รายงานความก้าวหน้าการจัดเวทีชุมชน


ได้ดำเนินการรายงานความก้าวหน้าการจัดเวทีชุมชนในพื้นที่เป้าหมาย เพื่อเป็นการส่งเสริมความเข้มแข็งและขีดความสามารถในการพัฒนาคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ของประชาชน ชุมชน บนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยการรวมพลังของทุกภาคส่วนในระดับท้องถิ่น โดยยึดคนเป็นหลักผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประกอบด้วย คุณอำนวยอำเภอ คุณเอื้ออำเภอ คุณเอื้อตำบล คุณอำนวยตำบล

เมื่อวันที่  7  มิถุนายน  2550  ศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอปากพนังร่วมกับอำเภอปากพนัง และหน่วยงานเครือข่ายจัดวงเรียนรู้  รายงานความก้าวหน้าการจัดเวทีชุมชน  โดยมีนายอำเภอปากพนัง เป็นประธาน    เริ่มประชุมเวลา   09.30 .  โดยนายศุภชัย    สกุลแก้ว    ผู้อำนวยการศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอปากพนัง  กล่าวรายงาน  ถึงความเป็นมาของการจัด  เพื่อให้เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์  อยู่ดีมีสุข  จังหวัดนครศรีธรรมราช    อำเภอปากพนังได้ดำเนินการ  โครงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนแบบยั่งยืนโดยอาศัย  KM  เป็นเครื่องมือ  ในปีงบประมาณ  2550  จำนวน  51  หมู่บ้าน  ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการจัดเวทีชุมชนในพื้นที่เป้าหมาย  เพื่อเป็นการส่งเสริมความเข้มแข็งและขีดความสามารถในการพัฒนาคุณภาพชีวิต  ความเป็นอยู่ของประชาชน  ชุมชน บนพื้นฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  โดยการรวมพลังของทุกภาคส่วนในระดับท้องถิ่น โดยยึดคนเป็นหลักผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้  ประกอบด้วย  คุณอำนวยอำเภอ   คุณเอื้ออำเภอ   คุณเอื้อตำบล  คุณอำนวยตำบล  จำนวน   111  คน  เพื่อสรุปผลการจัดเวทีประชาคม  พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็น  ความต้องการของชุมชน  ปัญหา  อุปสรรคและแนวทางแก้ไข  เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานต่อไป

นายอริยะ  รังสิตสวัสดิ์   นายอำเภอปากพนัง  ประธานในพิธีเปิด  ได้กล่าวให้ข้อคิดในการทำงานของคณะทำงานทุกภาคส่วนเกี่ยวข้อง  พร้อมยอมรับความคิดเห็นของชุมชน  พร้อมทั้งแนวทางแก้ไข  เพื่อให้การดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น  ส่วนใหญ่จะแก้ไขปัญหาความยากจน  ความเป็นอยู่  ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน  และหมู่บ้านไหนยากจนจะต้องพามารักษาให้ถูกต้องสุดท้ายได้ให้ข้อคิดกับทุกคนให้ปฏิบัติ   

  • 1.       อยู่ดี  กินดี  ให้บริการประชาชนอย่างทั่วถึง
  • 2.       การยกระดับการครองชีพเพื่อสนองตอบความต้องการอย่างแท้จริง
  • 3.       มีแนวคิดหนักแน่นในการแก้ไขปัญหาของชุมชน

นางเกษร     ธานีรัตน์    รองผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดนครศรีธรรมราช   ในฐานะตัวแทนจังหวัดนครศรีธรรมราช  ตามยุทธศาสตร์ อยู่ดี  มีสุข  มีเจตนาและวัตถุประสงค์เพื่อให้กำลังใจในการทำงาน  ทุกคนจะต้องร่วมกันขับเคลื่อน ดูแล ช่วยเหลือให้ประชาชนในพื้นที่อยู่ดี  มีสุข ตามนโยบาย เพื่อให้เกิด

  • 1.       ชุมชนอินทรีย์  
  •  -          ผู้นำมีคุณภาพ
  • -          แผนชุมชน  แผนเกิดจากแนวคิด  ร่วมกันคิดและพูดคุยกัน  แผนปรับเปลี่ยนได้ให้ทันสมัยและทันเหตุการณ์
  • -          ให้จัดการความรู้เป็นเครื่องมือและแลกเปลี่ยน  เรียนรู้จากประสบการณ์   การใช้ความรู้ที่มีในตัว   จากจุดเด่น  จุดด้อย  นำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
  • -          องค์กรชุมชน  กองทุนสัจจะ  กลุ่มออมทรัพย์
  • -          การจัดการตนเองและการจัดการทรัพยากร ทรัพยากรที่มีในท้องถิ่นจะต้องรักษาไว้จะรักษาอย่างไร  และอนุรักษ์อย่างไรการอนุรักษ์ทรัพยากร  สิ่งไหนมีในชุมชนก็สมควรอนุรักษ์ไว้และร่วมกันวางแผน  ชุมชนใดมีองค์ประกอบ  5  ประการก็สามารถเป็นชุมชนอินทรีย์ได้การพัฒนาหมู่บ้านให้มีความสุขร่วมกันต้องอาศัยหลักพัฒนา
  • 1.       ให้ยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง
  • 2.       ยึดชุมชน   พื้นที่  เป็นที่ตั้ง
  • 3.       การจัดการความรู้  เป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการพัฒนา
  • 4.       ชุมชนเป็นผู้ขับเคลื่อนด้วยตนเอง
  • 5.       วิธีการดำเนินงานโดยใช้หลักบูรณาการ  ร่วมกันทำสุดท้ายปลายทางนำไปสู่
  • -          เศรษฐกิจพอเพียง
  • -          สร้างโอกาสชุมชน
  • -          ฟื้นฟูเศรษฐกิจในชุมชน  ความอุดมสมบูรณ์
  • -          ส่งเคราะห็ผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงอายุ
  • -          การบริหารขั้นพื้นฐานให้กับประชาชนการทำงานให้ชุมชนเป็นภารกิจร่วมกันเพื่อประโยชน์สูงสุดของชุมชนหาเป้าหมาย  ชุมชน  จะอยู่ดีมีสุขหรือไม่   

             นางสาวชมพู  ชุตินันทกุล    ครู ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดนครศรีธรรมราช  การจัดเวทีชุมชน

  • 1.       ค้นหาแหล่งจูงใจ  ปัญหาที่ชาวบ้านต้องการอย่างแท้จริง
  • 2.       หมู่บ้านโดดเด่นที่มีของชุมชนเข้มแข็งมีวิกฤตที่รุนแรงจึงเปลี่ยนวิกฤตให้เป็นโอกาส  เกิดแรงบันดาลใจ
  • 3.       การนำ KM  ไปใช้แต่แยกส่วน
  • 4.       ศรัทธาที่มีต่อหน่วยงาน  ขาดความต่อเนื่องและความจริงใจ  จะต้องชี้แจงและทำความเข้าใจกับชุมชน

หลังจากนั้นแต่ละตำบลได้นำเสนอสรุปการจัดเวทีชุมชนซึ่งบางหมู่บ้านได้ดำเนินการไปถึงเวทีที่ 3 แล้วก็มี  บางหมู่บ้านก็ดำเนินการ  เวทีที่ 1 และ 2  เพราะการจัดเวทีชุมชนแต่ละครั้งสภาพพื้นที่แตกต่างกันและจะต้องคำนึงถึงความต้องการของชุมชนด้วย  เพราะการทำงานจะต้องยึดคนเป็นสำคัญ  ได้นำเสนอความก้าวหน้าและสรุปสภาพปัญหาในการจัดเวทีแต่ละครั้งพร้อมแนวทางแก้ไข

นางอรวรรณ  ศรียาโยชน์  พนักงานราชการ ศบอ.ปากพนัง รายงาน

 
คำสำคัญ (Tags): #เวทีชุมชน
หมายเลขบันทึก: 105415เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2007 12:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท