พระพุทธเจ้า 10 ชาติ


เอาไว้เป็นความรู้เพิ่มเติม ชาติที่ 2
ชาติที่ 2 พระมหาชนก
     เมื่อครั้งอดีตกาลนานมาแล้ว พระมหาชนกนั้นเป็นกษัตริย์ผู้ครองเมืองมิถิลา
     
พระมหาชนกมีพระโอรส ๒ พระองค์คือ พระอริฏฐชนก และพระโปลชนก ซึ่งพระราชโอรสองค์โตนั้นได้ทรงดำรงตำแหน่งอุปราชผู้มีสิทธิ์ขึ้นครองราชบัลลังก์สืบต่อไป
     
ส่วนพระโปลชนกโอรสองค์รองนั้นดำรงตำแหน่งเสนาบดีวัง
     
กาลต่อมาเมื่อพระมหาชนกเสด็จสวรรคตแล้วพระอุปราชอริฏฐชนกก็ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์องค์ใหม่ของเมืองมิถิลา และได้ทรงสถาปนาแต่งตั้งพระอนุชาให้ดำรงอยู่ในตำแหน่งอุปราชต่อไป
     
พระเจ้าอริฏฐชจกนั้นแต่เดิมก็มีความรักใคร่กลมเกลียวกันดีกับพระอนุชาโปลชนก แต่ทว่าเมื่อดำรงอยู่ในตำแหน่งพระราชาแล้วก็ได้ถูกบรรดาเสนาอำมาตย์มุขมนตรีฝ่ายคนชั่วพากันประจบสอพลอ
     
และเท็ดทูลยุยงพระราชาอยู่เสมอเพื่อหวังความดีความชอบกลั่นแกล้งคนดี จนกระทั่งพระเจ้าอริภฐชนกนั้นก็ทรงเชื่อด้วยความหูเบา มิได้ใคร่ครวญด้วยพระองค์เองเสียก่อน
     
แม้กระทั่งพระอนุชาโปลชนกผู้เป็นอุปikชก็ยังถูกยุยงจากบรรดาเสนาชั่วกล่าวหาว่า พระอุปราชนั้นคิดการกบฏหมายจะลอบปลงพระชนม์เพื่อชิงราชบัลลังก์
     
แต่แรกนั้นพระเจ้าอริฎฐชนกก็มิทรงเชื่อ แต่ทว่าเมื่อมีการยุยงเพ็ดทูลครั้งแล้วครั้งเล่า พระเจ้าอริฏฐชนกก็เริ่มที่จะเชื่อฟังในคำเพ็ดทูลนั้น
     
ในที่สุดพระเจ้าอริฏฐชนกจึงได้ทรงมีพระราชโองการให้จับตัวพระอุปราชโปลชนกไปคุมขังไว้ โดยที่มิได้มีการตั้งข้อหาความผิดอย่างชัดแจ้งนัก
     
ฝ่ายพระอุปราชโปลชนกนั้นก็บังเกิดความน้อยเนื้อต่ำใจเป็นยิ่งนัก ที่แม้กระทั่งความสัมพันธ์ระหว่างพี่น้องก็ยังคลอนแคลนไปได้ด้วยเพราะความหูเบาเชื่อในคำยุยงส่งเสริมของพวกประจบสอพลอ
     
ขณะที่อยู่ในห้องคุมขัง พระโปลชนกก็ทรงตั้งสัตย์อธิฐานต่อเทพยดาฟ้าดินและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ว่า
      “
ข้าพเจ้านั้นมิได้เคยมีความคิดที่จะมุ่งร้ายต่อพระเชษฐาเลยแม้แต่น้อย แต่กลับถูกลงโทษทั้งที่ไม่มีความผิดเช่นนี้ด้วยจิตใจอันบริสุทธิ์และสัตย์ซื่อของข้าพเจ้า ขอให้พระเสื้อเมือง พระทรงเมือง
     
และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย จึงดลบันดาลให้ข้าพเจ้าหลุดพ้นจากโซ่ตรวนขื่อคาทั้งปวงนี้ด้วยเถิด
     
ครั้นสิ้นคำอธิฐานนั้นก็เกิดอัศจรรย์ขึ้นในทันใดบรรดาโซ่ตรวนขื่อคาอันเป็นเครื่องจองจำทั้งปวงนั้นก็ได้หลุดออกจากพระวรกายของพระโปลชนกอย่างง่ายดาย อีกทั้งประตูเรือนจำที่ลั่นดาลไว้แน่นหนาก็สามารถเปิดออกเองได้
     
พระโปลชนกจึงหลบหนีออกจากที่คุมขังไปยังนอกเมือง คอยซุ่มซ่อนตัวอยู่บริเวณชายแดนและรวบรวมกำลังคนไว้เป็นอันมาก
      บรรดาเสนาอำมาตย์ฝ่ายที่เป็นคนดี เมื่อได้ล่วงรู้ว่าพระโปลชนกหนีออกไปได้ก็พากันออกจากราชสำนักติดตามไปร่วมผนึกกำลังด้วย
     
บรรดาชายฉกรรจ์ที่เป็นสามัญชนคนธรรมดาและล่วงรู้ความเป็นไปของการถูกกลั่นแกล้งใส่ร้ายพระอุปราชนั้น ก็พากันชักชวนไปขอสมัครเป็นพรรคพวกของพระโปลชนกจนกระทั่งกำลังคนนั้นมีเพิ่มพูนแข็งแกร่งมากขึ้น
     
ทางฝ่ายเสนาอำมาตย์ฝ่ายคนชั่วนั้นก็ได้ทราบข่าวการตั้งกองกำลังคนอย่างลับๆ ของพระโปลชนก และได้กราบทูลให้พระอริฏฐชนกได้ทรงทราบ แต่ทว่าทางมิถิลานครก็มิกล้าที่จะส่งกองกำลังไป
     
ปราบปรามด้วยเกรงว่าจะเกิดศึกสงครามกลางเมืองขึ้นอีก ทั้งยังเกิดความขลาดมิกล้าจะยกทัพไปปราบปรามด้วยเพราะเกรงกองกำลังอันแข็งแกร่ง และฝีมือในการรบของพระโปลชนก
     
ในเวลาต่อมาพระโปลชนกจึงยกกองทัพเข้ามาประชิดติดมิถิลานคร แล้วก็ส่งสาสน์ออกไปท้าพระเชษฐาผู้เป็นกษัตริย์ออกไปชนช้างด้วยกัน
     
พระอริฏฐชนกได้ทรงตระหนักดีว่าการศึกครั้งนี้เห็นทีจะเกิดความพ่ายแพ้พระอนุชาของพระองค์เป็นแน่ ด้วยเพราะตระหนักดีว่าพระอนุชาโปลชนกนั้นได้ซ่องสุมเตรียมกำลังพลไว้เป็นช้านาน กับอีกทั้งได้แบกความแค้นเคืองไว้เป็นเวลานานแล้ว
     
ในเวลานั้นพระอัครมเหสีของพระอริฏฐชนกกำลังทรงพระครรภ์อยู่ พระอริฏฐชนกจึงทรงตรัสสั่งเสียพระอัครมเหสีด้วยความเป็นห่วงเป็นใยยิ่งนักว่า
     “
หากแม้ในการศึกครั้งนี้พี่ต้องพ่ายแพ้แก่อนุชาของพี่เอง ขอให้น้องหญิงจงดูแลรักษาครรภ์และดูแลลูกของเราให้จงดีเถิดพระอัครมเหสีแม้จะทรงสังหรณ์พระทัยแต่ก็มิสามารถที่จะทัดทานอันใดได้ ซึ่งในที่สุดการศึกครั้งนั้นพระเจ้าอริฏฐชนกก็ถูกพระอนุชาโปลชนกประหารสิ้นพระชนม์บนคอช้างนั้นเอง
     
ขณะที่การศึกสงครามกำลังดำเนินไป บรรดากองทัพใหญ่ของพระโปลชนกก็บุกเข้ายึดนครมิถิลา บรรดาชาวบ้านชาวเมืองและไพร่พลทั้งปวงต่างก็แตกกระจัดกระจายหนีข้าศึกออกนอกเมืองไปกันเป็นอันมาก
     
พระอัครมเหสีนั้นทรงปลอมพระองค์ด้วยเสื้อผ้าเก่าๆ ขาดๆอุ้มท้องพลางร้องห่มร้องไห้หลบหนีออกจากพระราชวังปะปนไปกับชาวบ้านชาวเมืองด้วยความเด็ดเดี่ยว แม้จะเสียขวัญเพียงใดก็ตาม
     
พระนางเทวีนั้นทรงดำริว่าจะมุ่งไปยังเมืองกาลจัมปาหาทางพำนักพักอยู่ที่นั่นจนกว่าจะมีพระประสูติกาล ด้วยความเหน็ดเหนื่อยตรากตรำและอิดโรยเป็นยิ่งนัก พระนางเทวีจึงได้เข้าไปพัก ณ ศาลาริมทางแห่งหนึ่ง พร้อมกับความวิตกกังวลในใจด้วยมิรู้ว่าหนทางสู่เมืองกาลจัมปานั้นอยู่แห่งใดกันแน่
     
เวลานั้นพระอินทร์ผู้เป็นใหญ่ในสรวงสวรรค์จู่ๆ ก็ให้บังเกิดร้อนอาสน์ จึงเล็งทิพยเนตรส่องดูก็รู้ได้ว่าพระกุมารในพระครรภ์ของพระเทวีนั้นเป็นพระโพธิสัตว์ผู้เปี่ยมด้วยบุญญาธิการสูงส่งนัก จึงจำเป็นต้องให้ความอนุเคราะห์ช่วยเหลือเกื้อกูลแก่พระนางเทวี
     
พระอินทร์จึงนิรมิตองค์เป็นผู้เฒ่าขับเกวียนผ่านมา และอาสานำพระนางเทวีผู้ทรงพระครรภ์แก่แล้วเดินทางสู่เมืองกาลจัมปาในบัดดล
     
ครั้นถึงเมืองกาลจัมปาแล้วพระอินทร์ในร่างผู้เฒ่าก็ผละจากไป พระนางเทวีจึงได้เข้าไปนั่งพักในศาลาหน้าเมืองเพื่อคิดอ่านว่าจะทำการอันใดต่อไปในเมืองที่มิรู้จักผู้ใดเลยนี้
     
ในขณะนั้นเองได้มีพระอาจารย์ผู้หนึ่งซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวเมืองกาลจัมปาได้ผ่านศาลานั้นพร้อมกับลูกศิษย์จำนวนหนึ่ง
     
ครั้นเมื่อเห็นสตรีท้องแก่ผู้หนึ่งนั่งอยู่ในศาลาด้วยท่าทางอิดโรยเหนื่อยยาก ทั้งๆ ที่มีรูปโฉมงดงามผิวพรรณผุดผ่องราวกับเป็นคนมีเชื้อชาติดีมีสกุล แม้จะอยู่ในเสื้อผ้าที่เก่าขาดและมอมแมมเพียงใดแต่ก็มีรัศมีเปล่งประกายดูประหลาดยิ่งนัก
     
พระอาจารย์จึงได้เข้าไปสอบถาม พระนางเทวีจึงได้บอกกล่าวเล่าว่า
      “
ตัวข้าพเจ้านั้นต้องอุ้มท้องหนีภัยจากข้าศึกระเหเรร่อนมาตามลำพังด้วยเพราะว่าเป็นสามีนั้นตายเสียแล้ว
พระอาจารย์มีความเวทนาสงสารจึงได้ชักชวนพระนางเทวีไปพำนักพักอยู่ด้วยที่บ้านของตน
     
พระนางเทวีเห็นว่าพระอาจารย์นั้นมีลักษณะเป็นคนดีน่าเลื่อมใส จึงได้ตกลงติดตามพระอาจารย์ไปพำนักพักอยู่ที่บ้านเมืองของพระอาจารย์ด้วยโดยพระอาจารย์ได้บอกแก่ลูกศิษย์ลูกหาทั้งปวงว่าสรีท้องแก่ผู้นี้เป็นญาติผู้น้องของตน
ไม่กี่เดือนต่อมาพระนางเทวีก็คลอดพระกุมารน้อยออกมาเป็นทารกชายผู้มีผิวพรรณหมดจดงดงามเป็นยิ่งนัก พระนางเทวีจึงได้ตั้งพระนามพระราชกุมารน้อยว่าพระมหาชนก
     
ครั้นเมื่อพระมหาชนกเจริญวัยขึ้นก็ได้เล่นกับเด็กๆ เพื่อนบ้านในละแวกนั้น
     
ครั้งหนึ่งมีเด็กคนหนึ่งคิดรังแกพระมหาชนกด้วยความคะนองแต่พระมหาชนกก็ต่อสู้เอาชนะได้ เด็กที่แพ้นั้นจึงไปร้องไห้ฟ้องพ่อแม่ว่าถูกเด็กที่ไม่มีพ่อรังแกเอา เมื่อพระมหาชนกได้ฟังเช่นนั้นจึงไปซักไซร้ไล่เลียงพระราชมารดาว่า ใครเป็นบิดาของตน
     
พระนางเทวีจึงแสร้งปดว่าท่านลุงอาจารย์นั้นแหละคือบิดาของพระมหาชนก แต่แรกนั้นพระมหาชนกทรงเชื่อ แต่ครั้นพวกเด็กๆและชาวบ้านยังล้อเลียนว่าเป็นเด็กไม่มีพ่อเช่นนั้นก็เกิดความคลางแคลงสงสัย แต่ด้วยความที่ทรงมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด แม้คาดคั้นเอาจากพระมารดาก็คงมิสามารถที่จะได้คำตอบอันแท้จริงแน่พระมหาชนกจึงใช้อุบายถามมารดาในวันหนึ่งขณะที่กำลังกินนมจากพระมารดาว่า
ท่านแม่จ๋า บิดาของลูกเป็นใครขอให้บอกความจริงมาเถิดพระนางเทวีจึงแสร้งว่า
ก็แม่บอกลูกแล้วไงว่า ท่านอาจารย์นั่นแหละคือบิดาของลูกพระมหาชนกได้ยินเช่นนั้นก็กล่าวว่า
เแต่แม่ให้ลูกเรียกท่านอาจารย์ว่าลุงเสมอมานี่น่า หากท่านแม่ไม่บอกความจริงแก่ลูกๆ จะกัดหัวนมแม่ให้ขาดเดี๋ยวนี้
     
ว่าแล้วพระกุมารน้อยก็แกล้งใช้ฟันขบนมมารดาให้แรงกว่าเดิม พระนางเทวีบังเกิดความเจ็บและกลัวลูกจะกัดแรงขึ้นกว่าเก่า จึงจำต้องบอกเล่าความจริงทั้งหมดให้พระกุมารน้อยทราบโดยละเอียด
     
เมื่อพระมหาชนกทราบเรื่องราวเช่นนั้น จึงมีขวัญกำลังใจมากขึ้นและมิทรงโกรธกริ้วเด็กๆ เพื่อนบ้านที่ล้อเลียนว่าเป็นลูกไม่มีพ่ออีก
     
นับจากนั้นพระกุมารน้อยได้มุมานะศึกษาเล่าเรียนในวิชาการทุกแขนงมิว่าจะเป็นอักษรศาสตร์ ศิลปศาสตร์ และยุทธศาสตร์การต่อสู้ทั้งหมดทั้งมวลจนครบ ๑๘ ประการ
     
เมื่อเรียนจบครบสิ้นทุกกระบวนความแล้ว ขณะนั้นพระมหาชนกมีพระชนมายุได้ ๑๖ พรรษา มีความสง่างามเยี่ยงหน่อเนื้อเชื้อกษัตริย์โดยแท้
     
พระมหาชนกได้กราบทูลต่อพระราชมารดาว่าพระองค์นั้นมีความมุ่งมั่นตั้งใจจะไปยังเมืองมิถิลาเพื่อชิงราชบัลลังก์คืนเป็นการแก้แค้นแก่พระราชบิดาของตน
พระนางเทวีจึงได้มอบสมบัติอันมีค่าที่นำติดตัวซุกซ่อนมาจากมิถิลานครให้แก่พระโอรสอันมี
     
แก้ววิเชียรดวงหนึ่ง
     
แก้วมณีดวงหนึ่ง
     
แก้วมุกดาดวงหนึ่ง
     
พระนางเทวีต้องการให้โอรสนำแก้วอันล้ำค่าทั้ง ๓ ดวงนั้นไปขายเพื่อเป็นทุนในการซ่องสุมกำลังผู้คน แต่ทว่าพระมหาชนกไม่ยินยอมที่จะรับแก้วทั้ง ๓ ดวงนี้ไป พระนางเทวีจึงได้นำเงินทองออกมาให้พระราชโอรสเตรียมซื้อสำเภากับสินค้าเพื่อล่องเดินทางไปเช่นเดียวกับพวกพ่อค้าทางเรืออื่นๆ
     “
ลูกรักของแม่เอ๋ย เจ้าอยากไปมิถิลานครก็ขอให้เจ้าจงเดินทางโดยสวัสดิภาพเถิด แต่อย่าคิดจองเวรจองกรรมแก้แค้นหรือชิงราชบัลลังก์คืนเลยนะลูกแม่
     
พระมหาชนกจึงกราบทูลพระมารดาว่าตนขอเดินทางครั้งนี้เพียงครั้งเดียวเท่านั้นก็ด้วยหวังจะเดินทางท่องเที่ยวผจญภัย เผชิญโลกกว้างตามประสาลูกผู้ชายคนหนึ่งเท่านั้น ครั้นเมื่อพระมหาชนกออกเรือเดินทางไปได้ ๗ วัน ๗ คืนแล้ว ก็ปรากฏมรสุมใหญ่ที่กลางทะเลโหมกระหน่ำทำให้เรือบรรทุกสินค้าอับปางลง ท่ามกลางเสียงร้องคร่ำครวญโหยไห้ของบรรดาลูกเรือ
     
ที่ขวัญเสียตื่นตระหนกตกอยู่ในความหวาดกลัวเมื่อรู้ว่าความตายใกล้จะมาถึงแล้ว
     
พระมหาชนกนั้นทรงตั้งสติมั่นมิได้คร่ำครวญด้วยความหวาดหวั่นเluยขวัญแต่อย่างใด
     
ทรงพยายามเสวยอาหารไว้เพื่อให้อิ่มท้องแล้วเตรียมผ้าชุบน้ำมันมานุ่งไว้เพื่อมิให้ผ้าอุ้มน้ำ แล้วพระมหาชนกก็ทรงปีนขึ้นอยู่บนยอดเสากระโดงในขณะที่เรือโคลงเคลงใกล้จะคว่ำลง
     
ครั้นเมื่อเรือคว่ำแล้วก็กระโจนจากยอดเสากระโดงไปไกลได้ถึง ๑ เส้นกับ ๑๕ วา ด้วยพละกำลังอันวิเศษจึงสามารถว่ายอยู่ห่างไกลในบริเวณที่กระแสน้ำกำลังดูดเรือจมลงไปใต้มหาสมุทร
     
ในขณะที่บรรดาผู้ลอยคออยู่กลางทะเลต่างก็เสียชีวิตไปกันหมดสิ้นแล้ว แต่ทว่าพระมหาชนกยังทรงพยายามว่ายน้ำและลอยคออยู่ได้กลางทะเลนานถึง ๗ วัน ๗ คืนเลยทีเดียว
     
ในวันที่ ๗ นั้นยังทรงระลึกได้ว่าเป็นวันอุโบสถ พระมหาชนกได้ทรงสมาทานโดยอธิฐานอุโบสถ แม้ขณะกำลังรอความตายที่ใกล้เข้ามาแทบทุกทีนั้นด้วย
     
ขณะนั้นนางเมขลาเทพธิดาแห่งท้องสมุทรผู้มีแก้วประจำตัวอยู่ ๑ ดวง ได้เห็นความอดทนของพระมหาชนกจึงได้ช่วยพระมหาชนกขึ้นจากทะเลนำไปส่งถึงพระอุทยานใหม่ของพระโปลชนกในมิถิลานคร
     
ขณะนั้นพระโปลชนกกษัตริย์แห่งมิถิลานครได้เสด็จสวรรคตไปเป็นเวลา ๗ วัน ๗ คืนแล้ว และระหว่างนั้นกำลังเป็นงานพิธีเลือกคู่ของพระราชธิดาพระองค์เดียว ซึ่งจำต้องคัดสรรหาบุรุษผู้
     
เหมาะสมมาอภิเษกสมรส เพื่อจะได้ให้ผู้มาเป็นพระสวามีขึ้นเสวยราชบัลลังก์สืบต่อมา
บรรดาเสนาอามาตย์มุขมนตรีทั้งปวงต่างก็เสนอตนเข้ามาให้พระราชธิดาเลือกคู่ แต่ทว่าก็ยังมิมีผู้ใดถูกพระทัยองค์หญิงเลยแม้แต่คนเดียว
     
ต่อมาจึงได้ป่าวประกาศออกไปทางนอกวัง ให้บรรดาคฤหบดี เศรษฐี และลูกหลานของผู้มีตระกูลทั้งปวงเข้ามาในงานพิธีเลือกคู่ แต่ทว่าองค์หญิงก็ยังมิถูกพระทัยผู้ใดอีก
     
บรรดาอำมาตย์ราชปุโรหิตผู้อาวุโสแห่งราชสำนักจึงได้กราบทูลหารือกับองค์หญิงว่า เมื่อคัดเลือกเอาตามพระทัยก็ยังมิถูกใจเช่นนี้เห็นทีจะต้องจัดพิธีบวงสรวงสังเวยเทพยดาอารักห์ของเมืองด้วยการเสี่ยงราชรถออกไป ถ้าราชรถไปเกยผู้ใดแสดงว่าผู้นั้นย่อมมีบุญ และควรแก่การอัญเชิญมาครองราชย์ต่อไป เพราะมิเช่นนั้นหากขืนรอช้าอยู่ราชบัลลังก์จะว่างไปนานมิเป็นการสมควรอย่างแน่นอน องค์หญิงจึงเห็นดีงามด้วยตามธรรมเนียมโบราณของราชสำนัก
      “
ขอให้พวกท่านได้จัดพิธีบวงสรวงเทพยดาและเสี่ยงจากราชรถตามธรรมเนียมแต่ดั้งแต่เดิมเถิด
     
เมื่อทางราชสำนักได้จัดพิธีบวงสรวงแล้วก็ปล่อยรถมงคลเทียมม้าออกไปจากราชวังในบัดดล
     
พระมหาชนกนั้นกำลังนอนพักอยู่ที่ใต้ร่มไม้ใหญ่ในอุทยานหน้าเมือง ขณะที่ราชรถแล่นเข้ามาในอุทยานและวิ่งวนรอบพระมหาชนกเป็นจำนวน ๓ รอบ จึงหยุดนิ่งสงบลงที่เบื้องปลายพระบาทของพระมหาชนก
     
บรรดาคณะอำมาตย์ราชปุโลหิตที่ติดตามราชรถมานั้น ก็สั่งให้เจ้าพนักงานประโคมดนตรีขึ้นอย่างกึกก้อง ด้วยกำหนดว่าถ้าชายผู้นี้เป็นผู้ไม่มีบุญก็จะต้องตื่นขึ้นมาพร้อมกับความตระหนกตกใจและเร่งรีบหนีไปในทันที แต่ถ้าเป็นผู้มีบุญก็จะไม่มีอาการแตกตื่นแต่อย่างใด
     
ครั้นเมื่อเจ้าพนักงานประโคมดนตรีเสียงดังกึกก้องไปทั่วอุทยานแล้ว พระมหาชนกก็สะดุ้งตื่นขึ้นเปิดผ้าคลุมหน้าออกดูเห็นมีพวกปุโรหิตและชาวบ้านชาวเมืองมากมายมารุมล้อมในอุทยาน ก็รู้ได้ทันทีว่าเกิดเหตุอันใดขึ้น พระมหาชนกจึงชักผ้าขึ้นปิดหน้านอนต่อไป
     
ราชปุโรหิตจึงได้คลานเข้าที่เบื้องปลายพระบาทเลิกผ้าคลุมออกแล้วพิจารณาดูลักษณะของพระบาทสักครู่หนึ่ง
คำสำคัญ (Tags): #ชาติที่ 2
หมายเลขบันทึก: 104011เขียนเมื่อ 17 มิถุนายน 2007 12:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2012 16:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท