ป่าชายเลน หรือป่าโกงกาง ( Mangrove forest หรือ Intertidal forest ) คือ กลุ่มของสังคมพืชซึ่งขึ้นอยู่ในเขตน้ำลงต่ำสุด และน้ำขึ้นสูงสุดบริเวณชายฝั่งทะเล ปากแม่น้ำ หรืออ่าวป่าชายเลนเป็นบริเวณที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตหลายชนิด ทั้งพืชและสัตว์ ป่าชายเลน จึงให้ประโยชน์แก่มนุษย์มากมาย ทั้งในด้านพลังงานและไม้ใช้สอย ตลอดจนเป็นแหล่งผลิตอาหารโปรตีนที่สำคัญ เนื่องจากป่าชายเลนเป็นที่วางไข่ แหล่งอาหาร และเจริญเติบโตของสัตว์น้ำเศรษฐกิจนานาชนิด นอกจากนี้ ป่าชายเลนยังช่วยป้องกันภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะเป็นเกราะกำบังและลดความรุนแรง ของคลื่นลมชายฝั่ง ช่วยดักตะกอนสิ่งปฏิกูล และสารพิษต่าง ๆ มิให้ไหลลงไปสะสมในบริเวณชายฝั่งและในทะเล
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย นาย จำลอง มังคละมณี ใน KM-วิทยาลัยประมงติณสูลานนท์
ดีใจครับเห็นวิทยาลัยประมงเปรมฯ เปิด blog
เห็นด้วยครับกับประเด็นประโยชน์ของป่าชายเลน ที่เอ่ยถึงว่า "เป็นเกราะกำบังและชลอความแรงของคลื่นและลมที่จะเข้ามาปะทะแนวชายฝั่ง"
จุดนี้ เสียดายไม่มีคนทำ
เมื่อปีที่แล้ว หลังเหตุการณ์ ซึนามิ ต้นเตยทะเล ที่เห็นชัดเจนว่ารากของมันอุ้มทรายไว้ได้เป็นตัน หรือแนวป่าโกงกางที่เสียหายน้อยมาก ด้านหลังของแนวป่าก็เสียหายน้อยกว่าแนวชายหาดที่เปลือย
จุดนี้ แหละครับ ที่ไม่ได้มีหน่วยงานใดที่ชัดเจนเข้าไปถ่ายภาพและบันทึกความเสียหาย เพราะตามหลักการจัดการความรู้ พื้นที่แบบนี้ ถือว่า เป็น Best Practice แต่เป็นด้าน Geographic สำคัญ อย่างไร?
ผมเชื่อว่า ถ้าคนได้เรียนรู้เกี่ยวกับมัน จะเห็นคุณค่ามันมากขึ้น เดิมทีตามธรรมชาติจะมีพืชพรรณไม้เหล่านี้เกิดขึ้นเองอย่างหนาแน่น แต่คนไปบุกรุกทำลาย ทำให้กำแพงธรรมชาติที่เรามีหายไป แล้วเอากำแพงหินบ้าง ซีเมนต์บ้างมาสร้างขึ้นแทน ไปดูได้เลยครับจากซาก ซึนามิ กำแพงที่ว่าใหญ่หรือหนา ถูกแรงน้ำชะทรายออกหมดแล้วล้มลงแบบไม่เป็นท่าเลย แต่ต้นเตยทะเลเพียงต้นเดียวทำไมอุ้มทรายไว้ได้เป็นตัน
เรื่องนี้อยู่ๆจะบอกให้คนแถวๆชายทะเลลุกขึ้นมาปลูก หรืออนุรักษ์เลย คงจะไม่ได้ผล แต่ถ้าได้พาเขาเรียนรู้จากของจริง บทเรียนแสนแพงที่ซึนามิ ทิ้งไว้ให้เรา แต่เราไม่ยอมรับเอามาเป็นบทเรียน นำไปสู่การเรียนรู้เพื่อป้องกันตนเองตามธรรมชาติ และรักษาความสมดุลของธรรมชาติที่ควรจะเป็น น่าเสียดายจริงๆ ครับ