RT 7 กับการพัฒนาผลิตนวัตกรรมงานด้านรังสีวินิจฉัย


อะไรที่ต้องคำนึงถึงบ้าง

วันนี้ได้เปิดโอกาสให้นักศึกษารังสีเทคนิค รุ่นที่7 มานำเสนอการค้นคว้างานวิจัยด้านรังสีเทคนิคที่ผ่านการตีพิมพ์แล้วมานำเสนอ

inno

เรื่องที่ค้นคว้ามาส่วนใหญ่จะเป็นการผลิตเกี่ยวกับนวัตกรรมด้านรังสีวินิจฉัย เช่น การสร้างสื่อการจัดท่าผู้ป่วยสำหรับการถ่ายภาพรังสีทั่วไป การสร้างอุปกรณ์ช่วยยึดจับผู้ป่วย เป็นต้น สิ่งที่ควรคิดที่จะต่อยอดความคิดในการทำต่อไปคือ

1.นักศึกษาต้องตีโจทย์ ที่มาและความสำคัญของปัญหาให้ได้ก่อน เพื่อเชื่อมโยงกับวัตถุประสงค์ ตามด้วยประโยชน์ที่ได้รับ พร้อมตีกรอบขอบเขตของเรื่องที่จะทำให้ได้ คำถามที่ควรคำนึง ทำไมต้องทำ? ทำไปทำไม? ทำแล้วมีประโยชน์อย่างไร? ทำมากน้อยเพียงไร? ทำให้ดีกว่าของเก่าอย่างไร?

2.สถิติหรือดัชนีชี้วัดความสำเร็จที่เกี่ยวข้อง ใช้อะไรบ้าง? ใช้อย่างไร? ใช้กับใคร? ใช้มากน้อยเท่าไร? มีการเปรียบเทียบใหม่กับเก่าหรือไม่? อย่างไร?

3.หากเกี่ยวข้องกับคน อย่าลืมการขอจริยธรรมในมุนษย์ ต้องคำนึงถึง

นี้คือข้อคิดในวันนี้

 

หมายเลขบันทึก: 103355เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2007 22:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • จริยธรรมในมุนษย์
  • สำคัญมากเลยนะคะ  โดยเฉพาะทางการแพทย์
  • จำประเด็นนี้ได้แม่นค่ะ เพราะตอนเรียนวิจัยลืมตอบข้อนี้ค่ะ
การขออนุญาติทางจริยธรรมมนุษย์ควรทำอย่างไรบ้างคะ

คุณ คุณปราณี

ขออภัยที่อาจตอลล่าช้า

การขอจริยธรรม ขอยกตัวอย่างที่คณะแพทย์ จะมีคณะกรรมการพิจารณาความเหมาะสมของการวิจัยว่ามีเหมาะสม เป็นธรรม ถูกต้อง ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นและอื่นๆว่ามีต่ออันตรายต่อผู้ที่เกี่ยวข้อง เพียงใด โดยต้องกรอกแบบฟอร์มคล้ายโครงร่างเพื่อประกอบการพิจารณา หากเห็นว่าเหมาะสมก็จะออกหนังสือรับรองให้ ตอนนี้มีกฎหมายออกมาคุ้มครองและบทลงโทษหากไม่ทำหรือเกิดผลเสียต่อผู้เกี่ยวข้องด้วยครับ

สำหรับงานนวัตกรรมที่คิดทำขึ้นมาจากปัญหาที่พบในช่วงระยะเวลานั้นๆๆซึ่่งได้ใช้ประโยชน์จริงแต่ถ้านำมาทำคิดเป็นจำนวนเชิงปริมาณนั้นคงไม่ค่อยดีนะคะเพราะคงไม่มีใครอยากป่วยแต่ที่ทำให้ใช้ประโยชน์สามารถช่วยได้ในระดับหนึ่งเท่านั้นค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท