ความรู้ปฏิบัติจากการปฏิบัติงานระหว่างทีมงานการเงินและบัญชี ร่วมกับทีมงานพัสดุ ตอนที่ 2


เมื่อเราได้มีโอกาสวิเคราะห์งาน และมองปัญหาในการทำงานร่วมกันก็พบว่ามีทางที่จะช่วยกันพัฒนางานได้

ผลการวิเคราะห์การปฏิบัติงานระหว่างทีมงานการเงินและบัญชี  ร่วมกับทีมงานพัสดุ  ทำให้ทีมงานค้นพบว่าการปฏิบัติงานการตีราคาทรัพย์สินในปัจจุบันยังมีปัญหาและอุปสรรคอยู่บางประการ  ดังนี้

1.  การคิดคำนวณตัวเลขด้วยมือตามหลักเกณฑ์กับการคิดคำนวณด้วยระบบ GFIMS  ไม่ตรงกัน  เนื่องมาจากการปัดเศษส่วนทศนิยมตำแหน่งที่สาม

2.  การตีราคาทรัพย์สินไม่สามารถประมาณการล่วงหน้าได้ทำให้ไม่สามารถจัดเตรียมรายงานเพื่อการเขียน SAR ได้

3.  ยากต่อการตรวจสอบเพราะมีปริมาณงานที่ต้องคำนวณด้วยมืออยู่เป็นจำนวนมาก  และเมื่อตรวจสอบพบว่า  คำนวณด้วยมือยังมีข้อผิดพลาดซึ่งอาจมีผลเสียต่อการบริหารงานของวิทยาลัย

4.  เมื่อถึงเวลาที่ต้องรายงานสถานะทางการเงินแก่ผู้บริหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  ผู้ปฏิบัติใช้เวลาในการจัดเตรียมรายงานนานประมาณ 2 เดือนต่อผู้ปฏิบัติงาน 2 คน

5.  ยากต่อการตรวจสอบสถานภาพอายุการใช้งานและการหมดอายุของทรัพย์สินจากปัญหาและอุปสรรคดังกล่าว  ทีมงานมีแนวทางในการพัฒนาคือ  การหาวิธีเพื่อให้การตีราคาทรัพย์สินมีความเป็นปัจจุบัน  สามารถรายงานได้เป็นเดือน  ไตรมาส  ปีงบประมาณ  และปีการศึกษา  โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ  นอกจากนี้ยังสามารถช่วยในการคำนวณเพื่อลดข้อผิดพลาด  ระยะเวลา  และปริมาณงาน  รวมทั้งสามารถประมาณการเรื่องการตีราคาทรัพย์สินล่วงหน้าได้               

 ผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำให้ได้องค์ความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคล  ซึ่งองค์ความรู้นี้บุคคลได้มาจากการอ่านทฤษฎี  เอกสารวิชาการที่เป็นระเบียบ ข้อบังคับ กฎหมาย  รวมทั้งประสบการณ์ที่สั่งสมจากการปฏิบัติงาน  ดังนี้               

1.  หลักเกณฑ์การตีราคาที่ดินได้ไปขอคำปรึกษาจากสำนักงานที่ดินจังหวัดเพื่อการประเมินราคาที่ดิน  ซึ่งสำนักงานที่ดินแจ้งราคาประเมิน ณ ปี พ.ศ. 2547 เป็นตารางวา  เมื่อได้ราคาประเมินมาแล้วนำมาคำนวณด้วยสูตรดังนี้  ขนาดของที่ดิน X ราคาประเมินเป็นตารางวา               

2.  ทรัพย์สินรายการใดที่หมดอายุใช้งานแล้วไม่ต้องดำเนินการตีราคาทรัพย์สิน  ไม่ต้องคิดค่าเสื่อมราคา  แต่ให้คงมูลค่าสุทธิเหลือไว้ 1 บาท (หนึ่งบาทถ้วน)  และคงไว้ในบัญชีจนกว่าจำหน่ายหรือยกเลิก               

3.  การตีราคาทรัพย์สินประเภทครุภัณฑ์และอุปกรณ์  กำหนดราคาขั้นต่ำไม่ต้องคำนึงถึงระเบียบปี พ.ศ. 2540  แต่ให้ยึดระเบียบปี พ.ศ. 2546               

4.  วิธีการตีราคาอาคารสิ่งปลูกสร้างให้ยึดราคาทุนที่ได้มา  คำนวณค่าเสื่อมโดยวิธีการเส้นตรง สำหรับอาคารที่ปรับปรุงซ่อมแซมให้คิดส่วนที่ปรับปรุงซ่อมแซมเป็นเสมือนอาคารใหม่โดยนับอายุการใช้งานใหม่ตามที่ก่อสร้างจริง               

5.  ผลการตีราคาทรัพย์สินและการคิดค่าเสื่อมราคาตามแนวทางที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้งานพัสดุสามารถวางแผนการจำหน่ายและวางแผนการจัดซื้อทดแทนได้ทันที

หมายเลขบันทึก: 106656เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2007 09:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มีนาคม 2012 11:22 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท