สารเคมีในเกษตรกร


ลดการใช้สารเคมีในเกษตรกร

 ท่าวังผา เป็นพื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำน่านและลำน้ำสาขา เหมาะแก่การเพาะปลูกเป็นอันมาก ที่นี่จึงเป็นแหล่งเพาะปลูกพืชผักเพื่อการขายแหล่งใหญ่แห่งหนึ่ง เมื่อเป็นการผลิตเพื่อขายย่อมหมายถึงการนำเทคโนโลยีทางการเกษตรมาใช้อย่างมากรวมทั้งการใช้สารเคมีในเกษตรด้วย

ทีมสุขภาพอำเภอท่าวังผา เห็นผลกระทบด้านสุขภาพจากใช้สารเคมีของชาวบ้านที่นับวันจะยิ่งมากยิ่งขึ้นและรุนแรงมากยิ่งขึ้น จึงได้จัดทำ โครงการลดการใช้สารเคมีในเกษตรกร เริ่มด้วยการตรวจหาสารเคมีตกค้างในกระแสเลือด การตรวจหาปนเปื้อนในอาหาร 42 ตัวอย่าง พบสารเคมีปนเปื้อน 30 ตัวอย่าง นำข้อมูลที่ได้ไปสร้างกระแสการตระหนักให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชุมชน และบูรณาการร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ในการดำเนินงานลดการใช้สารเคมีเกษตรกร รวมทั้งการเปลี่ยนของเหม็นให้เป็นของหอม (เปลี่ยนขยะมาเป็นทอง) โดยเริ่มจากการแยกขยะ นำขยะเปียกมาทำปุ๋ยหมัก เพื่อให้เกษตรกรไปใช้แทนสารเคมี โดยเริ่มจากสำนักงานเป็นต้นแบบในการจัดทำถังขยะแยกประเภท (ขยะประเภทกลับมาใช้ใหม่, ขยะประเภทกลับมาใช้ไม่ได้, ขยะเศษอาหาร)

สิ่งคุกคามอันใหญ่หลวงของการทำงานคือ กระแสทุนนิยมที่ครอบงำอยู่ เรามุ่งแต่สร้างรายได้โดยไม่คำนึงถึงสุขภาพ มีการส่งเสริมการขายอย่างสูง นายทุน และองค์กรที่เกี่ยวข้องกับภาคการเกษตรก็ยังส่งเสริมการใช้สารเคมีทุกรูปแบบ การทำงานจึงเป็นการทำงานสวนกระแสหลักของสังคม แต่ด้วยกระแสเศรษฐกิจพอเพียงที่กำลังมีการพูดถึงกันมากและมีการลงมือปฏิบัติการอย่างจริงจัง ก็อาจจะช่วยเราทัดทานกระแสการใช้สารเคมีลงได้บ้าง

หมายเลขบันทึก: 102959เขียนเมื่อ 13 มิถุนายน 2007 10:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท