Hypertention อาหารสำหรับคนเป็นความดัน


อาหาร

อาหารที่ควรบริโภคของผู้ป่วย
Boone
รายงานว่า จากการศึกษานิสิตเก่าของมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด จำนวน 15,000 คน พบว่าผู้ที่ไม่เข้า
ร่วมกิจกรรมมีความเสี่ยงต่อการเป็น โรคความดันโลหิตสูงถึงร้อยละ 35 เมื่อเทียบกับ ผู้เข้าร่วมกิจกรรมใน
การรักษาความดันโลหิตสูงอย่างง่ายๆ ด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ คือ การเดิน และถีบจักรยาน 
และพบว่าความดันโลหิตลดลง 11/9 มม.ปรอท ภายหลังกิจกรรม 3 สัปดาห์ และลดลง 16/11 มม.ปรอท 
ภายหลังกิจกรรม 7 สัปดาห์ 

จากการเพิ่มการเคลื่อนไหวพบว่าความต้านทานรวมของ หลอดเลือดแดงส่วนปลายลดลง ปริมาณเลือดที่
ออกจากหัวใจเพิ่มมากขึ้น ส่วนน้ำหนักร่างกายและการขจัดโซเดียมยังคงที่เท่าเดิม ระดับ norepinephrine 
ในพลาสมา มีค่าลดลงเป็นร้อยละ 21 และ 33 ภายหลังกิจกรรม 3 และ 7 สัปดาห์ตามลำดับ 
การลดความดันโลหิตในพวกที่มีความดันโลหิตสูงอาจร่วมกับการลดระดับ catecholamine ในพลาสมา 
Kaplan
รายงานว่า การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออาจลดอุบัติการของโรคความดันโลหิตสูง 
ในช่วงการติดตามผลระยะเวลา 1-12 ปี จำนวน 6,039 คน เป็นผู้ที่ออกกำลังกายน้อย เมื่อเริ่มทำการศึกษา พบว่า มีความเสี่ยงสัมพัทธ์เป็น 1.52 เท่า ของผู้ที่ออกกำลังกายมากในการที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูง 
ยังไม่มีข้อพิสูจน์ว่าการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยป้องกันไม่ให้มีการดำเนินของโรคเพิ่มมากขึ้น
หรือไม่ 

Kaplan
ได้ให้ข้อเสนอว่า ในผู้ที่ออกกำลังกายนั้นมักจะมีร่างกายที่สมส่วนติดตามด้วยการดำรงชีวิตที่ดี รวมทั้งบริโภคเกลือน้อย ไขมันน้อย และดื่มสุราแต่พอควร มีการพักผ่อน และผ่อนคลายความเครียด ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาอาจป้องกันไม่ให้มีการดำเนินของ โรคความดันโลหิตสูงก็ได้ 

การศึกษาของ Williams และคณะ ได้ทำการศึกษาแบบทดลอง โดยการรักษาโรคความดันโลหิตสูงแบบไม่ใช้ยา คือ ให้ออกกำลังกายเป็นเวลา 6 เดือน (สัปดาห์ละ 3 วันๆ ละ 1 ชั่วโมง) จำนวนที่ศึกษา 56 คน อายุเฉลี่ย 30 ปี ความดันโลหิตเริ่มแรกเป็น 146/94 มม.ปรอท หลังการศึกษาความดันโลหิตลดลง 6.1/4.2 มม.ปรอท 

Ford
และ Cooper ศึกษาปัจจัยเสี่ยง ของโรคความดันโลหิตสูง มีรูปแบบการศึกษาแบบไปข้างหน้า จำนวนที่ศึกษา 7,073 คน เมื่อแบ่งการออกกำลังกายเป็น 3 พวก คือ มาก ปานกลาง และน้อย พบว่า ชาย-หญิงผิวดำ และชายผิวขาว กลุ่มที่ออกกำลังกายน้อยมีอุบัติการของโรคความดันโลหิตสูง มากกว่ากลุ่มอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 

จากการทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องกับโรคความดันโลหิตสูง โดยเฉพาะการดูแลทางด้านอาหาร จะเห็นได้ว่าผู้ที่ป่วยเป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือผู้มีโอกาส เสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง สามารถที่จะหลีกเลี่ยงจากภาวะเสี่ยงหรือหลีกเลี่ยง จากการมีภาวะแทรกซ้อนจากโรคความดันโลหิตสูงเมื่อเป็นแล้ว หรือลดความรุนแรงของโรคลง ซึ่งต้องอาศัยการปฏิบัติตนในเรื่องนี้ให้อย่างถูกต้อง โดยรับคำแนะนำจากแพทย์หรือนักโภชนาการ หมั่นตรวจสอบร่างกายเป็นประจำหรือไปพบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
. สรุปอาหารที่บริโภค
1.
พลังงานที่ได้รับจากอาหารให้เหมาะสมกับกิจกรรมที่ใช้ เพื่อให้น้ำหนักตัวคงที่ 
2.
ถ้ามีความดันโลหิตสูงควรลดอาหารและออกกำลังกายให้ น้ำหนักตัวเหลือร้อยละ 85 จากน้ำหนักตัวเดิม
 
3.
รับประทานผลไม้อย่างสม่ำเสมอเพื่อเพิ่มปริมาณโปแตสเซียม
 
4.
ลดอาหารเค็ม พวกอาหารหมักดอง อาหารกระป๋อง อาหารที่แปรรูป

5.
อาหารไขมัน ควรบริโภคไขมันชนิดไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง 
6.
เพิ่มอาหารประเภทใยอาหาร
 
7.
ลดน้ำตาล เพื่อลดอินซูลิน
 
8.
ดื่มสุราไม่เกินวันละ
1.5 ออนซ์


คำสำคัญ (Tags): #อาหาร
หมายเลขบันทึก: 105707เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2007 17:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ทางเลือกใหม่ในการรักษาความดันโลหิตสูง   โดยใช้ยาสมุนไพรของไทย  อาจช่วยปรับระการทำงานของร่างกายให้ดีขึ้นได้
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท