กฎหมายความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ผ่าทางตันจริงหรือ


ท่ามกลางความสำเร็จในการมีกฎหมายใช้บังคับกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มีประเด็นที่น่าจับตามองว่า กฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดฉบับนี้จะนำมาซึ่งการแก้ไขปัญหาการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่
 

  หลังจากการดำเนินการปฏิสนธิในการยกร่างกฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มากว่า ๙ ปี ในที่สุด นัวนที่ ๙ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๐ การเดินทางของกฎหมายฉบับนี้ก็กำลังจะออกมาสู่กระบวนการทำคลอดสู่ความเป็นจริงในอีกไม่นานนี้ หลังจากที่ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีและการลงพระปรมาภิไธยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จนกระทั่งถึง การประกาศในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งเป็นผลให้อีก ๓๐ วันหลังจากนั้น กฎหมายฉบับนี้จะมีผลใช้บังคับอย่างสมบูรณ์

  ท่ามกลางความสำเร็จในการมีกฎหมายใช้บังคับกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ มีประเด็นที่น่าจับตามองว่า กฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดฉบับนี้จะนำมาซึ่งการแก้ไขปัญหาการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่

   

  ประเด็นหนึ่งที่สำคัญก็คือ บทบัญญัติที่ว่าด้วยการรวบรวมพยานหลักฐานที่เกิดขึ้นและเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด นั่นคือ การเก็บรักษาข้อมูลจราจาคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการ โดยผลของกฎหมายฉบับนี้ เป็นผลให้ผู้ให้บริการ ที่จะต้องเก็บรักษาข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ หรือ Traffic Data ไม่น้อยกว่า ๓๐ วัน นั้น

     เพื่อให้การเก็บรวบรวมพยานหลักฐานดังกล่าวบรรลุถึงเจตนารมย์อย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องสร้างความชัดเจนในสาระสำคัญ ???? ด้าน

    เริ่มจาก การตีความคำว่า  ผู้ให้บริการนั้นคลอบคลุมถึงใครบ้าง ซึ่งหากหันกลับไปพิจารณาประเภทของข้อมูลคอมพิวเตอร์ ตาม EU Forum on Cybercrime Discussion Paper for Expert’s Meeting on Retention of Traffic Data เมื่อวันที่ ๖ พ.ย. ๒๕๔๔ ที่มีการแบ่งแยกผู้ให้บริการเป็น ๗ กลุ่ม ทั้ง ๑.ข้อมูลอินเทอร์เน็ตบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ๒. ข้อมูลอินเทอร์เน็ตที่เกิดจากการเข้าถึงระบบเครือข่าย ๓. ข้อมูลในกลุ่มของผู้ให้บริการอีเมล์ ๔. ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตที่เกิดจากการโอนถ่ายข้อมูล ๕.ข้อมูลอินเทอร์เน็ตบนเครื่องผู้ให้บริการเว็บ (Web Servers) ๖.ข้อมูลบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Usenet) ๗.ข้อมูลที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Internet Relay Chat)

       เท่ากับว่า ผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลจราจรในทั้ง ๗ กลุ่มนั้น จะต้องมีหน้าที่ในการเก็บรักษาข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ ปัญหาที่ถูกตั้งข้อสงสัยก็คือ ระยะเวลาในการเก็บข้อมูลของผู้ให้บริการในข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ทั้ง ๗ ประเภทนั้น จะมีระยะเวลาที่แตกต่างกันตามสาระสำคัญของข้อมูลหรือไม่  โดยในความเป็นจริงแล้วอาจจะต้องมีการจัดระดับความสำคัญของข้อมูลและระยะเวลาในการเก็บรักษาข้อมูลของผู้ให้บริการที่ชัดเจน

      อย่างไรก็ตาม หากการเชื่อมต่อ ถ่ายโอนข้อมูลนั้นไม่ได้กระทำผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น การใช้โปรแกรม 2bit ซึ่งเป็นการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์โดยไม่ผ่าน server ปัญหาว่า ในกรณีนี้ใครเป็นผู้ให้บริการก็คงจะเป็นปัญหาในการตีความเช่นกัน

      ต่อมา การสร้างกลไกสนับสนุนผู้ให้บริการในการเก็บรักษาข้อมูล อันที่จริงแล้ว ประเด็นนี้ดูผิวเผินจะไม่เกี่ยวข้องกับบทบัญญัติในกฎหมายฉบับนี้ แต่ทว่า หากพิจารณาถึง ผู้ให้บริการรายย่อยที่มีอยู่กับการจัดเก็บข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ มีผลให้เกิดการลงทุนเพิ่มเติม ดังนั้น มาตรการภาครัฐที่จะเข้ามาช่วยสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อยให้มีความสามารถในการดำเนินการ ทั้งในแง่ของการใช้มาตรการทางภาษี หรือแม้แต่กระทั่ง มาตรการในการสนับสนุนให้เกิดการรวมตัวของผู้ประกอบการเพื่อร่วมทุนในการจัดเก็บข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ ก็เป็นหนทางหนึ่งที่จะช่วยให้กฎหมายฉบับนี้บรรลุถึงเจตนารมย์ของการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          อย่างไรก็ตาม กฎหมายฉบับนี้เป็นกฎหมายที่เข้าไปดำเนินการกับผู้กระทำความผิดที่ได้กระทำความผิดขึ้น ผลของกฎหมายฉบับนี้ ทำให้หลายฝ่ายต้องมีการปรับตัวกันอย่างหนัก โดยเฉพาะเจ้าพนักงานตามกฎหมายที่จะต้องดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ จำนวนมากมาย (มหาศาล)

         เราต้องไม่ลืมว่า ในขณะนี้ มีมนุษย์ที่อยู่ในโลกกออนไลน์จำนวนมาก หากพิจารณาเฉพาะในสังคมไทย พบว่าในปัจจุบันมีผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตจำนวนกว่า ๗ ล้านคน และหากพิจารณาจากประชากรที่เข้าใช้อินเทอร์เน็ตจากทั่วโลกกว่า ๑ พันล้านคน นั่นหมายความว่า เรากำลังเผชิญกับจำนวนของบุคคลบนอินเทอร์เน็ตจำนวนมากมาย ประกอบกับรูปแบบของการใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่มีวิธีการหลากหลายมากขึ้น กระบวนการไล่จับแบบตำรวจไล่จับขโมยนั้น เป็นสิ่งจำเป็นที่ยืนบนความยากมากขึ้น

         กฎหมายฉบับนี้ เป็นกฎหมายที่บังคับกับผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์หลังจากเกิดการกระทำความผิดเกิดขึ้น และเพื่อให้เกิดผลการทำงานที่มีประสิทธิภาพ จำเป็นที่จะต้องสร้างกฎหมายและนโยบายเพื่อสนับสนุนกฎหมายฉบับนี้เพิ่มเติม โดยเฉพาะในส่วนของการสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการเผ้าระวังสื่อออนไลน์ และแจ้งเหตุไปยังพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อดำเนินการตามกฎหมาย

         เพื่อลดปัญหาการด้านจำนวนและพฤติกรรมของการกระทำความผิด คงต้องเร่งสร้างกฎหมายและนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมให้เกิดจริยธรรมที่ดีในการใช้อินเทอร์เน็ตของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ซึ่งคงต้องรีบส่งสัญญาณไปยังกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงวัฒนธรรม  ที่จะร่วมกันพัฒนากฎเกณฑ์และนโยบายเชิงรูปธรรมในการปลูกฝังจริยธรรมที่ดีในการใช้อินเทอร์เน็ต

         ถ้าไม่อย่างนั้นแล้ว เราคงได้เห็นผู้กระทำความผิดเต็มห้องขัง พนักงานเจ้าหน้าที่ไม่ได้ว่างเว้นจากการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิด ทั้ง เว็บไซต์ลามกอนาจาร การดูหมิ่น หมิ่นประมาท การใช้ เข้าถึงข้อมูล ระบบ เครือข่ายโดยมิชอบ ซึ่งจะเพิ่มรูปแบบและวิธีการที่ซับซ้อนมากขึ้น 
หมายเลขบันทึก: 101054เขียนเมื่อ 6 มิถุนายน 2007 01:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2012 16:37 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท