โครงการศึกษาและพัฒนานโยบายฯ


แนะนำภาพรวมงานวิจัยและพัฒนานโยบาย........

 

โครงการ ศึกษาและพัฒนานโยบายที่เอื้อต่อการทำกิจกรรมเพื่อสังคมของเด็กและเยาวชน 

หลักการและเหตุผล  

จากบทเรียนโครงการกิจกรรมจำนวนมากมายในประเทศไทยซึ่งส่งเสริมโดยรัฐ การทำกิจกรรมเพื่อนำเอาข้อเสนอแนะจากเด็กและเยาวชนไปแปรเป็นนโยบายที่ส่งผลต่อเด็กและเยาวชนนั้น ยังไม่ถูกรวบรวมให้มองเห็นภาพรวม ยังเป็นการแยกส่วนซึ่งถูกรับผิดชอบโดยแต่ละหน่วยงาน และนโยบายหลายๆส่วนยังไม่มีความชัดเจนในด้านการสนับสนุนเด็กและเยาวชนให้ออกมาทำกิจกรรมเพื่อสังคม อันจะเกี่ยวข้องกับการพัฒนาตนเองและผู้อื่น  ซึ่งมาตรการและนโยบายที่ไม่ชัดเจน และไม่เห็นภาพรวมนี้เอง ทำให้ผู้บริหารหลายระดับมองเห็นความสำคัญของการพัฒนาเด็กและเยาวชนเป็นเรื่องรองจากการพัฒนาด้านอื่นๆ  โครงการ เยาวชนไทยไม่ทอดทิ้งสังคม เล็งเห็นถึงโอกาสอันดีที่จะได้รวบรวมนโยบาย จึงมีโครงการที่จะรวบรวมและศึกษาภาพรวมของนโยบายในประเทศไทย ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่ส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนของชาติ รวมถึงการจัดทำข้อเสนอแนะไปสู่เวทีต่างๆในระดับนโยบาย เพื่อประสานแผนงาน ยุทธศาสตร์ ต่างๆที่มีอยู่แล้วให้เกิดขึ้นทางปฏิบัติและเพื่อสร้างความยั่งยืนต่อไปในอนาคต  

วิสัยทัศน์ของแผนระยะยาว  
นโยบายและกลไกทุกระดับ เอื้อต่อการทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาตนเองและผู้อื่นของเด็กและเยาวชน  ในช่วงอายุ 15 22 ปี 

 เป้าหมายของโครงการในปี 2550 
จัดทำข้อมูลเพื่อเสนอให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถนำเอากลไก รูปแบบ และโครงการสร้างระบบจัดการไปปรับใช้เพื่อการดำเนินการได้ในพื้นที่  

ภายใต้การศึกษา 4 สมมุติฐาน ดังนี้         
1. เอ๊ะ
! ทำกิจกรรมดีจริงเหรอ?         
2. เอ๊ะ
! มีเยาวชนอยากทำกิจกรรม, เอ๊ะ แล้วอยากทำอะไร(Need Assessment)?         
3. เอ๊ะ
! ช่องทาง กลไก ที่มีนั้นเอื้อต่อการทำกิจกรรม เหมาะสม เพียงพอ แล้วหรือยัง?         
4. เอ๊ะ
! จะดำเนินการทำอย่างไรดี? 

วัตถุประสงค์  
1.     ศึกษากระบวนการกิจกรรมและความสนใจในการทำกิจกรรมของเด็กและเยาวชนใน 20 ตำบลและพื้นที่ที่ดำเนินโครงการ
2.     ศึกษาและพัฒนากลไก ช่องทาง ระบบสนับสนุนที่เหมาะสมต่อการกิจกรรมของเด็กและเยาวชนใน 20 ตำบล
3.     จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย        

กลุ่มเป้าหมายที่จะทำการศึกษา 

  1. คณะทำงานโครงการเยาวชนไทยไม่ทอดทิ้งสังคม ส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค                
  2. หน่วยงาน/องค์กร ที่มีบทบาท และภารกิจรับผิดชอบเรื่องนโยบายในทุกระดับ โดยเน้นไปที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

               2.1             อบต.นำร่อง 20 อบต. (10 อบต.ที่ทำงานโครงการกับสท. และ 10 อบต.ในแต่ละ NODE)พื้นที่ 10 ตำบล ที่ดำเนินการกับ สท. มีดังนี้
1.     ต. สันมหาพน อ.แม่เตง จ.เชียงใหม่
2.     ต. ป่ามะม่วง อ.เมืองตาก จ.ตาก
3.     ต.สองแคว อ.ตรวน จ. อุตรดิตถ์
4.     ต.ดอนยายหอม อ. เมือง จ.นครปฐม
5.     ต.หัวปลวก อ.เสาให้ จ.สระบุรี
6.     ต.บางเดือน อ.พุนพิน จ.สุราษฏร์ธานี
7.     ต.ควนสตอ อ.ควนโดน จ.สตูล
8.     ต.กุดไห อ.กุดบาก จ.สกลนคร
9.     ต.เสิงสาง อ.เสิงสาง จ.นครราชสีมา
10. ต.กุดรัง อ.กุดดัง จ.มหาสารคาม

            2.เยาวชนทั่วไป ที่เข้าร่วม และไม่ได้เข้าร่วมโครงการ ทั้งในพื้นที่ของอบต.เป้าหมายและนอกพื้นที่อบต.

- เยาวชนทั่วไป ได้แก่ เยาวชนทั่วไป ที่ NODE เจอในงานโรดโชว์, เยาวชนตามชุมชน, กศน., เยาวชนชาวไทยภูเขา กลุ่มที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ, แกนนำเยาวชนทั่วไป, สภาเด็กและเยาวชน 

 แนวทางการดำเนินงาน  

1.การบริหารจัดการ
-          เดินทางประชุมและติดต่อประสานงาน
-          ประสานการจัดประชุมของแผนงาน
-          ประสานการทำรายงานวิจัยและติดตามลงพื้นที่
-          บริหารจัดการงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุน 

2.การทำงานด้านวิชาการและข้อมูล (แนวทางการบริหารโครงการปี 50)
-          ประชุมเตรียมประเด็นวิจัย กับนักวิชาการที่ทำงานวิจัยด้านเยาวชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
-          วิจัย/ ติดตามประเมินผล ตามประเด็นวิจัย
-          ติดตามความก้าวหน้าของโครงการ
-          ประเมินผลโครงการ
-          สังเคราะห์ข้อมูล และเตรียมรายงานวิจัย
-          เตรียมเวทีวิพากษ์งานวิจัย
-          จัดเวทีวิพากษ์งานวิจัย เพื่อนำเสนอผลงานสู่สาธารณะ
-          จัดทำรายงานข้อเสนอเชิงนโยบาย
-          จัดทำรายงานวิจัย 

ทิศทางการทำงานวิจัยในภาพรวม        
1.     เก็บ รวบรวม ศึกษาและค้นคว้าข้อมูล ทั้งข้อมูลเดิมและข้อมูลใหม่ก.     เชิงปริมาณ ข.     เชิงคุณภาพกระบวนการที่ใช้ ได้แก่         
1.1 แบบสอบถาม                                      
1.2 สัมภาษณ์กลุ่มใหญ่, ย่อย
                                      
1.3 สัมภาษณ์รายบุคคล      

2.     ออกแบบกระบวนการศึกษาข้อมูล/ กำหนดกลุ่มคนที่จะลงไปเก็บก.     เยาวชนทั่วไปข.     เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการค.     อบต.ที่ดำเนินงานด้านเยาวชนภายใต้โครงการนำร่องต่างๆ
3.     รวบรวมข้อมูลเป็นข้อมูลดิบชุดต่างๆ
4.     ประสานข้อมูลงานวิจัย กับนักวิชาการส่วนอื่นๆ  เรื่องงานแผนวิจัยที่มี
5.     นำเสนอข้อมูลดิบ เพื่อประมวลและสังเคราะห์ข้อมูล
6.     นำข้อมูลไปสื่อสารกับสาธารณะและระดับนโยบาย 

·        ประเด็นการศึกษาวิจัย (ศึกษาวิจัยต่อเนื่อง ปี 2550 2551)
1.      ศึกษาความต้องการทำกิจกรรมเพื่อสังคมของเด็กและเยาวชน (Need assessment)
2.      ศึกษาระบบ กลไก สนับสนุนที่เหมาะสมต่อการทำกิจกรรมเพื่อสังคมของเด็กและเยาวชน
3.      ศึกษาหารูปแบบกิจกรรมในการเสริมพลัง (Empowerment) เพื่อสนับสนุนให้เยาวชนสามารถทำกิจกรรม ฯ ได้อย่างมีประสิทธิผล ทั้งเรื่องของ ช่องทาง กลไก วิธีการดำเนินการที่มีอยู่แล้ว และสิ่งที่ได้เรียนรู้จากโครงการ ซึ่งน่าจะเกิดขึ้น
4.      ศึกษาผลที่ได้(output) และผลลัพธ์ (outcome) จากการทำกิจกรรมเพื่อสังคมของเด็กและเยาวชน (การเปลี่ยนแปลงในเรื่องทัศนคติ กระบวนการคิด วิธีการ และความเป็นอยู่)
5.      ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อสร้างจุดเปลี่ยนทางสังคม หรือผลักดันให้เกิดช่องทางของนโยบายที่เอื้อต่อการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชน โดยเด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมอย่างแท้จริงในทุกระดับ โดยเน้นไปที่การส่งเสริมการดำเนินการในระดับท้องถิ่น อย่างยั่งยืน เช่น การส่งเสริมให้มีกลไกสนับสนุนกิจกรรมเด็กและเยาวชน ในระดับกระทรวง และระดับท้องถิ่น

การเชื่อมงานกับแผนส่วนต่างๆ
-         แผน KM จะช่วยติดตามประสานให้ได้เนื้อหาข้อมูล ใน เอ๊ะ๑
-         แผน KM จะช่วยได้ในข้อที่ 4 สร้างเวทีแลกเปลี่ยน วางคำถาม และดึงเนื้อหาออกมา และข้อ1 ช่วยมองการพัฒนา case
-         ทีม Network จะช่วยดูเนื้อหาเอ๊ะที่ 3 ในภาพรวมและจะช่วยดูเนื้อหา แบบสอบถามร่วมกันกับ RP และ KM
-         NODE สอบถามผ่านแบบสอบถาม และสัมภาษณ์เชิงลึกกับเยาวชนในพื้นที่และอบต.ในพื้นที่ 1 อบต.

พันธกิจของทีมวิจัย
  • เก็บ รวบรวม ศึกษาและค้นคว้าข้อมูล ทั้งข้อมูลเดิมและข้อมูลใหม่
  • ออกแบบกระบวนการศึกษาข้อมูล/ กำหนดกลุ่มคนที่จะลงไปเก็บ ติดตามการเก็บข้อมูลของ node ในพื้นที่และเชื่อมกับแผนอื่นๆ
  • ประสานข้อมูลงานวิจัย กับนักวิชาการท่านอื่นๆเรื่องงานวิจัยเดิมที่มีอยู่
  • นำเสนอข้อมูลดิบ เพื่อประมวลและสังเคราะห์ข้อมูล ประมวลข้อมูลต่างๆ เพื่อนำมาสังเคราะห์ และนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป
  • นำข้อมูลไปสื่อสารกับสาธารณะและระดับนโยบาย
 พันธกิจของNODE ต่องานวิจัย
  • เก็บ รวบรวม ศึกษาและค้นคว้าข้อมูล ทั้งข้อมูลเดิมและข้อมูลใหม่ ในพื้นที่อบต.ที่ NODE เลือก และกับเยาวชนทั่วไป เยาวชนที่ดำเนินงานในโครงการ ทั้งแบบสอบถามและสัมภาษณ์เชิงลึก
  • ประสานข้อมูลงานวิจัย เพื่อติดตามการเก็บข้อมูลในพื้นที่ และหนุนเสริมทักษะ เนื้อหาที่ขาดร่วมกัน
 ผลที่คาดว่าจะได้รับ ปี2550
  1. มีผลการศึกษาความต้องการในการทำกิจกรรมของเด็กและเยาวชน
  2. มีรูปแบบกลไกสนับสนุนกิจกรรมเยาวชนที่เหมาะสมในระดับท้องถิ่น เพื่อก่อให้เกิดกลไกสนับสนุนกิจกรรมเยาวชนเพื่อสังคมในเบื้องต้น
  3. มีรูปแบบกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างพลังแก่เด็กและเยาวชน (Empowerment)
  4. มี 20 องค์การบริหารส่วนตำบลนำร่อง ที่สามารถนำกลไกที่เกิดขึ้นจากการวิจัยไปใช้ในพื้นที่

คณะที่ปรึกษาทีมวิจัย
1. คุณศรีศักดิ์ ไทยอารี                   ผู้อำนวยการ สภาองค์การพัฒนาเด็กและเยาวชน
2. คุณสมชาย เจริญอำนวยสุข         รองผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพ และพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการและผู้อายุ (สท.)
3. คุณอุษณี กังวารจิตต์                 ผอ. สำนักส่งเสริมและพิทักษ์เยาวชน
4. คุณสุกัญญา เวชศิลป์                 หัวหน้ากลุ่มมาตรการและกลไก สำนักส่งเสริมและพิทักษ์เยาวชน
5. ผศ.รุจน์ โกมลบุตร                     คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
6. อ.อาภา วรรณฉวี                       ผอ.สถาบันวิจัย ม.สมเด็จเจ้าพระยา
7. รศ.ดร.กุศล  สุนทรธาดา             สถาบันวิจัยประชากรและสังคม ม.มหิดล

 

หมายเลขบันทึก: 104980เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2007 20:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 19:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

รบกวนช่วยดูหัวข้อ "นัดแนะตกลงเรื่องการใช้ blog ครับ"  ด้วยนะครับ

 

ผมกะลังมี idea ว่าน่าชวนที่ปรึกษาทีมวิจัยทั้งหมด มาเป็นที่ปรึกษาโครงการนะ เพราะจะได้ให้คำปรึกษาในภาพรวมของโครงการด้วย ไม่รู้เต้าเห็นไง

เห็นด้วยครับ
เพราะที่ปรึกษาแต่ละคนก็เป็นคนที่
น่าจะช่วยดูภาพรวมของโครงการได้
เป็นอย่างดี

เนื่องจากดิฉัน กำลังจะทำคันคว้างานวิจัยที่เกี่ยวกับเรื่องของการจัดกิจกรรมสำหรับเด็กและเยาวชน ไม่ทราบว่างานวิจัยชิ้นนี้ ทางคณะผู้วิจัยได้เผยแพร่ทางไหนบ้างคะ เพื่อดิฉันจะได้ศึกษาได้ ขอความอนุเคราะห์ตอบกลับจักขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท