Value Engineering analysis(VEIA)


กระบวนการตรวจสอบการใช้วัตถุดิบและชิ้นส่วนเพื่อหาวิธีลดต้นทุนและปรับปรุงการ  ใช้งานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น  ทำอย่างไรจึงจะลดกระบวนการที่มีมากขึ้นให้ลดลงได้    ถ้าถึงเวลาลดต้นทุนแล้วยังไม่ส่งผลให้ดีขึ้น  เราควรต้องปรับปรุงคุณภาพให้ดีขึ้นตามไปด้วย  ต้องมีความคิดสร้างสรรค์  มองหาอะไรใหม่ ๆ อยู่เสมอ

✡    คัดเลือกวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนที่มีมูลค่าจัดซื้อจำนวนมาก  ซึ่งจะทำให้เราคุ้มกับการนำไปผลิต  ในการคัดเลือกนี้  บางครั้งต้องดูถึงทำเลที่ตั้งของโรงงาน เช่นน้ำท่วมถึงหรือไม่  การขนส่งเข้าออกมีปัญหามากน้อยเพียงใด  ซึ่งถ้าเกิดการชะงักในการส่งสินค้า จะมีผลกระทบต่อ  ความพึงพอใจของลูกค้าได้


✡    พิจารณาการใช้งาน  โดยมองว่าการใช้งานนี้เหมาะสมหรือไม่


✡    มีการเตรียมตอบคำถามเหล่านี้?
✡    พิจารณาชิ้นส่วนที่จะผลิตมีความจำเป็นมากน้อยเพียงใด  สามารถเพิ่ม – ลดได้หรือไม่
✡    มีทางเลือกอื่นสำหรับชิ้นส่วนที่จะผลิตนี้หรือ  มีวิธีไหนที่จะใช้แทนกันได้บ้าง  เช่น  ก๊อกน้ำมือหมุน  สมัยก่อนเป็นโลหะ  แต่ปัจจุบันแปลงมาเป็น  PVC  ชุบอะคริลิก  ชิ้นส่วนของรถยนต์ กันชนเมื่อก่อนเป็นเหล็ก  แต่เดี๋ยวนี้เป็น  Fiber  
✡    สามารถผลิตได้เองหรือไม่  โดยพยายามมองว่าอะไรคือตัวหลักที่ทำให้เรามองเห็นว่าลดต้นทุนได้บ้าง
✡    ประเด็นข้อดีข้อเสียของการจัดหาในปัจจุบัน  ซึ่งจะเน้นที่คุณภาพเป็นสำคัญ
✡    สามารถใช้ชิ้นส่วน  วัตถุดิบหรือบริการอื่น ๆ แทนได้หรือไม่
✡    สามารถลด  Spec  เพื่อประหยัดเวลาและต้นทุนได้หรือไม่  ซึ่งถ้าสามารถลด  Spec  จะสามารถทำให้การทำงานดีขึ้น  สะดวกขึ้น
✡    สามารถลดจำนวนชิ้นส่วนลง  หรือผนวกหลายชิ้นให้เหลือเพียง 1  ชิ้นได้หรือไม่  โดยที่ยังสามารถทำงานได้เหมือนเดิม  เช่น  มีกระบวนการผลิตอยู่  3  ชิ้น  ใช้คนงาน  3  เท่า  โดยใช้เวลาการผลิต  3 ชั่วโมง  แต่ถ้าสามารถลดชิ้นส่วนลงเหลือเพียง 1 ชิ้น ประสิทธิภาพดีเหมือนเดิม  ก็จะสามารถลดต้นทุนได้
✡    สามารถลดขบวนการผลิตได้หรือไม่  ซึ่งถ้าเราทำได้  กระบวนการผลิตลดลง  เวลาก็จะลดลงได้
✡    Supplier  มีคำแนะนำเพื่อให้การปรับปรุงหรือไม่  โดยไม่ต้องรอให้ลูกค้าเป็นผู้สั่งเปลี่ยนแปลงสินค้าหรือ  Request  สินค้า    ซึ่งเราสามารถเปลี่ยนแปลง  ปรับปรุงการออกแบบ  กระบวนการผลิตใหม่ ๆ อยู่เสมอ
✡    พนักงานมีคำแนะนำเพื่อการปรับปรุงแก้ไขหรือไม่
✡    สามารถปรับปรุงการบรรจุภัณฑ์เพื่อลดต้นทุนหรือไม่  ซึ่งการบรรจุภัณฑ์เป็นหัวใจอย่างหนึ่งของการผลิตภัณฑ์  
✡    วิเคราะห์คำตอบที่ได้รับเพื่อสรุปผลแนะนำไปสู่การปรับปรุง

ปัจจัยของความสำเร็จ

✡    VEIA  ไม่ได้ทำทุกครั้งที่มีการสั่งซื้อวัตถุดิบและชิ้นส่วน  แต่จำทำเป็นระยะ  เช่น  เมื่อมีการกำหนดเป้าหมาย
✡    พิจารณาเฉพาะวัตถุและชิ้นส่วนที่มีประมาณและมูลค่าสูง  ถ้าเราผลิตสินค้าชิ้นเล็ก ๆ     มูลค่าจะน้อย  ซึ่งจะไม่คุ้มกับต้นทุน 
✡    ความร่วมมือของแผนกจัดซื้อ  แผนผลิต  แผนกออกแบบ  และ  Supplier  นำไปสู่การลดต้นทุนและการประหยัดเวลา  ซึ่งเรียกว่า  Concurrent  Engineering     คือการผลิตภัณฑ์ออกมา  1  ชิ้น  โดยเป็นการรวมหน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาไว้ด้วยกัน  เพื่อให้ระยะเวลาการผลิตสั้นลง  (ระดมสมองให้เสร็จภายในกำหนดเวลา)

หมายเลขบันทึก: 101568เขียนเมื่อ 7 มิถุนายน 2007 21:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 17:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท