BM.chaiwut
พระมหาชัยวุธ โภชนุกูล ฉายา ฐานุตฺตโม

ปรัชญามงคลสูตร ๒๘ : การตระเตรียมเข้าสู่ปัจฉิมวัย (ต่อ)


ปรัชญามงคลสูตร

สันโดษ คำนี้ คนไทยทั่วไปเข้าใจกันว่า ความพอใจตามมีตามได้ ไม่ฟุ้งเฟ้อ หรือทะเยอทะยาน ...คำอธิบายทำนองนี้ นับว่าเหมะสมตามความหมายแบบไทยๆ... และถ้าจะแยกศัพท์ตามความหมายเดิมก็จะได้ดังต่อไปนี้...

สํ + ตุส = สันตุสะ  สันโตสะ ... แต่เมื่อแปลงมาเป็นคำไทยในปัจจุบันเรียกกันว่า สันโดษ

ตุสะ แปลว่า ความยินดี ... ส่วน สํ นั้น ตามคัมภีร์ท่านแก้ไว้ ๓ นัย กล่าวคือ

สํ = สกํ แปลว่า ของตน ดังนั้น สันโดษ จึงหมายถึง ยินดีสิ่งที่เป็นของของตน

สํ = สนฺตํ แปลว่า มีอยู่ ดังนั้น สันโดษ จึงหมายถึง ยินดีด้วยของที่มีอยู่แห่งตน

สํ = สมํ แปลว่า เหมาะสม ดังนั้น สันโดษ จึงหมายถึง ยินดีด้วยของที่เหมาะสมกับตน

ตามนัยข้างต้น ได้ความว่า สันโดษ หมายถึง ยินดีสิ่งที่เป็นของของตน ยินดีด้วยของที่มีอยู่แห่งตน และยินดีด้วยของที่เหมาะสมกับตน....

............

นั่นคือ คนเราเมื่อล่วงเข้าสู่ปัจฉิมวัย ควรจะมีความเคารพต่อธรรม ยกย่องเชิดชูธรรม ซึ่งเป็นความดีสูงสุด อำนาจสูงสุด .... ควรจะถ่อมตนหรือเจียมตัว โดยการไม่ฝ่าฝืนต่อธรรม นั่นคือ ไม่มักใหญ่ใฝ่สูง หรือทะเยอทะยานเกินกว่าความเป็นจริง... และรู้จักพิจารณาตัวเองแล้วก็ใช้ชีวิตเป็นอยู่ด้วยสิ่งที่เป็นของตน ด้วยสิ่งทีมีอยู่ และด้วยสิ่งที่เหมาะสมกับตนเท่านั้น....

เมื่อดำเนินชีวิตได้อย่างนี้ก็ชื่อว่า มีความเคารพ มีความถ่อมตน และมีความสันโดษ ซึ่งจัดว่าเป็นมงคลสำหรับผู้เริ่มเข้าสู่ปัจฉิมวัยอย่างแท้จริง.....

อนึ่ง เพื่อจะเพิ่มคุณค่าชีวิตของตัวเองให้สูงขึ้น... ในด้านคุณธรรมก็ควรจะเป็นผู้มีความกตัญญู... และในด้านความรู้ก็ควรจะรู้จักการฟังธรรมตามกาล ซึ่งประเด็นเหล่านี้ ผู้เขียนจะนำมาเล่าในตอนต่อไป...

หมายเลขบันทึก: 102803เขียนเมื่อ 12 มิถุนายน 2007 15:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 พฤษภาคม 2012 20:46 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท