เรียนรู้จากการทำงาน พัฒนาครูบนสถานการณ์จริง


การพัฒนาบนพื้นฐานการมีส่วนร่วม เรียนรู้ร่วมกันบนสถานการณ์จริง

ห่างหายไปนานเพราะมัวแต่ปรับปรุงคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอยู่เป็นประจำ ถึงคราวที่ต้องเปรับเปลี่ยนเวอร์ชั่นของระบบปฏิบัติการแล้ว นานนับปีแล้วที่ปลอดภัยจากไวรัส (ไม่อยากเจอหรอก)เพราะใช้ลินุกส์ ตอนนี้อยากเปลี่ยนไปใช้เวอร์ชั่นที่มีลูกเล่นมากขึ้นเลยต้องเสียเวลาย้ายข้อมูล ติดตั้งและปรับแต่ง (ลินุกซ์ติดตั้งแล้วต้องปรับแต่งด้วย เพราะเขาทำมาแบบให้ต่อยอดและปรับปรุงให้ใช้งานตามที่อยากได้ เลยต้องบู้กันหน่อย) ตอนนี้เรียบร้อยแล้วเลยมาเขียนบล็อกที่นี่ต่อ (ตอนติดตั้งลินุกซ์ก็เขียนไว้ที่ http://apidej.blogspot.com )

อยากเล่าเรื่องในขณะที่เว้นว่างจากการเขียนช่วงระยะเวลาหนึ่งนั้น เป็นช่วงที่ออกไปทำงานในพื้นที่ (โรงเรียน)เนื่องจากเคยทำงานค่ายอาสาพัฒนา และเคยรับประสบการณ์จาก NGO หลายทีม จึงได้ปรับแนวคิดการทำงานให้เป็นไปในลักษณะของการจัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้ร่วมกันกับครูบนสถานการณ์จริง เริ่มงานการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนโดยทั้งครูกับศึกษานิเทศก์ร่วมกันวางแผนการทำงาน (จัดการเรียนรู้) แล้วจัดกิจกรรมการเรียนรู้บนสถานการจริงกันเลย พบปัญหาอะไรก็สรุปข้อค้นพบ และหาทางแก้ปัญหากันตอนนั้นเลย (เรียกว่าพัฒนาครูบนสถานการณ์จริง ปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม นับตั้งแต่การกำหนดเป้าหมาย กิจกรรม การวัดผล) ระหว่างการดำเนินกิจกรรมและหลังการดำเนินกิจกรรมแต่ละกิจกรรมจะร่วมกันสรุปผล และเสนอแนะแนวทางการพัฒนาให้ดีขึ้น แบบที่ NGO เขาเรียกว่า เวทีสรุปบทเรียน สนุกครับงานนี้ เรื่องที่ดำเนินการคือการสอนให้นักเรียนทำงานเอนิเมชั่นได้เป็นกิจกรรมที่นักเรียนชอบมาก ตอนนี้ทำมา 6 โรงเรียนแล้ว กำลังจะสรุปผลเป็นรูปแบบของการนิเทศ
"การเรียนรู้จากการทำงาน บนสถานการณ์จริง"

วันนี้กลับมาเขียนต่อแล้วครับว่าการพัฒนาครูบนสถานการณ์จริงนั้นเป็นการพัฒนาบนพื้นฐานของประสบการณ์จากการทำงานที่ประสานระหว่างการเรียนรู้เชิงประจักษ์ร่วมกับทฤษฎีบนพื้นฐานของประสบการณ์ที่เกิดจากการปฏิบัติ และความรู้ที่เกิดจากการทำงานที่ประสบความสำเร็จของแต่ละคน

 ขั้นตอนแรกของการดำเนินการควรจะต้องมีการประเมินความต้องการที่จะพัฒนา กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ร่วมกัน (บางท่านก็ว่าวิสัยทัศน์ แต่อาจจะไม่ใช่วิสัยทัศน์ก็ได้ ขอเพียงแต่เรารับทราบว่ากำลังจะเดินทางไปทางไหน มีเป้าหมายการพัฒนาอย่างไร) ต่อจากนั้นก็ต้องร่วมกันวางขั้นตอนของดำเนินการ ตอนนี้สำคัญครับเพราะต้องใช้ประสบการความสำเร็จของแต่ละคนมาปรับประยุกต์ ตอนนี้เราต้องช่วยกันถอดกระบวนการปฏิบัติที่ซ่อนเร้นอยู่มาใช้ ขั้นตอนคร่าวๆเป็นอย่างภาพครับ (ภาพนี้ปรับปรุงจาก ของมูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ)

pl1 

ในขณะที่ทำงานที่โรงเรียนในการจัดการเรียนรู้ของครูก็ต้องประเมินการทำงานตลอดระยะพร้อมกับปรับปรุงการทำงานไปในตัวพร้อมให้การสนับสนุนต่อจากนั้นก็ร่วมกันประเมินผล (สะท้อนผล หรือ AAR หรือเวทีแลกเปลี่ยน หรือเวทีสรุปบทเรียน อะไรก็ได้ที่ทำให้เราได้พบกันและแสดงความคิดเห็นและบทเรียนที่ได้รับจากการทำงาน) เพื่อสะท้อนผลการทำงาน สำหรับปรับเปลี่ยนและยกระดับการทำงานดังภาพนี้ครับ

pl1

 

การทำงานตามกระบวนการที่พูดถึงตอนต้นนี้ถ้าทำต่อไปเรื่อยๆอาจพบว่า ประสบการณ์ความสำเร็จเฉพาะภายในกลุ่มคนที่ทำงานด้วยกันตอนนั้นอาจไม่เพียงพอซะแล้ว จึงต้องนำประสบการณ์ความสำเร็จจากภายนอกมาใช้ (ตอนนั้นผมเองเลยต้องไปฝึกทำงานจากที่อื่นมาเพื่อช่วยครูทำงาน) ทำให้การทำงานมีการพัฒนายกระดับขึ้น ถ้าสรุปแล้วอาจเป็นดังภาพต่อไปนี้

การพัฒนา 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #นิเทศ
หมายเลขบันทึก: 105615เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2007 08:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท