ที่มาของพินัยกรรม


พินัยกรรม

อย่างที่ผมได้กล่าวเกริ่นไว้ใน คำนำของบล็อกนี้ ว่า ได้มีโอกาส อ่านหนังสือเล่มหนึ่ง ชื่อ พินัยกรรม ของ อาจารย์ท่านหนึ่งที่ผมเคารพ ท่านเล่าเรื่องที่ท่าน อยากจะฝากบอกคนใกล้ชิด เรื่องของชีวิตที่ท่านได้ เรียนรู้ พอได้อ่าน ผมจึงเกิดความคิดว่า น่าจะเป็น อีกเครื่องมือ ในการเจริญ มรณานุสติ ช่วยให้เราใช้ชีวิตที่มีอย่างคุ้มค่า เลยมาชวน ท่านที่ผ่านแวะเข้ามา มาเขียนพินัยกรรมกัน หลายท่านอาจจะบอกว่า โอยอายุยังน้อย อีกตั้งนานไว้ แก่ๆ ว่างๆ แล้วค่อยมานึกเรื่องนี้ บางส่วนอาจจะจริงอย่างท่านว่าครับ เพราะถ้าดูตามอายุขัย เฉลี่ยของ เมืองไทย ประเทศไทย อายุขัยอยู่ที่ประมาณ 72 ปี ผมเองยังมีเวลา ตั้งอีก สามสิบปี แต่ถ้าเรา ลองคิดดูจริงเวลา สามสิบปี ถ้าเราไม่รู้ว่าอยากได้อะไร เผลอแป๊บเดียวมันก็หมดไปได้ง่ายๆ ผมไปเจอบทความในวิกิพีเดีย ที่พยายามรวบรวม ระยะเวลาของเรื่องต่างๆไว้อย่างน่านสนใจ

ท่านที่สนใจลองคลิ๊กไปดูจากลิงค์ข้างล่างก็ได้ครับ

ในนั้นเขาจะเอาเวลาของเรื่องตา่างๆมาให้เราดู ที่น่าสนใจ คือ อายุขัยคน ประมาณ 75 ปี ซึ่งมองดูนาน ถ้าเราเอามาเทียบกับ อายุของ กรุงเทพ 225 ปี หรือ ของประเทศไทย ที่ประมาณ 1000 ปี อายุของพระพุทธศาสนา 2605 ปี(นับตั้งแต่ทรงตรัสรู้) อายุของ "อารยธรรม" ประมาณห้าพันปี อายุของ การเกิดมนุษย์ประมาร สองแสนปี อายุของโลก 4500ล้านปี อายุของจักรวาล 13000ล้านปี หรือ อายุขัยของจักรวาล ที่ประมาณ 100000 ล้านปี จะเห็นได้ว่า เวลา สิบปีนั้นเป็นเวลาสั้นนิดเดียว เพราะฉะนั้น คำสั่งสอนสุดท้ายที่องค์สมเด็จพระพุทธเจ้ามอบให้กับเราจึงเป็นเรื่อง ความไม่ประมาท การเขียนพินัยกรรม จึงเป็นหนึ่งในวิธีช่วยเตือน ให้นึกถึงคำสอนของพระองค์ท่าน

 http://en.wikipedia.org/wiki/1_E9_s

หมายเลขบันทึก: 105827เขียนเมื่อ 24 มิถุนายน 2007 10:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 เมษายน 2012 21:58 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท