บันทึกการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ EQA รอบ 2 : กลุ่ม A


บันทึกการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
“ KM workshop เพื่อพัฒนาคุณภาพอุดมศึกษาในเขตภาคเหนือตอนล่าง”
วันจันทร์ที่ 21 พฤษภาคม 2550
ณ ห้อง Main Conference ศูนย์บริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (CITCOMS)

สรุปการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
จากคู่มือการประเมินคุณภาพภายนอกระดับอุดมศึกษา
ของกลุ่ม A ในประเด็นดังนี้

เกณฑ์การรับรองมาตรฐานคุณภาพ สมศ.
         ตอนที่ 1 วิธีการกำหนดและกระจายน้ำหนัก
         ตอนที่ 2 เกณฑ์การตัดสินการประเมินคุณภาพภายนอก
                           1. ประเมินตัวบ่งชี้ในแต่ละมาตรฐาน
                           2. การประเมินผลระดับมาตรฐาน

ตอนที่ 1 วิธีการกำหนดและการกระจายน้ำหนัก

         1. ไม่น่าจะให้น้ำหนักในตัวบ่งชี้เฉพาะและตัวบ่งชี้ร่วมเท่ากัน ดูเหมือนจะไม่ Fair แต่ก็สามารถปรับค่าน้ำหนักของตัวบ่งชี้ที่ไม่มีอยู่ไปร่วมกับตัวบ่งชี้ที่มีอยู่ได้ โดยสัดส่วนของตัวบ่งชี้เฉพาะและตัวบ่งชี้ร่วมยังคงเป็น 50:50

         2. การให้น้ำหนักตัวบ่งชี้ร่วมและตัวบ่งชี้เฉพาะ 50:50 คิดว่า ให้น้ำหนักตัวบ่งชี้เฉพาะมากเกินไป

         3. ในมาตรฐานที่ 2 ตัวบ่งชี้ที่ 2.6 และ 2.7 อยากให้ไม่แบ่งครึ่ง เนื่องจาก 2.7 ไม่มีการจดสิทธิบัตร ขอให้ ตัวบ่งชี้ 2.6 เป็น 2 ส่วน และ ตัวบ่งชี้ 2.7 เป็น 1 ส่วน

ตอนที่ 2 เกณฑ์การตัดสินการประเมินคุณภาพภายนอก

         1. อิงเกณฑ์ ในตัวบ่งชี้ที่ 4.1ร้อยละของโครงการ/กิจกรรมในการนุรักษ์ พัฒนาและสร้างเสริมเอกลักษณ์ ศิลปะและวัฒนธรรมต่อจำนวนนักศึกษาและ ตัวบ่งชี้ 4.2 ร้อยละของค่าใช้จ่ายและมูลค่าที่ใช้ในการอนุรักษ์ พัฒนาและสร้างเสริมเอกลักษณ์ ศิลปะและวัฒนธรรมต่องบดำเนินการ เกณฑ์ของ สมศ. สูงเกินไป ควรลดลงจากเดิมอีก 50%

         2. อิงพัฒนาการ ที่ใช้ตัดสินโดยใช้เกณฑ์ของ สมศ. ควรพิจารณานัยสำคัญ

         3. อิงประสิทธิผลตามแผน ใช้อิงตามแผน กพร. แต่มีปัญหาตัวบ่งชี้ เช่น 2.2 และ 2.3 ของ กพร.จะรวมงบวิจัยทั้งภายใน และภายนอก ส่วนของ สมศ.จะแยกงบวิจัยภายในและภายนอก

เรื่อง อื่น ๆ

         1. การนับบทความจากวิทยานิพนธ์ควรนับการตีพิมพ์ในช่วงนั้น ๆ โดยไม่ต้องคำนึงว่าเป็นนิสิตที่จบในปีนั้น ๆ หรือไม่ เพราะการตีพิมพ์จะล่าช้ากว่าจำนวนวิทยานิพนธ์

         2. ปัญหาการคิดเงินแต่ละตัวบ่งชี้จะใช้ปีการศึกษา ปีงบประมาณ หรือ ปี พ.ศ.

         3. การคิดค่า FTES ควรคิดอย่างไรดี

คำถามที่ถาม สมศ.และตอบคำถามโดย ศ.ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ (ผอ.สมศ.) และคุณอรสา ภาววิมล (ผอ.กลุ่มพัฒนาคุณภาพอุดมศึกษา สกอ.)

         1. การให้น้ำหนักของตัวบ่งชี้เฉพาะและตัวบ่งชี้ร่วม ไม่น่าจะเท่ากัน 
         ตอบ ให้ความสำคัญระหว่างตัวบ่งชี้เฉพาะและตัวบ่งชี้ร่วมเท่ากัน โดยสามารถปรับค่าน้ำหนักของตัวบ่งชี้ที่ไม่มีอยู่ไปร่วมกับตัวบ่งชี้ที่มีอยู่ได้ โดยสัดส่วนของตัวบ่งชี้เฉพาะและตัวบ่งชี้ร่วมยังคงเป็น 50:50

         2. พิจารณาเกณฑ์การตัดสินการประเมินระหว่างใช้เกณฑ์ที่ สมศ.กำหนด กับข้อมูลดิบที่มีอยู่ ควรใช้เกณฑ์ สมศ.หรือข้อมูลดิบในการตัดสินการประเมิน 
         ตอบ ดูจากผลการประเมินที่เพิ่มขึ้นตามเกณฑ์ที่ สมศ.กำหนด

         3. สามารถปรับการให้น้ำหนักในตัวบ่งชี้ 2.6 และ 2.7 ได้หรือไม่ 
         ตอบ อนุโลมให้ ตัวบ่งชี้ 2.6 เป็น 2 ใน 3 และตัวบ่งชี้ 2.7 เป็น 1
ใน 3

Note Taker :
ปราณี   ศิริวัฒน์
(คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร)

หมายเลขบันทึก: 101714เขียนเมื่อ 8 มิถุนายน 2007 12:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤษภาคม 2012 20:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท