แชร์เน็ตความเร็วสูงแบ่งกันใช้ในระบบเครือข่าย ตอน 1


แชร์เน็ตความเร็วสูงแบ่งกันใช้ในระบบเครือข่าย ตอน 1
 หลังจากในฉบับที่แล้ว ผมได้พูดถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่าน ADSLไปแล้วก็ได้รับเสียงตอบรับจากผู้อ่านเป็นจำนวนมาก และก็มีอีกหลายเสียงที่อยากให้ผมล้วงลึกต่อไปถึงการแชร์อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เพื่อจะได้เปิดทางให้เพื่อนๆ ที่อยู่ในระบบเครือข่ายได้มีโอกาสร่วมกันใช้อินเทอร์เน็ต ส่วนจะเป็นอย่างไรนั้นเรามาติดตามกันเลยครับ

หลังจากในฉบับที่แล้ว ผมได้พูดถึงอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่าน ADSLไปแล้วก็ได้รับเสียงตอบรับจากผู้อ่านเป็นจำนวนมาก และก็มีอีกหลายเสียงที่อยากให้ผมล้วงลึกต่อไปถึงการแชร์อินเทอร์เน็ตความเร็วสูง เพื่อจะได้เปิดทางให้เพื่อนๆ ที่อยู่ในระบบเครือข่ายได้มีโอกาสร่วมกันใช้อินเทอร์เน็ต ส่วนจะเป็นอย่างไรนั้นเรามาติดตามกันเลยครับ

ในการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านทาง ADSL ไม่ได้เจาะจงว่าจะต้องใช้กับคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งเท่านั้น แต่ยังสามารถแชร์อินเทอร์เน็ตให้กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ได้ โดยเฉพาะหากว่าคุณได้ต่อคอมพิวเตอร์ทั้งหมดเข้าด้วยกันเป็นระบบเครือข่ายอยู่แล้ว

การแชร์อินเทอร์เน็ตผ่านทางคอนเน็กชันเดียว หากเป็นการใช้งานผ่านทางโมเด็มเช่นโมเด็ม 56K อาจจะดูเหมือนเป็นการยากที่จะทำให้คอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องจะแบ่งปันแบนวิดธ์ที่มีอยู่น้อยนิด ให้สามารถใช้งานกระจายกันไปอย่างทั่วถึง แต่สำหรับอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแล้ว การแชร์เพื่อแบ่งกันใช้งานอินเทอร์เน็ตภายในระบบเครือข่าย กลับกลายเป็นเรื่องง่ายเหมือนปลอกกล้วยเข้าปาก นับเป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจ สำหรับบ้านหรือสำนักงานที่มีคอมพิวเตอร์มากกว่าหนึ่งเครื่อง (รูปที่ 1 และ 2)

รูปที่ 1 ลักษณะของการแชร์อินเทอร์เน็ตผ่านทางคอมพิวเตอร์ที่กำหนดเป็น IP Sharing ในระบบ
รูปที่ 2 การแชร์อินเทอร์เน็ต โดยผ่านทาง ADSL โมเด็มที่เป็น Rounter ในตัว

จะแชร์อินเทอร์เน็ตได้อย่างไร

การแชร์อินเทอร์เน็ตมีทางเลือกให้คุณได้ใช้งานกันอยู่สองรูปแบบ แบบแรกก็คือการใช้โมเด็ม ADSL แบบพิเศษที่มีสวิตช์อยู่ในตัว ซึ่งสามารถนำคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องมาต่อใช้งานได้เลย ซึ่งกรณีนี้มีข้อดีตรงที่ว่าไม่จำเป็นต้องเสียสละคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งเพื่อใช้ออนไลน์ตลอดเวลา เพราะแค่ต่อโมเด็มเข้ากับระบบเน็ตเวิร์ก แล้วเปิดโมเด็มทิ้งไว้ เพียงเท่านี้คอมพิวเตอร์ทุกๆ เครื่องก็จะสามารถต่อใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านทาง ADSL ได้พร้อมกัน แต่ก็ต้องพบปัญหาเรื่องที่ราคาของโมเด็มแบบที่มีฮับอยู่ในตัวนั้นมันแพงแสนแพง ซึ่งทางออกของคุณก็อาจใช้คอมพิวเตอร์สักเครื่องหนึ่ง เพื่อคอนเน็กอินเทอร์เน็ตตลอดเวลา แล้วค่อยแชร์ไปให้เครื่องอื่นๆ ซึ่งคอมพ์เครื่องนี้ยังสามารถใช้งานได้ตามปกติเหมือนเดิมนะครับ เพียงแต่ต้องไม่มีการปิดหรือรีสตาร์ทระหว่างที่มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตอยู่เท่านั้นเอง

การที่จะแชร์อินเทอร์เน็ตให้กับคอมพิวเตอร์ได้ทุกเครื่องนั้น คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต้องอยู่ในระบบเน็ตเวิร์ก ซึ่งถ้าเป็นคอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ๆ ก็คงไม่มีปัญหาอะไร เพราะส่วนใหญ่มักจะถูกติดตั้งระบบเน็ตเวิร์กมาให้ตั้งแต่โรงงาน ผู้ใช้ก็แค่หาสายเคเบิลสำหรับเน็ตเวิร์กมาใช้งานก็ได้แล้ว แต่ถ้าหากไม่มีการ์ดเน็ตเวิร์กติดตั้งมาพร้อมตั้งแต่แรก ก็จำเป็นต้องหามาติดตั้งก่อนละครับ เพื่อที่จะแชร์อินเทอร์เน็ตให้กันและกันได้ โดยการติดตั้งเน็ตเวิร์กนั้น ในที่นี้คงไม่ได้พูดถึง เพราะได้เคยว่ากันไปแล้วในคอมพิวเตอร์.ทูเดย์

แชร์อินเทอร์เน็ตด้วยวินโดวส์เอ็กซ์พี

ในความเป็นจริงแล้วคงไม่ใช่เฉพาะวินโดวส์เอ็กซ์พีเท่านั้นที่สามารถแชร์อินเทอร์เน็ตได้ เพราะสามารถใช้วินโดวส์แชร์อินเทอร์เน็ตมาตั้งแต่เวอร์ชัน 98 แล้ว เพียงในวินโดวส์เอ็กซ์พีจะเป็นฟีเจอร์เหล่านี้ให้มาเลยตั้งแต่ติดตั้ง ส่วนวินโดวส์ 98 และ Me นั้นจำเป็นต้องเลือกการติดเพิ่มเติมเข้าไปอีก งานนี้เอ็กซ์พีเลยมีข้อได้เปรียบมากกว่า แต่ถ้าใครคิดว่าวินโดวส์เอ็กซ์พี มีความเสียงต่อไวรัสสูง อาจจะใช้วินโดวส์ 98 หรือว่า ME แทนก็ได้ เพื่อที่จะได้สกัดกั้นปัญหานี้ไว้ก่อน

ความสามารถในการแชร์อินเทอร์เน็ตในวินโดวส์เอ็กซ์พี นี้เรียกว่า Internet Connection Sharing ซึ่งการใช้งานก็ไม่ยาก (แต่ก่อนอื่นต้องติดตั้งไดรเวอร์สำหรับ ADSL เอาไว้ให้เรียบร้อยก่อน) เริ่มต้นก็ให้คุณเปิด My Network Places ขึ้นมา จากนั้นก็เลือกที่ View Network Connections ก็จะเห็นว่ามีไอคอนสำหรับเน็ตเวิร์กคอนเน็กชันอยู่หลายๆ อัน แต่ที่จะให้ความสนใจ ก็คงเป็นไอคอนสำหรับ ADSL อันเดียวเท่านั้น
รูปที่ 3 แสดงรายละเอียด Internet
Connection Sharing

จากนั้นก็ให้คลิ้กขวาที่ไอคอนนี้ แล้วเลือกที่ Properties ก็จะปรากฏหน้าต่าง Properties ของคอนเน็กชันนี้ขึ้นมา ให้พิจารณาดูที่แท็ป Advanced ซึ่งภายใต้หัวข้อนี้จะพบว่ามีส่วนให้เลือกใช้งานอยู่ 2 ส่วน ด้านบนเป็น Internet Connection Firewall สำหรับใช้เป็น Personal Firewall ส่วนตัวที่ไว้ป้องกันไม่ให้เกิดการบุกรุกเข้ามายังเครื่องจากไวรัส หรือว่าอื่นๆ ส่วนที่สองเป็นสิ่งที่เราสนใจครับ นั่นก็คือ Internet Connection Sharing ซึ่งหากเราต้องการแชร์การใช้งานอินเทอร์เน็ตก็ให้คลิ้กเลือกที่หัวข้อนี้ จากนั้นก็จะปรากฏหัวข้อให้เลือกเพิ่มขึ้น สำหรับกำหนดการทำงาน (รูปที่ 3)

  • Allow other network users to connect through this computer’s Internet Connection คือการกำหนดให้เครื่องคอมพิวเตอร์นี้ยอมให้คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ สามารถคอนเน็กอินเทอร์เน็ตผ่านทางอินเทอร์เน็ตคอนเน็กชันได้
  • Establish a dial-up connection whenever a computer on my network attempts to access the internet หมายถึงยอมให้เครื่องที่ต่อผ่านอยู่ สามารถเรียกใช้งานไดอัลอันได้โดยตรง
  • Allow other network users to control or disable the shared internet connection จะยอมให้เครื่องลูกข่ายสามารถปิดการแชร์ที่อยู่ในเครื่องได้ ซึ่งเราต้องการแชร์อินเทอร์เน็ตเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ดังนั้น ในหัวข้อที่สองและสาม ก็ไม่จำเป็นต้องกำหนดค่าในการทำงานก็ได้

    เพียงเท่านี้คอมพิวเตอร์ของคุณก็จะพร้อมสำหรับการการแชร์อินเทอร์เน็ตให้กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ที่ต่ออยู่ในระบบแล้วครับ เรามาดูกันว่าจะกำหนดการทำงานให้กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ได้อย่างไร
  • อ้างอิงข้อมูลจาก : bcoms.net , computer.today

    หมายเลขบันทึก: 105203เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2007 17:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (0)

    ไม่มีความเห็น

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท