Learning Organization ในมิติของ เอ็นเนียแกรม


เอ็นเนียแกรมเป็นความรู้ที่อธิบายพฤติกรรมของคนได้อย่างแม่นยำ ความรู้นี้จึงสามารถประยุกต์ใช้กับโมเดลทางการบริหารต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ลองดูว่าเราจะใช้เอ็นเนียแกรมให้เป็นประโยชน์กับการสร้าง LO ได้อย่างไร

หากจะยกตัวอย่างการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization) ด้วยวินัยห้าประการตามแนวคิดของ Peter Senge  เอ็นเนียแกรมเป็นประโยชน์กับวินัยทั้ง 5 ดังนี้

Personal Mastery

เอ็นเนียแกรมอธิบายถึงรูปแบบทางความคิด ความรู้สึกและการกระทำของคน โลกทัศน์และการรับรู้ ซึ่งเกี่ยวพันกับวิสัยทัศน์ส่วนตัว รวมทั้งแรงบันดาลใจซึ่งก่อให้เกิดพลังในการสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ

 

Mental models

กล่าวได้ว่า สิ่งที่กำหนดคนแต่ละลักษณ์หรือสไตล์เอ็นเนียแกรมนั้นก็คือ mental model หรือสมมติฐานพื้นฐานเกี่ยวกับโลกหรือชีวิต และเป็นสิ่งที่กำหนดการรับรู้ของคนแต่ละสไตล์

Shared visions

วิสัยทัศน์ร่วมจะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อแต่ละคนสามารถแบ่งปันความรู้ความเข้าใจของตนได้จริงๆ  เอ็นเนียแกรมเป็นประโยชน์เพราะทำให้เราเข้าใจคนอื่นได้ใกล้เคียงความจริง แทนที่จะใช้ความรู้สึกนึกคิด ค่านิยมหรือหลักยึดของตนไปตีความพฤติกรรมของผู้อื่นอย่างที่คนส่วนใหญ่มักเป็น

 

Team learning

Team learning จะเกิดขึ้นได้ผ่าน dialogue  และ dialogue จะมีความหมายมากขึ้นต่อเมื่อแต่ละคนมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน  เอ็นเนียแกรมเป็นเครื่องมือที่ช่วยเรื่องนี้อย่างได้ผล

System thinking

เอ็นเนียแกรมทำให้เราตระหนักว่า แต่ละคนก็เป็นส่วนย่อยของระบบใหญ่ แต่ละคนมองโลกจากมุมของตนเอง การตระหนักในเรื่องนี้ทำให้เราสามารถมองสิ่งต่างๆ ในเชิงระบบ และเข้าใจในผลกระทบและความเชื่อมโยงขององค์ประกอบต่างๆ ได้ชัดเจนขึ้น

หมายเลขบันทึก: 106680เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2007 10:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 16:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท