archarn_thanika
นาง ฐานิกา ชาญนุวงศ์ บุษมงคล

มาคุยกันเรื่อง การสร้างทีมแห่งการเรียนรู้ค่ะ


ทีมแห่งการเรียนรู้

เรื่องก็มีอยู่ว่า...เราทำงานในไอซียู...สถานที่ที่ใครๆก็ไม่อยากมา  รวมทั้งคนทำงานด้วย...เพราะเป็นที่ที่วิกฤตไปซะทุกอย่าง... คนทำงานในไอซียูต้องเผชิญกับปัญหาสารพัน...โดยเฉพาะต้องพบกับการแสดงออกต่อความเครียด ความกดดันที่ได้รับของคนที่มาเกี่ยวข้องกับตัวเองเช่น.....

ต้องเจอกับคนไข้ที่เครียดๆ...ถ้าเขายังรู้ตัว

ต้องเจอกับญาติที่เครียดเพราะอาการคนไข้.... เครียดเพราะต้องลางานมา....เครียดเพราะค่ารักษา...เครียดเพราะต้องเตรียมแบ่งสมบัติ...เครียดเพราะต้องเตรียมหาเงินทำศพ...เครียดจากหลายปัญหาที่นำพาให้ต้องเครียด....

ต้องเจอกับหมอ...ที่ก็เครียดเพราะคนไข้อาการหนัก...ทุกคนฝากชีวิต...ความหวังไว้กับมือหมอ...ต้องเผชิญกับความคาดหวังจากใครต่อใคร...ว่าเป็นหมอแล้วต้องเก่ง...มีฝีมือ...คนไข้ต้องไม่ตาย...

ต้องเจอกับข้อจำกัดในการทำงานสารพัด ทั้งงบประมาณ ขาดคน ....ขาดแคลนน้ำใจ ทั้งคนในหน่วยงานตัวเองและหน่วยงานอื่นๆ

เพิ่งทะเลาะกับคนในครอบครัวมา

ไม่มีเวลาดูแลพ่อแม่ตัวเองดูแลแต่คนอื่นๆ

เงินไม่พอใช้จ่าย

และอื่นๆ...แล้วแต่จะมีความสามารถ  และความฉลาดในการหาเหตุเอามาทำให้ตัวเองเคร่งเครียด

ก็เลยมาคิดกันว่าทำยังไงให้คนทำงานในไอซียูมีความสุขมากขึ้น

การเพิ่มเงินให้...หรือ...ก็คงไม่ใช่

แล้วอะไรล่ะ...ที่จะช่วยให้คนเรามีความสุขได้...ในทุกสถานการณ์...ไม่ว่าจะยากดี..มีจน...แค่ไหน...

อ๋อ......ใช่เลย...มันอยู่ที่ใจนี่แหละ.........

แล้วทำอย่างไรคนเราจะรู้จัก...รู้ใจ...ของตัวเอง..พอที่จะฝึกจิตฝึกใจให้เรียนรู้ที่จะอยู่...อย่างสุขได้...ในท่ามกลางปัญหาและอุปสรรค

อ้อ.....มันต้องทำให้เขารู้จักตัวเองก่อน นี่จึงเป็นที่มาของ ....I See I camp

เมื่อรู้จักตัวเองแล้ว ก็ต้องรู้จักคนอื่นด้วย(รู้เขา...รู้เรา)นี่คือ I See U camp

จากนั้น....ต้องเรียนรู้ที่จะมองเห็นความงามของตัวเองและผู้อื่น นั่นคือ positive thinking camp

เรียนรู้ที่จะอยู่อย่างพอเพียง และออกไปดูนอกไอซียูบ้างซิว่า...คนอื่นเขาอยู่อย่างพอเพียง...กันได้อย่างไร นี่คือ insufficiency economy camp

ในการนี้จะต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์พอสมควร(creative thinking) จึงจะสามารถบูรณาการ(integration)ทุกอย่างเข้าด้วยกัน ออกมาเป็น ไอซียูทีมที่มีความเป็น unity และ teamwork อันแสนสุข

จึงเป็นที่มาของ ICU model ของเราในที่สุด

กว่าจะได้แนวความคิดเหล่านี้มา ต้องมีคุณอำนวยเยอะมาก เริ่มตั้งแต่ทีมฟา ของเครือปูนซิเมนต์ไทย(น่ารักและใจดี ใจบุญที่สุด) ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ อาจารย์เสาวลักษณ์  แย้มตรี และทีมหัวหอกที่แปลงร่างไปเป็นทีมฟา ไอซียูในที่สุดคือ พี่ตู่(ผู้เขียน) สุ โชค เอ๋ ดาว จุกกี้ ดังนั้น......การสร้างทีมแห่งการเรียนรู้......จึงเริ่มขึ้น.....

โปรดติดตามตอนต่อไปว่า จาก no how ก้าวไปสู่ know how นั้นไม่หมู

ฐานิกา บุษมงคล

 

หมายเลขบันทึก: 106187เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2007 13:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท