เอดส์ในเด็ก วัยรุ่น


ART นี้เองพลิกชีวิตเด็ก ที่อดีตจะป่วย และตายเร็ว ให้มาเป็นโรคเรื้อรัง มีชีวิตที่ดี แข็งแรง แต่ต้องกินยาตลอดชีวิด

อ่านจากบล็อก อาจารย์ วิรัตน์ อาจารย์ ทำค่ายศิลปให้กับเด็กที่มีเชื้อเอดส์ และเชียนบล็อก ศิลปะและการ์ตูนกับเด็กๆกำพร้า HIV  ว่า  

หนูเอย แม้นว่าวันนี้หรือวันไหน ขอให้ความฝันและความหวังของหนูยังคงอยู่...เพราะสิ่งนี้สิ่งเดียวเท่านั้น ที่เป็นพลังชีวิต  ในท่ามกลางเคราะห์กรรมในชีวิตนั้น ผู้คนในโลกนี้  ได้มีชีวิตแบบตายไปจากความฝันเป็นจำนวนมาก  วันคืนที่เหลืออยู่ของหนู จึงงดงามและเต็มไปด้วยความโชคดีกว่าใครๆอีกมากมายนัก  จงฝัน เติบโต และเปี่ยมด้วยพลังชีวิต  อย่าให้ภูมิชีวิตที่มีอยู่  เลือนไปจากชีวิตของหนู.....

ทำให้คิดต่อได้ว่า

คำว่า ART ของอาจารย์นั้น เป้นคำย่อของ คำว่า Anti Retroviral Therapy การให้ยาต้านไวรัส ของผู้มีเชื้อเอดส์ด้วย

ART นี้เองพลิกชีวิตเด็ก ที่อดีตจะป่วย และตายเร็ว ให้มาเป็นโรคเรื้อรัง มีชีวิตที่ดี แข็งแรง แต่ต้องกินยาตลอดชีวิด

มีข้อแม้อยู่ว่า การกินยาต้องอยู่ในระดับยอดเยี่ยม ตลอด คือ มากกว่า 95% ถูกขนาด ถูกจำนวน และถูกเวลาเป๊ะ

ตามประสบการณ์ ของดิฉัน  5 ปี ที่ดูแลให้ยาเด็กที่เชียงราย ยังไม่เคยเจอสัก ราย ที่กินยาถูกต้องทุกอย่าง(โดยมีพยานการกิน 100%ด้วย )มีการดื้อยา

รายที่ดื้อยาล้วนมีสาเหตุจาก กินยาไม่ได้อย่างถูกต้อง 100% ทั้งสิ้น

ตอนนี้ ที่ทีม ดิฉัน เผชิญ คือ เด็กบางคน พอเข้าวัยร่น จะมีปัญหา ที่เคยกินยาสม่ำเสมอ เริ่มเบื่อยา หยุดยา ไม่กิน ไม่มาหาที่รพ

เป็นไปตามธรรมชาติ ของวัยรุ่นมังคะ

ที่ มีความต้องการ 3 ประการสำคัญ คือ

เขาจะเข้าสังคม เขาอยากไม่อยากจะแตกต่างจากเพื่อนเลย และสุดท้าย ต้องการความแข็งแรงอยู่ยงคงกระพัน(invincibility)

 แต่ การมีเชื้อ HIV ทำให้ ทั้ง สามสิ่งที่เขาต้องการนั้น เป็นไปได้ยาก  อ่านต่อได้ ที่นี่

 เคยมีผู้ดูงานจากหนังสือ แฟชั่น ELLE จากฝรั่งเศส มาขอสัมภาษณ์เด็ก

สัมภาษณ์ เสร็จ  บรรณาธิการที่มา คุยกับทีมว่า ทำไมเด็กๆที่สวยงามน่ารักเหล่านี้ จึงยากมากในการที่จะช่วยให้กินยา 

เธอไม่เข้าใจ ว่ามันยาก อย่างไร ในการกินยา เธอก็มีโรคประจำตัวต้องกินยาวันละ 2 ครั้งเช่นกัน เพียงแต่ไม่ต้องตรงเวลา ไม่ยากเลยนะ

ตอนที่เธอถามก็ ตอบไม่ได้ ตอนนี้ มานืก ออก ว่ามันไม่ใช่แค่หยิบยาใส่ปาก เป็นเพราะการทราบว่าตัวเองมีสภาวะมีเชื้อนี้ เป็นเรื่องใหญ่ที่สำคัญที่สุดในชีวิต ของเขา

การเจอเรื่องนี้ ทำให้เกิดภาวะที่เรียก post traumatic stress ในทุกคน ไม่มากก็น้อย

เหมือนคนเคยเจออุบัติเหตุรุนแรงจะหลบเลี่ยง  ไม่ใช้รถ ไม่นั่เครื่องบิน ไม่พูดถึง จะ หวาดกลัวมากกว่าคนอื่น และเกิดความเครียดมาก เมื่อต้องเจอเข้าจริง

เด็กวัยรุ่นเหล่านี้เช่นเดียวกัน

นาฬิกาปลุกเตือน การกินยา การเห็นกล่องยา เม็ดยา การที่ผู้ปกครองเตือน แม้แค่มาโรงพยาบาล พบหมอ พบพยาบาล ก็เป็นสิ่งที่เตือนเขา ทำให้เกิดเครียด เกิดทุกข์ ทุกครั้งที่กินยา

บางคน เลยเลี่ยง ไม่เห็น ก็ ทำให้ลืมไป พอจะประคองจิตให้เป็นสุขได้ ชั่วคราว ก็ ยังดี

ขอบคุณ  สำหรับบล็อก ของอาจารย์ 

P


นาย วิรัตน์ คำศรีจันทร์


ที่จุดประกายให้คิดต่อได้ยาวเลย

 

หมายเลขบันทึก: 105772เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2007 23:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 10:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีค่ะ

วันนี้ไปทำบุญที่วัดเก่าแก่ที่อ่างทองชื่อวัด400 และมีโรงเรียนด้วย เราเอาของไปแจกและเงินเด็กๆ และทราบจากครูใหญ่ว่า

70%ของเด็กที่นี่มีปัญหาครอบครัว บางคนพ่อหรือแม่เป็นเอดส์ บางคนก็ทิ้งลูกให้ย่า ยาย เลี้ยงค่ะ

จนทางจังหวัดต้องเข้าไปดูแลเป็นพิเศษค่ะ

น่าสงสารมากค่ะ ดิฉันจึงได้เขียนบันทึก ย้ำถึงความสำคัญและความจำเป็นของสถาบันครอบครัวค่ะ

น่ารักจังค่ะ

ทั้งเด็กๆ  ทั้งตุ๊กตา และขออนุโมทนากับการทำบุญ ครั้งนี้ ของอาจารย์

P
ด้วยค่ะ ที่มีน้ำใจ ให้ แก่ผู้ด้อยโอกาส เสมอ

เรียนอาจารย์ มีคนไข้ที่ดื้อยา แต่ไม่ยอมกินยาสูตรดื้อยาส่วนหนึ่งจากการที่ยากินยาก เม็ดใหญ่ กินแล้วอาเจียน คุณหมอให้นอนรพ.เพื่อฝึกวินัยการกินยาและช่วยดูแลในเรื่องการอาเจียน ผู้ป่วยฝึกได้หนึ่งวันแล้วขอกลับบ้านไม่ยอมกินยา ไม่ยอมรับการรักษาอีก cd4 แค่ 40 กว่าเองค่ะ คุณหมอบอกว่าคงต้องรอให้ป่วยก่อน ค่อยว่ากันใหม่ ตัวเองรู้สึกไม่ค่อยสบายใจเลย แต่ไม่รู้ว่าควรทำอย่างไรดี ขอคำปรึกษาด้วยค่ะ(ผู้ป่วยอายุ 13 ปี เรียนหนังสือไม่จบประถม กำพร้าอยู่กับยายที่อายุมากแล้ว ฐานะยากจน)

ทำให้เกิดภาวะที่เรียก post traumatic stress ในทุกคน ไม่มากก็น้อย

มาอ่านและเห็นด้วยกับพี่ค่ะว่า

วิธีที่ มนุษย์ แต่ละคนเลือกที่จะเผชิญ กับภาวะเครียดดังกล่าว ละเอียดอ่อน ยาก และไม่เหมือนกัน

หลายคนเลือกที่จะลืม ไม่ยอมรับ ไม่ต่อสู้...

ขอบคุณ น้องการะเกด และคุณหมอภูสุภา

น้อง 13 ปี กำพร้า อยู่กับยาย(ที่เชียงรายก็ เจอปัญหาผู้ป่วยแบบนี้ บ่อย)

จนตอนนี้ ทีมเชียงราย เราตั้งใจไว้ว่า ต้องไม่ให้ พ่อแม่เด็กตาย ต้องรักษาทั้งครอบครัว (ครอบครัวเดียวกันใ ครเริ่มยาก่อนก็ได้ ใครรอ ก็ ต้องมาติดตาม CD4ทุก 6 เดือน)

และต้องไม่ให้ ออกจาก โรงเรียน เพราะออกจากโรงเรียน เป็นว่า เสียหายทั้งชีวิต การเรียน การงาน ระเบียบวินัยพื้นฐาน เสียหมด)

 สมมุติว่ารายน้องเป็นเด็กที่ เชียงราย ก็ คงเอารายละเอียดมาคุยกันใน การประชุม สหสาขา ให้ ที่ประชุมช่วยกันคิด

เท่าที่เคยสรุปกัน รายนี้คงต้องทำ full disclose ให้ เด็ก และยายในห้องที่เป็นส่วนตัว จนเข้าใจทุกประเด็นใน 10 ประเด็นที่เรากำหนด ใน full disclose session ซึ่งถ้าอยากได้ตัวอย่างการให้ข้อมูลและคำถาม อยู่ที่นี่ ค่ะ

เน้นให้ ทราบถึง การติดเชื้อ เอชไอวี ที่แตกต่างจาก เอดส์ และใช้คำถามสุดท้ายว่า ถามจริงๆ มันมีทางเลือก 2 ทาง หนู และคุณยาย จะเลือก ให้ เป็นไปตามโรคมัน ในที่สุด เป็นโรคเอดส์ตาย หรือ หนูจะเลือก ไม่ยอมเป็นโรคเอดส์ เลยตลอดชีวิต  

เด็กมักเลือกไม่ยอมเป็น และจะกินยาต่อ

บางทีทีมเยี่ยมบ้านก็ อาสาจะไปคุยที่บ้านให้ บางทีก็ต้องตามไปคุยกันส่วนตัว และให้ การสนับสนุนเต็มที่ บนความรับผิดชอบ ของ ครอบครัวนะคะ

ไม่ได้สำเร็จในทุกราย แต่ทีมพยายามเต็มที่ทุกๆ ราย

เวลาไม่ได้ผล  ทำแล้ว ไม่กิน หรือกินไม่ได้ ก็ ต้องทำ death and dying counseling ไว้เลยค่ะ 

เด็ก ป่วยหนัก กลับมาตายที่ รพ หรือมีข่าว ตายที่บ้าน ก็ มาเล่าในที่ประชุม

ก็ต้องปลอบใจทีมว่า พวกเราช่วยเด็กให้กินยาได้ สำเร็จ เต็มความสามารถเราทำได้ 80-90% ก็น่าพอใจและน่าภูมิใจมากแล้ว

ถึงเราจะทำจะพยายามมากขึ้นอีก ก็คงไม่สามารถ ทำให้เด็กทุกคนกินยาได้ ทั้งหมด 100% หรอก

นะคะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท