บัณฑิตจาก มหาวิทยาลัยอิสลาม ความหวังใหม่โรงเรียนเอกชนอิสลาม


การศึกษาในอิสลามมิได้แยกรายวิชาศาสนา สามัญออกจากกัน แต่จะต้องบูรณาการให้มากที่สุด เพื่อความสมบูรณ์แบบของการจัดการศึกษายุคโลกาอบายมุข

          ขอแสดงความยินดี ที่ป้ายมหาวิทยาลัยอิสลามยะลาได้เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2550 ซึ่งเป็นจะเปลี่ยนจุดหนึงในการยกระดับการจัดการศึกษาของอิสลาม และถือว่าเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนอิสลามแห่งแรกของเมืองไทย คาดว่าเป็นสถาบันการศึกษาที่สามารถแบ่งเบาภาระการจัดการศึกษาของรัฐได้มาก

           การใช้ชีวิตตามหลักการอิสลามนั้น ยืนอยู่บนพื้นฐานของความรู้ ที่ก่อเกิดแสงทางนำในการดำรงชีวิตอย่างสมบูรณ์แบบที่สุด ดังที่อัลลอฮฺทรงตรัส ความว่า จงอ่านด้วยพระนามของพระผู้อภิบาลของเจ้า ผู้ทรงสร้าง * ทรงสร้างมนุษย์จากก้อนเลือด * จงอ่านเถิด และพระเจ้าของเจ้านั้นผู้ทรงกรุณายิ่ง * ผู้ทรงสอนการใช้ปากกา * ผู้ทรงสอนมนุษย์ในสิ่งที่เขาไม่รู้ (อัลอะลัก 96/1-5)

            ดังนั้น การจัดการศึกษาในอิสลามนั้น ยืนอยู่บนพื้นฐานของ

ความรู้ในอิสลามนั้นเป็นความรู้ที่บูรณาการ ดังที่นักปรัชญามุสลิมท่านหนึ่งได้กล่าวว่า ความรู้ในอิสลามจะครอบคลุมทั้งความรู้ทางธรรมและทางโลก โดยไม่คำนึงว่า ความรู้นั้นจะได้มาจากประสบการณ์ สันชาติญาณ หรือเหตุผล แต่มีเงื่อนไขว่า ความรู้ทั้งหมดเหล่านั้นต้องไม่ขัดแย้งกับวะฮี ( วิวรณ์ ) ที่พระองค์อัลลอฮฺทรงประทานมา แท้ที่จริงแล้ว อิสลามถือว่าความรู้ใดก็ตามที่ไม่ขัดแย้งกับวะฮี ความรู้นั้นย่อมถือว่าเป็นความรู้ของอิสลาม (Rizavi,1986) ด้วยเหตุผลดังกล่าว อิสลามจึงเน้นถึงการแสวงหาความรู้จากผู้รู้ไม่ว่าเขาเหล่านั้นจะเป็นใครก็ตามดังโองการที่ว่า “ ดังนั้นเจ้าจงสอบถามผู้ที่มีความรู้เถิด หากแม้นพวกเจ้าไม่รู้ ” ( อัลกุรอาน 16:43) ทำไมมุสลิมต้องแสวงหาความรู้ คำตอบของคำถามนี้ได้ปรากฏในโองการ อัลกุรอานความว่า “ จงประกาศเถิดบรรดาผู้รู้กับผู้ไม่รู้นั้นจะเทียมกันหรือ อันที่จริงบรรดาผู้มีวิจารณญาณทั้งหลายย่อมสำนึกแน่ ” ( อัลกุรอาน 39 : 9)

การที่อิสลามได้ให้ความสำคัญกับความรู้ เพราะด้วยความรู้เท่านั้นที่จะทำให้มนุษย์เป็นที่สมบูรณ์และมีความสำเร็จได้ ไม่ว่าจะเป็นความสำเร็จในโลกนี้หรือโลกหน้า ดังวัจนะของศาสดามุฮัมหมัด ( ขอความสันติและความจำเริญจงมีแด่ท่าน ) ความว่า “ ใครก็ตามที่ประสงค์ ( ความสำเร็จในกิจการของ ) โลก ( นี้ ) เขาจงปฏิบัติมันด้วยความรู้ และใครก็ตามที่ต้องการ ( ความสำเร็จใน ) โลกหน้า เขาจงปฏิบัติมันด้วยความรู้ และใครก็ตามที่ต้องการทั้งสองด้วยกัน เขาจงปฏิบัติด้วยความรู้ ”

จุดมุ่งหมายของการศึกษาในอิสลาม (1)
อิสลามมีเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่พระผู้เป็นเจ้า(อัลลอฮฺ) โดยเป็นศูนย์กลางของการศึกษาของมนุษย์ ดังนั้นจึงมีความแตกต่างจากระบอบการศึกษาอื่นๆ ในระดับพื้นฐาน
ในการประชุมการศึกษาอิสลามทั่วโลก ครั้งแรกที่ เมืองเจดดะฮฺ ประเทศซาอุดิอาราเบีย ได้มีข้อสรุปว่า “ การศึกษาควรมีจุดมุ่งหมายเพื่อการเจริญเติบโตอย่างสมดุลของบุคลิกภาพมนุษย์ โดยการฝึกฝนทางจิตวิญญาณ ความคิด เหตุผล ความรู้สึก และประสาทสัมผัส การศึกษามุสลิมควรมุ่งเน้นให้มนุษย์เจริญเติบโตไปในทุกๆด้าน เช่น ด้านจิตวิญญาณ สติปัญญา การจินตนาการ สรีระ วิทยาศาสตร์ ภาษาศาสตร์ ทั้งปัจเจกบุคคล และส่วนรวม แล้วโน้มน้าวด้านต่างๆเหล่านี้ ไปสู่ความดีงาม และการบรรลุถึงความสมบูรณ์แบบ ซึ่งเป้าหมายสูงสุดของการศึกษาคือ การยอมจำนนต่ออัลลอฮฺอย่างสิ้นเชิง ทั้งในระดับปัจเจกบุคคล สังคม และ มนุษยชาติ ” ซึ่งคล้ายคลึงกับจุดมุ่งหมายการศึกษาของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒ ในมาตราที่ ๖ ที่มีใจความว่า “ การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อให้คนไทยเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข” ความสมดุล และ ความสมบูรณ์ของมนุษย์เป็นประเด็นหลักของจุดมุ่งหมายทั้งสองนี้ แต่ในอิสลามมีเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่พระผู้เป็นเจ้า(อัลลอฮฺ) โดยเป็นศูนย์กลางของการศึกษาของมนุษย์ ดังนั้นจึงมีความแตกต่างจากระบอบการศึกษาอื่นๆ ในระดับพื้นฐาน หลักการนี้เรียกว่า การให้ความเป็นหนึ่งของพระผู้เป็นเจ้า ( Tawhid) ซึ่งพระองค์เป็นผู้สร้าง ผู้มีสิทธิอำนาจเด็ดขาด ผู้อภิบาลทุกสรรพสิ่ง และผู้ที่ให้ความรู้แก่มนุษย์เท่าที่พระองค์ประสงค์ ดังนั้นจุดมุ่งหมาย หรือ วัตถุประสงค์ทั้งหมดของการศึกษาจึงต้องมุ่งกลับไปยังพระองค์เท่านั้น (คัดลอกจากที่อื่น)
 

ภาวะผู้นำ ในมุมมองอิสลาม

                    ภาวะผู้นำในอิสลาม คือ ความเชื่อใจ เป็นการเสนอข้อผูกมัดทางกายภาพระหว่างผู้นำและผู้ตามของเขา ซึ่งเขาจะพยายามปฏิบัติอย่างดีที่สุดในการชี้นำพวกเขา ปกป้องพวกเขา และปฏิบัติต่อพวกเขาด้วยความยุติธรรม (Badawi , Beekun 1999 : Preface)

                    ภาวะผู้นำ  - ภาวะผู้นำใดๆ เป็นศิลปะในการจัดการธรรมชาติของมนุษย์ และการให้อิทธิพลต่อพฤติกรรมของมนุษย์ ชี้นำพวกเขาไปสู่เป้าหมายที่เฉพาะเจาะจง  ในวิถีทางที่เชื่อฟัง เชื่อมั่น และ เคารพ ต่อมัน (Yakan 1998:76 )

                ในอิสลามภาวะผู้นำเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกกิจการ ศาสดามุฮัมมัด ได้กล่าวว่า เมื่อมีจำนวนสมาชิก 3 คนในการเดินทาง ควรแต่งตั้งบุคคลหนึ่งในหมู่พวกเขาเป็นผู้นำ ผู้นำที่มีคุณภาพ มักจะมีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานในองค์การ ดังนั้นผู้นำนอกจากต้องรับผิดชอบต่อองค์การโดยรวมแล้ว ยังต้องเป้นผู้ให้บริการทั้งต่อองค์การและสมาชิก ความเข้าใจในลักษณะดังกล่าวนี้ สอดคล้องกับหลักบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์การ (Total Quality Management) ซึ่งศาสดามุฮัมมัด ได้กล่าวไว้ว่า ผู้นำคือผู้รับใช้ประชาชน (Jabnoun 2548) (คัดลอกจากที่อื่น)

สถานภาพของการจัดการศึกษาของโรงเรียนเอกชนอิสลาม

ความหวังใหม่สู่การยกระดับคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน

ความหวังใหม่ของการสร้างสังคมคุณภาพแบบบูรณาการหลักศาสนากับการดำเนินชีวติ

คำสำคัญ (Tags): #การศึกษาอิสลาม
หมายเลขบันทึก: 106851เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2007 22:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 01:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท