@Moui
ภูมิจิต ศิระวงศ์ประเสริฐ

ชวนต่อสู้อำนาจเถื่อน ปิดฟ้าด้วยฝ่ามือรัฐ


สิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ในการปิดกั้น

ประเทศไทย ไม่ว่าจะในยุครัฐบาลใด มีการปิดกั้นการแสดงความคิดเห็นผ่านสื่อต่างๆ เสมอมา สื่ออินเทอร์เน็ต ที่ถูกเรียกว่า เป็นสื่อใหม่ (New Media) เมื่อเริ่มถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายมากขึ้น แต่กลับถูกเลือกปฏิบัติ ถูกปิดกั้นหนักข้อกว่าสื่อเก่าทุกสื่อ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนับตั้งแต่ยุคหลังวันที่ 19 กันยายน 2549 เป็นต้นมา

คนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับระบบอินเทอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็นผู้ดูแลเว็บไซต์, ผู้ผลิตเนื้อหาสำหรับเว็บไซต์, ผู้ให้บริการในระดับต่างๆ (รับฝากไฟล์ และ ISP) ต่างอึดอัดเหลือเกินกับการใช้อำนาจปิดกั้นในทุกระดับ จากหน่วยงานภาครัฐ ที่ก็ไม่รู้แน่ชัดว่า ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อทำการปิดเว็บตั้งแต่เมื่อใด

งานนี้ทุกฝ่ายได้แต่ช้ำเลือดช้ำหนอง กัดฟันทนวันที่จะได้เห็น ฟ้าสีทองส่องอำไพ ประชาชนได้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน แทน

ขออนุญาตหยิบยกข้อเขียนของคุณ PP ซึ่งฝากคำถามถามถึงผู้ที่ถูกปิดกั้นว่า ทำไมจึงทนกับการใช้อำนาจเช่นนั้นของภาครัฐ ในกระทู้ที่ชื่อว่า ท้าทายอำนาจปิดกั้นเว็บของ ไอซีที

หลังการรับประหาร 19 กย.๒๕๔๙
เว็บการเมืองถูกปิดกั้นไปเป็นจำนวนมาก แบบที่ไม่เคยมีมาก่อน

คำถาม คือ ทำไมบรรดาเจ้าของเว็บหรือผู้จัดการเว็บ
จึงไม่มีใครคิดจะท้าทายการปิดกั้นเว็บของไอซีที ?
ทำไมทุกคน จึงยอมจำนนไปหมด ?

คนไทยถูกมอมเมาให้ ยอมจำนนต่อ
อำนาจของพวกเจ้านายมาช้านานแล้ว
ไม่มีใครคิดอะไรออก นอกจากยอมๆไป
มันเป็นความคิดแบบว่า
เจ้านายว่าอะไรก็ถูกไปหมด ไม่เคยคิดว่า มันอาจผิดก็ได้
มันเป็นความคิดแบบไพร่   ไม่ใช่เสรีชน !!!

อำนาจที่ไอซีทีใช้ อ้างจากประกาศคปค.ฉบับที่๕
ลองอ่านที่ละตัวอักษร ให้ดี
 http://www.cns.go.th/Image/pdf/8075_pdf.pdf

สาระสำคัญคือ ให้อำนาจกระทรวงไอซีที
“ดำเนินการควบคุม ยับยั้ง สะกัดกั้น และทำลาย
การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารในระบบสารสนเทศ
ผ่านระบบเครือข่ายการสื่อสารทั้งปวงที่มีบทความ
ข้อความ คำพูดหรืออื่นใด อันอาจจะส่งผลกระทบ
ต่อการปฏิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข”

หมายความว่า ไอซีที มีอำนาจที่จะปิดกั้น
เว็บไซ้ท์อะไรก็ได้ ตามอำเภอใจหรือ?
หามิได้ !!!

ไอซีที ต้องรับผิดชอบให้การใช้อำนาจปิดกั้นเว็บ
ของตนชอบด้วยกฎหมาย คือต้องมีพยานหลักฐานพิสูจน์
ว่าเว็บที่ไอซีทีสั่งปิดนั้น “ส่งผลกระทบ
ต่อการปฏิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตย
อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข”

ไอซีที จะหาเว็บที่ว่าได้หรือ?
มันมีเว็บที่ “ส่งผลกระทบต่อการปฏิรูปการปกครอง
ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข “
อยู่ในโลกนี้ ด้วยหรือ?

กล่าวอย่างเคร่งครัด เว็บด้านข่าวสารและการเมือง
ที่ไอซีทีสั่งปิดกั้นไปนั้น ไม่มีเว็บไหนเลยที่ผิดตามประกาศคปค.ดังกล่าว

เมื่อวันศุกร์ที่ ­๘ มิถุนายน ศกนี้ กลุ่มคนวันเสาร์ ไม่เอาเผด็จการ
ยกพวกไปประท้วงการปิดกั้นเว็บของไอซีทีประมาณ ๑๐กว่าคน
ผู้แทนกระทรวงไอซีที รีบออกมาชี้แจงว่า ได้สั่งให้ยกเลิก
การปิดกั้นเว็บของคนวันเสาร์แล้ว ตามข่าวนี้
http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=263226&lang=T

คำถามคือ ถ้าเขาไม่ผิด ไปปิดกั้นเขาได้อย่างไร ?
และถ้าเขาผิดจริง ไปยกเลิกการปิดกั้นเขาทำไม?

นี่ เป็น การใช้อำนาจตามอำเภอใจชัดๆ
นี่ เป็น การใช้อำนาจเผด็จการชัดๆ

อำนาจของไอซีที เหมือนอำนาจของปีศาจแห่งความมืด
เหมือนอำนาจของจักรวรรดิชั่วร้าย
เหมือนอำนาจของโซรอน ดวงตาปีศาจแห่งมัชฌิมประเทศ
กวาดดูไปได้ทั่วแผ่นดิน ไม่เคยมีใครกล้าท้าทาย คนจึงกลัวกันไปทั่ว
แต่ความมืด ไฉนเลยจะกล้าสู้แสงสว่าง
อธรรมไฉนเลยจะเอาชนะธรรมได้

เพียงเผชิญหน้ากับการท้าทายเล็กๆ ก็ตัวสั่นงันงกเสียแล้ว
เบื้องหน้าประชาชนผู้รักเสรีภาพ พวกนี้กลายเป็นเสือกระดาษไปแล้ว

เมื่อหวนคำนึง คำพูดเก่าๆ ที่ว่า

"เสรีภาพจักสมปอง ต้องต่อสู้"

ที่ใช้มา ตั้งแต่ครั้ง การต่อสู้กับเผด็จการทรราชน์
เมื่อปี๒๕๑๖ และบทกวีของรวี โดมพระจันทร์
ข้างล่างนี้ ก็พบว่า มันยังมีพลังและทันสมัยอยู่

"ตื่นเถิดเสรีชน อย่ายอมทนก้มหน้าฝืน
ดาบหอกกระบอกปืน หรือทนคลื่นกระแสเรา
แผ่นดินมีหินชาติ ดาดาษความโฉดเขลา
ปลิ้นปล้อนตะลอนเอา ประโยชน์เข้าเฉพาะตน
จงสู้จนสุดฤทธิ์  แม้ชีวิตจะดับพ้น
ศักดิ์ศรีมนุษย์ชน  ไม่ยอมทนเป็นทาสใคร
โถมคลื่นของมวลชน  กระหน่ำจนศัตรูพ่าย
ยืนหยัดปานมัดหวาย  กระหน่ำให้มันได้คิด
เจ็บแล้วจักต้องจำ  อย่าหลงคำเคลือบยาพิษ
คำหวานสมานจิต  กลพิชิตศัตรูมี
หากหวังเสรีภาพ  หวังโลกราบรื่นราศรี
สันติภาพจักมี   เพราะการที่เราต่อสู้ " 

หมายเลขบันทึก: 102070เขียนเมื่อ 9 มิถุนายน 2007 15:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 18:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท