ปัญหา Knowledge sharing แบบรูปธรรม


ปัญหาKM แก้ได้โดยใช้ KM

ในมุมมองของผมปัญหาเกี่ยวกับระบบการทำงานต่อไปนี้เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเปลี่ยน PSUให้เป็นองค์กรที่มีการแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge sharing)นะครับ อาทิเช่น

สิ่งจูงใจที่เป็นรางวัล........ พวกชอบหวังผล!

ความคิดว่าตนมีความรู้ในเรื่องนั้นๆ อยู่แล้วหรือคิดว่าไม่จำเป็นต้องรู้......อันนี้น่ากลัวมาก!

ไม่ค่อยเชื่อถือความคิดใหม่ๆและไม่ค่อยให้คุณค่ากับความคิดใหม่ๆ......พวกหัวแข็ง!

ปัญหาเรื่องความไว้ใจเช่นจะเกิดอะไรขึ้นกับตนถ้าเริ่มมีการแลกเปลี่ยนความรู้กับบุคคลอื่น.......พวกขี้ระแวง!

ปัญหาที่เกิดจากแต่ละบุคคลต่อไปนี้คืออุปสรรคที่มีผลต่อการเปลี่ยนPSUให้เป็นองค์กรที่มีการแลกเปลี่ยนความรู้.....ลองคิดตามนะครับถ้ามีคนในองค์กรท่าน คิดแบบนี้......

ฉันไม่ได้รับชื่อเสียงเกียรติยศใดๆ เลย กับไอ้เจ้ากิจกรรมแบบนี้

ฉันจะกลายเป็นคนที่ไม่มีค่าหรือไม่หนอ ถ้าคนอื่นรู้เท่าฉัน

ฉันไม่รู้ในสิ่งที่คนอื่นรู้

จะไม่มีอุปกรณ์ดีๆที่ต้องการในการทำงานแน่เลย!

อุปสรรคต่างๆ สามารถแก้ไขได้โดยอาศัยการสื่อสารและการฝึกอบรมโดยการอบรมบุคลากรแต่ละคนให้รู้จักเรียนรู้ผ่านประสบการณ์เพื่อที่จะแลกเปลี่ยนความรู้ในมุมมองของตน ซึ่งท้ายที่สุดเมื่อแต่ละคนเริ่มแลกเปลี่ยนความรู้กันแล้วก็จะขยับไปสู่การแลกเปลี่ยนความรู้ในองค์กรต่อไป ซึ่งข้อมูลการแลกเปลี่ยนความรู้จะส่งต่อไปยังโครงการสร้างการรับรู้สำหรับเจ้าหน้าที่ต่อไป เนื่องจากวัฒนธรรมองค์กรของบ้านเราน่าจะให้พนักงานได้เรียนรู้โดยอาศัยประสบการณ์และการฝึกอบรม ดังนั้นทีมงานจัดการความรู้ต้องจัดให้มีการฝึกอบรมที่สามารถชี้ให้เห็นได้ว่าการแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมองค์กร ความคาดหวังจากทุกคนทุกฝ่าย และความคาดหวังต่อพฤติกรรมใหม่ที่จะเกิดขึ้นจากเจ้าหน้าที่ในการแลกเปลี่ยนความรู้ การฝึกอบรม จะต้องทำให้บุคลากรเริ่มรับหลักการแลกเปลี่ยนความรู้ในการทำงานโดยคาดว่าผลลัพธ์ที่ได้จากการฝึกอบรมคือการสอนให้บุคลากรรู้จักประเมินได้ว่าจะทำอย่างไรจึงจะแลกเปลี่ยนข้อมูลภายในกลุ่มได้รวมไปถึงการจัดทำโครงการต่างๆ ที่ต้องอาศัยการแลกเปลี่ยนความรู้โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะช่วยสนับสนุนแนวทางการปฎิบัติ งานตลอดจนการเพิ่มผลผลิตในกลุ่มงานเพื่อที่จะทำให้เกิดวิสัยทัศน์ในการเปลี่ยนแปลงองค์กร บุคลากรจะต้องสร้างแนวคิดดังต่อไปนี้

 

แลกเปลี่ยนสิ่งที่เรารู้และสิ่งที่เราทำ สร้างและขยายไอคิวของหน่วยงาน

ค้นหาสิ่งที่เราไม่รู้และพิจารณาว่ามีแนวทางแก้ไขอยู่แล้วหรือไม่

มีความซื่อสัตย์ ให้ความเคารพและให้ความเชื่อถือแหล่งความรู้และต้องสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน

เมื่อมีข้อสงสัยหรือข้อผิดพลาดใดๆระหว่างแลกเปลี่ยนความรู้ให้รักษาเป็นความลับส่วนตัว

ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานอื่น รวมถึงตระหนักถึงการเรียนรู้และคุณค่าซึ่งกันและกัน

ทั้งหมดนี่คือบทสรุปของ หนทางการแก้ปัญหา Knowledge sharing

 

คำสำคัญ (Tags): #knowledge#sharing
หมายเลขบันทึก: 1015เขียนเมื่อ 10 กรกฎาคม 2005 22:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 13:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท