหม่"

องก์ 1  :  ความใฝ่ฝันในวันโลกเยาว์

2. Guns, Germs and Steel  -  ชะตากรรมของสังคมมนุษย์

      "ทำไมอัตราการพัฒนามนุษย์ในต่างทวีปจึงแตกต่างกัน"

3. A Forest Journey  -  ป่ากับอารยธรรม

      "ป่าไม้เป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความรุ่งเรืองของสังคมมนุษย์มาทุกยุคทุกสมัย"

4. The Rise and Fall of the Great Powers  -  อำนาจใดจะอยู่ค้ำฟ้า

      "ความสัมพันธ์ระหว่างความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและความขัดแย้งทางทหาร เป็นปัจจัยในความรุ่งโรจน์และความร่วงโรยของมหาอำนาจ พลังทางเศรษฐกิจและพลังทางทหารมีความสัมพันธ์กันอย่างลึกซึ้ง เพราะทั้งสองต้องสนับสนุนซึ่งกันและกัน"

5. The Clash of Civilizations  -  การปะทะของอารยธรรม

      "หมดยุคสงครามอุดมการณ์ทางการเมืองและเศรษฐกิจ ผู้คนจะหันมาฆ่าฟันกันด้วยเรื่องอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม โลกแห่งอนาคตจะถูกกำหนดด้วยวัฒนธรรมและอารยธรรม"

องก์ 2  :  พรุ่งนี้ของโลกาภิวัฒน์

6. The Lexus and the Olive Tree  -  รถยนต์กับต้นมะกอก

      "ในขณะที่ระบบใหม่วิวัฒน์ไปอย่างไม่หยุดยั้งและมีพลังสร้างผลกระทบรอบด้าน แต่มันจะถูกต่อต้านจากพลังดั้งเดิม ซึ่งเกิดจากสิ่งที่บุคคลและสังคมต่างๆ ยึดมั่นว่า มีความสำคัญแก่ตนรวมทั้งอัตลักษณ์และแนวทางดำเนินชีวิต  ...ความแตกต่างระหว่างการพัฒนาของแต่ละประเทศอยู่ที่ "คำสั่งแม่บท" และ "คำสั่งเฉพาะกิจ" ...ฉะนั้นเพื่อป้องกันมิให้ตนเองสูญหายไปกับกระแสที่ถาโถมเข้ามา ทุกสังคมจะต้องรู้ว่าตนเป็นใครและอะไรเป็นสิ่งสำคัญสำหรับตน แล้วยึดสิ่งนั้นไว้ให้มั่นดังกับรากต้นมะกอกที่หยั่งลึกลงไปในพื้นผิวโลก"

7. The World Is Flat  -  ศตวรรษที่ 21 โลกจะแบน

      " "Flat" มีความหมายหลายอย่าง และในที่นี้มิได้หมายความว่า แบนแบบแผ่นกระดาน หากมีความหมายในทำนอง "ราบ" "เรียบ" หรือ "ราบเรียบ" "

8. Revolutionary Wealth  -  นับทรัพย์สินแบบปฏิวัติ

     "การปฏิวัติแต่ละครั้งนำไปสู่การสร้างอารยธรรมและระบบทรัพย์สินขึ้นมาใหม่ ...คลื่นแต่ละลูกต้องการปัจจัยไม่เหมือนกัน สร้างทรัพย์สินได้ไม่เท่ากันและมีผลกระทบต่างกัน ...เศรษฐกิจที่ก้าวหน้าต้องการสถาบันที่ก้าวหน้าด้วย แต่ความก้าวหน้าต่างๆ กำลังถูกรั้งไว้ด้วยความล้าหลังของสถาบัน ...เราจะต้องเปลี่ยนวิธีคิดกันใหม่จึงจะเข้าใจโลกแห่งอนาคต โดยเฉพาะทางด้านเศรษฐกิจและการสร้างทรัพย์สิน ...ทรัพย์สินส่วนที่ไม่เกี่ยวกับตัวเงินจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดด และมีความสำคัญยิ่งต่อส่วนที่เกี่ยวกับตัวเงิน ...ระบบการศึกษาในปัจจุบันสร้างขึ้นเพื่อสนองความต้องการของโรงงานอุตสาหกรรมและโรงเรียนเองก็มีลักษณะไม่ต่างจากโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งพยายามมุ่งผลิตเยาวชนชนิดเดียวกันออกมาจำนวนมาก ...อุปสรรคของการขจัดความยากจนไม่ได้อยู่ที่เทคโนโลยี หากอยู่ที่ปัญหาทางสังคม ทางสถาบัน ทางการเมือง และทางวัฒนธรรม"

9. The Next Global Stage  -  โลกนี้คือละคร

      "เทคโนโลยีใหม่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงและนำไปสู่ความจำเป็นที่จะต้องปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการ พร้อมกับการอ่านภาวะโลกและฐานความคิดเพื่อแก้ปัญหาที่มากับความเปลี่ยนแปลงนั้น"

องก์ 3  :  หมอกและควันแห่งการพัฒนา

10. The Wealth and Poverty of Nations  -  ประเทศรวย-ประเทศจน

        "ประเทศร่ำรวยและประเทศยากจนจะช่วยกันพัฒนาได้ก็ต่อเมื่อพวกเขารู้ถึงปัจจัยที่ทำให้เกิดความร่ำรวยและความยากจน"

11. Underdevelopment is a State of Mind  -  ความด้อยพัฒนาเป็นภาวะทางจิต

        "การมองโลกและมองตัวเองของคนในสังคมซึ่งเป็นที่มาของมาตรฐาน ของพฤติกรรมหรือคุณธรรม ทัศนคติ และสิ่งอื่นที่รวมกันเป็นวัฒนธรรม เป็นอีกมิติหนึ่งของความคิดที่มีผลสูงต่อการพัฒนา ...การมุ่งโทษปัจจัยภายนอกเกิดขึ้นจากการมีความคิดที่ผิดเพี้ยนจากความเป็นจริง"

12. Guide to the Perfect Latin American Idiot  -  ปัญญาชนปัญญาอ่อน

        "ปัญหาของพวกเขาจึงมิได้อยู่ที่การไม่อ่านหนังสือ หากอยู่ที่อ่านโดยปราศจากการคิดเชิงวิพากษ์"

13. State Building  -  ภารกิจหลังวันสิ้นประวัติศาสตร์

        "เขาต้องการชี้ให้เห็นความสำคัญของการสร้างรัฐให้แข็งแกร่ง เพราะเห็นว่าความอ่อนแอหรือความล่มสลายของรัฐ เป็นที่มาของปัญหาใหญ่ๆ ...อุปสรรคสำคัญของการพัฒนาได้แก่ความอ่อนแอของสถาบัน ...สังคมไหนมีวัฒนธรรมไม่เหมาะสมกับองค์กรหรือสถาบันยุคใหม่ สังคมนั้นย่อมพัฒนาไปเป็นรัฐที่แข็งแกร่งไม่ได้"

องก์ 4  :  หายนะที่คืบคลาน

14. Collapse  -  ความล่มสลายกับความอยู่รอด

        "แม้จะดูร่ำรวยและก้าวหน้าทางเทคโนโลยีอย่างไม่เคยมีมาก่อน แต่สังคมปัจจุบันกำลังเผชิญกับปัญหาร้ายแรงทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมและด้านเศรษฐกิจ คล้ายๆ กับสังคมซึ่งล่มสลายไปแล้วในอดีต ...สังคมที่มีวิธีแก้ปัญหาเหมาะสมจะอยู่รอด ส่วนสังคมที่ทำไม่ได้ย่อมล่มสลายไปในที่สุด ...การยึดมั่นในวิธีการเก่าๆ ทั้งที่สิ่งแวดล้อมได้เปลี่ยนไป ทำให้พวกไวกิ้งเดินไปพบจุดจบในที่สุด"

15. An Inconvenient Truth  -  ความจริงที่ไม่มีใครอยากฟัง

       "ภาวะโลกร้อนกับบูรณาหายนะ"

16. Field Notes from a Catastrophe  -  บันทึกสนามจากความวิบัติ

        "จักแสดงวิบัติให้เจ้าเห็นต่อหน้า"

17. The Winds of Change  -  ฆาตกรรมข้ามศตวรรษ

        "ภูมิอากาศคือฆาตกรต่อเนื่องอันโหดร้าย เป็นตัวลงมือกระทำมาตกรรมเองบ้าง และเป็นผู้สมรู้ร่วมคิดในการทำลายล้างสังคมบ้าง"

18. Water  -  น้ำกับชะตากรรมมนุษยชาติ

        "น้ำดูเหมือนจะมีอยู่ทั่วไปจนคนส่วนใหญ่มักคิดว่าทรัพยากรอันมีค่าสูงยิ่งต่อชีวิตนี้มีไม่จำกัด แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ ปราชญ์และนักวิทยาศาสตร์จำนวนมากเชื่อว่า ตอนนี้โลกของเรามีปัญหาหนักหนาสาหัสเรื่องการขาดแคลนน้ำดื่มน้ำใช้จนตกอยู่ในภาวะวิกฤติแล้ว"

องก์ 5  :  กะลาภิวัฒน์

19. Who Moved My Cheese?  - ใครย้ายเนยแข็งของฉัน?

        "การเปลี่ยนแปลงย่อมเกิดขึ้นตามธรรมชาติ ไม่ว่าเราจะอยากให้มันเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม"

20. The Price of Privilege  -  ต้นทุนของความร่ำรวย

        "ถนนมีหลายสาย และสายที่ดีอาจไม่เกี่ยวข้องกับเงินทองเสมอไป"

21. The Progress Paradox  -  ก้าวหน้าแต่ว่าไร้สุข

        "ยุคของวัตถุนิยมกำลังจะสิ้นสุดลง เมื่อการซื้อและครอบครองทรัพย์สินไม่สามารถแก้ปัญหาได้ คนอเมริกันอาจกำลังจะเข้าสู่ยุคของการแสวงหาความหมายของชีวิต ซึ่งหลุดพ้นทั้งจากลัทธิวัตถุนิยมและลัทธิปัจเจกนิยมสุดโต่ง"

22. Happiness  -  ความสุขวัดได้?

        "เมื่อความสุขเป็นเป้าหมายของทุกคนในสังคมแล้ว รัฐบาลโดยทั่วไปควรจะกำหนดให้ความสุขเป็นหนึ่งในเป้าหมายของชาติ"

บทสรุป  :  เปลี่ยนโลกด้วยวิธีเด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว

23. The Tipping Point  -  จุดพลิกผัน

        "เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว"

 

 

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท