ผลที่ได้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การเงิน บัญชี และพัสดุ โดย การพัฒนาต่อยอดโปรแกรมรายงานการเงินสถาบันพระบรมราชชนกเพื่อประสิทธิภาพในการพัฒนางานประจำและเตรียมรับการประเมินคุณภาพ ตอนที่ 2


สิ่งที่ได้เรียนรู้ในงานพัสดุ

สิ่งที่ได้เรียนรู้ในงานพัสดุ               

1.  การออกแบบและพัฒนา spreadsheet  คำนวณค่าเสื่อมราคาประจำปี  ค่าเสื่อมราคาสะสม  มูลค่าสุทธิของครุภัณฑ์  อาคารสถานที่แต่ละรายการ ในแบบอิงรอบปีงบประมาณได้ถูกต้องตรงตามผลการคำนวณโดยโปรแกรมของกรมบัญชีกลาง               

2.  การออกแบบและพัฒนา spreadsheet  ให้สามารถรายงานสารสนเทศที่ตรงและถูกต้องตามการรายงานที่ใช้อยู่จริงในการปฏิบัติงานประจำ  พร้อมทั้งตามที่สรุปเสนอคลังจังหวัด               

3.  การออกแบบและพัฒนา spreadsheet  ให้สามารถคำนวณเพื่อการประมาณการล่วงหน้าค่าเสื่อมราคาครุภัณฑ์  อาคารสถานที่ในแบบอิงรอบปีงบประมาณ               

 4.  การออกแบบและพัฒนา spreadsheet  ให้สามารถคำนวณเพื่อการประมาณการล่วงหน้าค่าเสื่อมราคาครุภัณฑ์  อาคารสถานที่ในแบบอิงรอบปีการศึกษา  เพื่อใช้ประกอบการวิเคราะห์งบดำเนินการในปีการศึกษาสำหรับการคำนวณร้อยละของค่าใช้จ่ายและมูลค่าที่ใช้ในการอนุรักษ์ พัฒนาและสร้างเสริมเอกลักษณ์  ศิลปะและวัฒนธรรมต่องบดำเนินการ (สมศ. 4.2)               

 5.  การปรับขั้นตอนการปฏิบัติงานประจำ (พัฒนาเป็น Flow  Chart)  เพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานที่ดี (Good  Practice)  สำหรับรวบรวม  วิเคราะห์ข้อมูลค่าเสื่อมราคาครุภัณฑ์  อาคารสถานที่  และรายงานสารสนเทศสำหรับการปฏิบัติงานจริงในวิทยาลัย  เสนอคลังจังหวัด  และตัวบ่งชี้ที่ 5.6  และ  4.2               

6.  การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายนอกวิทยาลัยกับเครือข่ายผู้ปฏิบัติหน้าที่คล้ายกันในวิทยาลัยสังกัดสถาบันพระบรมราชชนกผ่านเวทีการให้บริการวิชาการที่เกี่ยวกับการคำนวณค่าเสื่อมราคา ครุภัณฑ์  อาคารสถานที่  และการรายงานสารสนเทศ  อิงตามการปฏิบัติจริง 

 ผลที่ได้รับในงานพัสดุ               

1.  พัฒนาการปฏิบัติงานประจำเพื่อหลีกเลี่ยงการสร้างภาระงานเพิ่ม  ลดความเสี่ยงและข้อผิดพลาดในการวิเคราะห์  สังเคราะห์  และการรายงานสารสนเทศ  ลดเวลาและจำนวนครั้งที่ใช้ในการตรวจทานความถูกต้องของรายงาน  ทำให้เข้าสู่แนวทางการปฏิบัติงานที่ดี (Good  Practice)                 

2.  พัฒนาเครื่องมือที่ใช้ประกอบการพัฒนาการปฏิบัติงานประจำ  โดยวิเคราะห์  สังเคราะห์เป็นสารสนเทศที่ใช้ในการปฏิบัติงานในวิทยาลัย  ส่งคลังจังหวัด  รายงาน สมศ.   

 3.  พัฒนาทีมงานผู้รับผิดชอบให้เป็นผู้รู้ที่ใช้เวลาปฏิบัติงานลดลง  มีข้อผิดพลาดน้อยลง  และรวบรวมสังเคราะห์องค์ความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคลของทีมงานมาพัฒนาให้เป็นระบบ 

หมายเลขบันทึก: 106663เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2007 09:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
หวังว่าการประชุมนี้คงได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์กันนะครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท