อำนาจใต้หล้านี้ หามีสิ่งใดใหม่


บทบรรณาธิการ บอกว่าเรื่องราวแห่งอำนาจในใต้หล้านี้ ว่าหามีสิ่งใดปรากฎโดยไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เพราะทุกสิ่งแห่งอำนาจมนุษย์ ล้วนเกิดขึ้นหมุนเวียนมายาวนาน

อำนาจใต้หล้านี้ <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">หามีสิ่งใดใหม่</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p>COVER STORY</p><p>CORPORATE THAILAND MAGAZINE</p><p> Volume 6, Number 64</p><p>December 2001  </p><p></p><p></p><p></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">อ้างอิง ภาพปกหนังสือ Leviathan (1651) Thomas Hobbes 1588 - 1679 ภาพพิมพ์กัดกรดโดย Abraham Bosse  ซึ่งมีนัยยะสำคัญ คือ มนุษย์ผู้หนึ่งได้รับการยอมรับ และ สนับสนุนจากผู้คนจำนวนมาก ซึ่งมีจุดประสงค์ในการให้เขาใช้อำนาจในทางรับใช้ความต้องการของส่วนรวม ในภาพจะเห็นกลุ่มคนรวมตัวเป็นร่างของ Leviathan ซึ่งยิ่งใหญ่ดุจยักษ์ มือข้างขวาถือดาบ มึ่งหมายถึงกฎหมาย มือข้างซ้ายถือคฑา ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของศาสนจักร</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p>อำนาจใต้หล้านี้ <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">หามีสิ่งใดใหม่</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ลมนั้นสามารถกัดกร่อนหินผา หอบโกยเม็ดทราย ด้วยการเรียนรู้เข้าใจธรรมชาติของลมเช่นนี้ มนุษย์จึงนำพลังของมันมาหมุนใบพัด สร้างแรงเหวี่ยงให้เกิดกำลังงานชนิดใหม่ขึ้น เช่นเดียวกันกับพลังชีวิตทุกรูปแบบ มนุษย์เสาะแสวงหาหนทางที่จะใช้ประโยชน์สูงสุดจากสิ่งแวดล้อม เพื่อให้บรรลุแรงปรารถนาของตน อำนาจ ความมั่งคั่ง สันติภาพ และทุกๆสิ่ง</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ตลอดระยะเวลาในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ เราจึงได้พบสัจธรรม แห่งการดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดของชีวิต ที่แข็งแรงเหมาะสมกว่าเสมอ มนุษย์ต่อสู้แข่งขัน กดขี่ ฉกฉวย ช่วงชิง ฉ้อฉล ช่วงใช้ เพื่อความอยู่รอด แต่ก็พึ่งพา เกื้อหนุน เสียสละ ช่วยเหลือผู้ที่อ่อนกว่าตนเช่นกัน ดังนั้น ผู้ที่อ่อนแอจึงเข้าหาผู้แข็งแรง เฉลียวฉลาดกว่าเสมอไม่ว่าจะในลักษณ์ของการ สยบยอมหรืออิงแอบใต้การปกครอง</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">แม้จะฝันถึงสังคมที่มีความเสมอภาค แต่หากมองย้อนดูแล้ว มีสถานที่และเวลาใดบ้างที่มนุษย์อยู่ร่วมกัน ได้อย่างเท่าเทียมแท้จริง</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ผู้เข้าใจธรรมชาติแห่งลมก็สามารถใช้งานลม ผู้เข้าถึงจิตใจมนุษย์ก็ย่อมพบว่า ล้วนมีพลังชีวิตมากมายรอบข้างตน ที่สามารถชักชวน ฉวยใช้ประโยชน์ทั้งในรูปแบบของความร่วมมือ หรือรับใช้ตน</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ในที่สุดก็กลายเกิดเป็นลัทธิเชื่อฟังผู้มีอำนาจขึ้นในโลก</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">แต่อำนาจเป็นสิ่งที่ไม่ได้อยู่เหนือกฎธรรมชาติ มันจึงมีกำเนิดและเสื่อมสูญ ความสามารถ ฉลาดเฉลียวล้วนเป็นสิ่งที่ผิดพลาดได้ กำลังและความแข็งแกร่งก็ถดถอยตามกาลเวลา เมื่อกำลังพ่ายแพ้ปัญญา ปัญญาไม่อาจทานทนต่อความไร้เหตุผล และความไร้เหตุผลก็จบลงด้วยการใช้กำลังตัดสิน วัฏฏะแห่งอำนาจเช่นนี้ นักปราชญ์โบราณจึงเสาะหามรรควิธี ให้มนุษย์ได้เข้าถึงภาวะสมดุลของศักยภาพอันสามารถผลักดันตนให้ขึ้นเหนือ หรืออย่างน้อยไม่ตกอยู่ในสภาวการณ์อันไม่สามารถพึ่งพาเอาตัวรอดได้ ไม่ว่าจะในมาตราส่วนสัมพันธ์แบบปัจเจกชนด้วยกัน หรือระดับมหาชน</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">โลกตะวันตกจึงมีคำสอนของโสเครติส อุตมรัฐ Republic ของเพลงโต มีแนวคิดของอริสโตเติล ลัทธิสโตอิกซิสม์ โพลิบิอุส ซิเซโร เซเนกา บทบัญญัติคิงส์เจมส์ที่ 1 นิพนธ์ของอควินาส์ Leviathan ของ จอห์น ฮอบส์ มีจอห์น คาลวิน มี The Second Treastise ของจอห์น ล็อค Social Contract ของรุสโซ มาเคียเวลลี่ กับ The Prince เอ็ดมัน เบิร์ก กับ Authority Tradition </p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">On Hero, Hero Worship and Heroic in History ของ โธมัส คาร์ลิล, โธมัส เจฟเฟอร์สัน กับ Majority Rule Minority Right ยังสืบเนื่องมาถึง คาร์ล มาร์ก นิทเช่ และ แม็ก เวบเบอร์ ฯลฯ</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ในขณะที่โลกตะวันออกก็มี  คัมภีร์พระเวท คัมภีร์ภควัทคีตา สัทธิโลกานตะ ลัทธิเวทานตะ หลักราชนีติของอินเดีย มีเต๋าเต๋อจิง ของเหลาจื๊อ มโนทรรศน์ของของขอจื๊อ ปริทรรศน์ของเม่งจื๊อ ชีวทรรศน์ของจางจื๊อ ซุนจื๊อ รวมไปถึงปรัชญาหยิน หยาง ของจีน ลัทธิบูขิโดของญี่ปุ่น อำนาจสามกับทศพิธราชธรรมตามแนวพุทธศาสนา</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal"></p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">ด้วยความจริงที่มนุษย์แต่ละคนไม่ได้เกิดมาเพื่ออยู่ใต้อำนาจเพียงอย่างเดียว ทุกชีวิตต่างต้องการเสรีภาพ อิสรภาพ บางคนมีอำนาจและใช้อำนาจ บางคนมีอำนาจแต่ไม่ใช้มัน บางคนสละทุกสิ่งแต่ได้มาเพียงอำนาจลวง</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">บทเรียนเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์โลก ล้วนเป็นเครื่องเตือนรำลึกที่ดี ในการเข้าใจความหมายที่แท้จริงของอำนาจ</p>    <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">แม้ว่าความจริงของช่วงชีวิตมนุษย์คนหนึ่ง จะได้สัมผัสครอบครองหรือไม่ก็ตาม</p>   <p style="margin: 0cm 0cm 0pt; text-align: justify" class="MsoNormal">เราทุกคนต่างอยู่ที่ปลายด้านหนึ่งของมันเสมอ</p>   

หมายเลขบันทึก: 102677เขียนเมื่อ 12 มิถุนายน 2007 08:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 18:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท