BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

เพดาน


เพดาน

เพดาน คำนี้คนไทยทั่วไปคงจะรู้จัก แต่มีน้อยคงที่จะรู้ว่ามิใช่คำไทยแท้... อันที่จริง คำนี้มีเชื้อชาติมาจากคำบาลี และคงจะแปลงสัญชาติเป็นคำไทยนานมากแล้ว....

ในคำบาลี วิตาร แปลว่า เพดาน ..... สำหรับผู้ไม่คุ้นเคยอาจมองไม่ออกว่า วิตาร แปลงมาเป็น เพดาน ได้อย่างไร .... ส่วนผู้ที่คุ้นเคยเห็นปุบก็อาจเข้าใจปับ... ซึ่งมิใช่โง่หรือว่าฉลาดสำหรับเรื่องนี้ เพียงแต่ว่าเราได้สั่งสมเรื่องทำนองนี้มาหรือไม่ อย่างไร มากหรือน้อยแค่ไหน .... ประมาณนั้น

............

วิ +ตาร = วิตาร

วิ เป็น อุปสัคนำหน้ารากศัพท์ ในที่นี้แปลว่า ต่าง  (แตกต่าง)

ตาร มาจากรากศัพท์ว่า ตร แปลว่า ข้าม หรือ ข้ามไป

วิตาร จึงแปลตามรากศัพท์ผสมกับอุปสัคโดยตรงได้ว่า แตกต่างจากการข้ามไป  ....

เมื่อดูความหมายที่แปลตรงตัวแล้ว เราลองคิดดู อะไรบ้าง ? ที่มีความหมายแตกต่างจากสิ่งที่ต้องก้าวข้ามไป...

เฉลยว่า รอด หรือ รอดใต้ นั่นคือ ความหมายที่แตกต่างจากการข้าม หรือก้าวข้ามไป...

สิ่งที่เราต้องรอดใต้ มิใช่ข้ามไป ก็คือ วิตาร หรือ เพดาน นั่นเอง....

..........................

วิธีการแปลงอักษรดังนี้

วิตาร แปลง สระ อิ เป็น เอ ก็จะเป็น เวตาร

แปลว ว.แหวน เป็น พ.พาน อีกครั้ง... ดังนั้น จาก เวตาร จึงเป็น เพตาร

แต่ภาษาไทย นิยมใช้ ด. เด็ก แทน ต.เต่า จึง เป็น เพดาร (ภาษาบาลีไม่มี ด.เด็ก มีแต่ ต.เต่า)... ซึ่งใครชอบอ่านหนังสือไทยโบราณ จะเห็นได้ว่าคำนี้เขียนว่า เพดาร... แต่หนังสือไทยขณะนี้กำหนดให้เขียนว่า เพดาน

..............

อนึ่ง ในคำบาลี.... ตละ แปลว่า พื้น ...คำนี้ ก็มาจาก ตระ เพียงแต่แปลง ร. เรือ เป็น ล. ลิง ... ตละ แปลว่า สถานที่เป็นที่ก้าวข้ามของคนทั้งหลาย...

เมื่อ เป็น เพดาน ก็อาจแปลได้ว่า ที่ตรงกันข้ามกับสถานที่ก้าวข้ามไปของคนทั้งหลาย ซึ่งได้แก่ ที่รอดใต้ไป นั่นเอง

.....

อีกอย่างหนึ่ง บางคนเคยอ่านนิทานเวตาร...  สัตว์เวตาร ในเรื่อง จะห้อยอยู่ที่ต้นไม้... ดังนั้น เวตาร ในที่นี้ ก็น่าจะแปลว่า สัตว์ที่อยู่ตรงข้ามกับพื้น ก็คือ เป็นสัตว์ที่ต้องห้อยหัวอยู่ตามต้นไม้ นั่นเอง

คำสำคัญ (Tags): #เพดาน
หมายเลขบันทึก: 106164เขียนเมื่อ 25 มิถุนายน 2007 12:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

นมัสการพระคุณเจ้าค่ะ

ไม่เคยทราบมาก่อนเรื่องเพดาน  เป็นความรู้ใหม่จริงๆ

จะค่อยๆ ทะยอยอ่านเรื่องของท่านอีกค่ะ

นมัสการมาด้วยความเคารพ

นมัสการพระคุณเจ้า

รู้จักเวตาลมาตั้งแต่เด็ก

เพิ่งจะเข้าใจความหมายชื่อของเวตาลเดี๋ยวนี้เอง 

P
อาจารย์หมอ.. ไม่เจอนาน
เวตาล ก็คือ เวตาร นั่นเอง โดย ล.ลิง แปลงมาจาก ร.เรือ
เจริญพร
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท