เข้าระบบ
สมัครสมาชิก
หน้าแรก
สมาชิก
Dr. Phichet Banyati
สมุด
PracticalKM
สภาพความไร้ความสา...
Dr. Phichet Banyati
สมุด
บันทึก
อนุทิน
ความเห็น
ติดต่อ
สภาพความไร้ความสามารถในการเรียนรู้ขององค์การ
Learning Disability
สภาพความไร้ความสามารถในการเรียนรู้ขององค์การ เป็นสิ่งที่ต้องทำให้น้อยลงหากเราจะส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ของคนในองค์การเพื่อการก้าวไปสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ในการทำงานที่โรงพยาบาลบ้านตาก ผมและทีมนำได้พยายามที่จะลดสภาพเหล่านี้ ซึ่งผมได้แนวคิดนี้มาจากบทความของคุณมานะ กอหรั่งกูล และนำมาประยุกต์ปรับปรุงไปเล็กน้อย ทำให้ผมรู้เรื่องขององค์การแห่งการเรียนรู้ก่อนที่จะมารู้เรื่องของการจัดการความรู้ โดยสภาพทั้ง 7 ประการ เหล่านี้หากมีมากในองค์การใด จะเป็นอุปสรรคต่อการเรียนรู้อย่างมาก ดังนี้
1. สภาพการยึดถือว่า “ฉันคือตำแหน่งของฉัน” มีการสร้างอาณาจักรย่อยๆขึ้นในองค์การ แบ่งแผนก แบ่งวิชาชีพ แบ่งตำแหน่ง แบ่งกลุ่ม แบ่งค่ายอย่างชัดเจน อย่ามายุ่งกับฉัน และฉันก็จะไม่ไปยุ่งกับใคร ฉันมีหน้าที่แค่นี้ ทำแค่นี้ อย่างอื่นไม่ใช่หน้าที่ฉันไม่ทำ ไม่ช่วย สภาพนี้จะเห็นได้ชัดในการบริหารองค์การแบบเครื่องจักรหรือแบบราชการ (Bureucracy)
2.
การหาผู้กระทำผิดหรือแก้ตัว หรือหาแพะรับบาป ทำให้คนไม่กล้าคิดกล้าลองทำสิ่งใหม่ๆเพราะถ้าผิดพลาดก็จะกลายเป็นถูกตำหนิหรือถูกลงโทษ เมื่อมีความผิดพลาดเกิดขึ้นก็จะพยายามปกปิด ซ่อนเร้น ไม่รายงานให้หัวหน้าทราบเพราะกลัวความผิด อาจหาทางโทษคนอื่นทำให้เกิดความหวาดระแวงกันเอง ทำให้ไม่สามารถนำเอาความผิดพลาดนั้นมาเป็นบทเรียนสำหรับคนอื่นๆและไม่ได้ศึกษาวิเคราะห์เพื่อการป้องกันความผิดพลาดนั้นๆจึงอาจเกิดซ้ำได้อีก คำว่าผิดเป็นครูจึงไม่เกิดขึ้น
3.
ภาพลวงตาคิดว่าตัวเองแก้ปัญหาเชิงรุก แก้ปัญหาที่อาการ ยึดติดเหตุการณ์ เกิดอะไรแก้สิ่งนั้นพอ ไม่สืบสาวราวเรื่องเข้าไปหาต้นตอสาเหตุที่แท้จริง เมื่อไม่ได้แก้ที่ต้นเหตุที่แท้จริงก็ไม่สามารถขจัดปัญหาออกไปได้ ปัญหาจึงมีโอกาสเกิดซ้ำได้อีก
4. การยึดติดในความสำเร็จในอดีต ไม่กล้าคิดกล้าทำสิ่งใหม่เพราะกลัวล้มเหลวหรือพอใจแค่ความสำเร็จหรือผลงานเดิมๆ ทำแบบเดิมๆทั้งที่ความต้องการของลูกค้าเปลี่ยนไปแล้ว
5.
ไม่สามารถรับรู้การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นที่ละน้อย ๆ และอย่างช้า ๆ ได้ เมื่อสิ่งแวดล้อมหรือลูกค้าเริ่มเปลี่ยนแปลงไปทีละเล็กทีละน้อย ปรากฎว่าหน่วยงานกลับไม่รับรู้ ทำให้ไม่ได้เตรียมตัวรับมือกับสถานการณ์หรือเตรียมแก้ไขปัญหาตั้งแต่เนิ่นๆ พอรู้ตัวอีกทีปรากฏว่าปัญหาใหญ่เกินกว่าจะแก้ไขไปแล้ว ยกตัวอย่างเรื่องทฤษฎีกบต้ม กบเป็นสัตว์เลือดเย็น พอใส่ในน้ำเย็นก็จะปรับอุณหภูมิร่างกายให้เป็นตามอุณหภูมิของน้ำ ถ้าใส่ในน้ำร้อน กบจะรู้ตัวแล้วโดดหนีเอาตัวรอดได้ แต่ถ้าใส่ในน้ำเย็นแล้วค่อยๆเพิ่มอุณหภูมิทีละน้อยๆร้อนขึ้นเรื่อยๆ กบก็จะปรับตัวตาม ทำให้ไม่สามารถรับรู้การเปลี่ยนแปลงนั้นๆได้ พอไปจนถึงร้อนจนน้ำเดือดกบก็สุกตายพอดี หนีไม่ทัน
6. การเข้าใจว่าการเรียนรู้ที่มีพลังที่สุดคือการเรียนรู้จากประสบการณ์โดยตรง ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องเพราะการเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงของตนเองหลายเรื่องกว่าจะเห็นผลก็นานมากหรือเมื่อเห็นผลก็อาจเกิดอันตรายหรือผลเสียที่เกินจะเยียวยาได้ ดังนั้นคนเก่งจะเรียนรู้จากประสบการณ์ตนเอง แต่คนฉลาดเรียนรู้จากประสบการณ์คนเก่ง
7.
ทีมงานไม่สามารถเรียนรู้จากสมาชิกทีมและประสบการณ์ของทุกคนในทีมได้ ทำให้ไม่สามารถนำเอาความสำเร็จและความผิดพลาดของคนอื่นๆมาพัฒนาการทำงานขององค์การได้ อาจเกิดจากการไม่เปิดใจยอมรับคนอื่นหรือหวงวิชาก็ได้
เขียนใน
GotoKnow
โดย
Dr. Phichet Banyati
ใน
PracticalKM
คำสำคัญ (Tags):
#kmกับงานประจำ
หมายเลขบันทึก: 10157
เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2005 09:27 น. (
)
แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 21:23 น. (
)
สัญญาอนุญาต:
จำนวนที่อ่าน
ความเห็น
บวร
เขียนเมื่อ 14 สิงหาคม 2006 18:02 น. (
)
เยี่ยมมากครับคุณหมอ
ทุกข้อคือความจริง
สภาพดังกล่าวทำให้องค์กรพิการได้ครับ น่าเป็นห่วงมาก
ขอบพระคุณมากครับ
หน้าแรก
สมาชิก
Dr. Phichet Banyati
สมุด
PracticalKM
สภาพความไร้ความสา...
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID
@gotoknow
สงวนลิขสิทธิ์ © 2005-2024 บจก. ปิยะวัฒนา
และผู้เขียนเนื้อหาทุกท่าน
นโยบายความเป็นส่วนตัว (Privacy Policy)
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท