วิพากษ์โลกานุวัตรกับการค้าเสรี ตอนที่ 2


เศรษฐกิจภายใต้กระแสโลกานุวัตร

คุยกันพาเพลิน

             หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญได้ตัดสินคดียุบพรรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว คงทำให้ทิศทางด้านการเมืองชัดเจนขึ้นซึ่งก็มีอีกหลากหลายประเด็นที่ทำให้เราต้องคิดกันต่อ อย่างไรก็ตามแต่เราทุกคนต้องเคารพในกฎระเบียบของบ้านเมืองถ้าไม่ยอมรับในกฎเกณฑ์ กติกาในบ้านเมือง บ้านเมืองคงวุ่นวาย และ อีกประการหนึ่งในเรื่องทางการเมืองคือ ใครกระทำการอันใดไว้ผลนั้นย่อมตอบสนองคืนย้อนมา สุดท้ายนี้ Sunday-weekly ขอตั้งคำถาม “ทำไมต้องเป็นประชาธิปไตย”


สวัสดีครับท่านผู้อ่านในครั้งนี้ขอนำเรื่องราวเกี่ยวกับโลกานุวัตร ในบทที่ 2ซึ่ง Sunday - weekly ได้เขียนไว้นานแล้วมาให้ท่านผู้อ่านได้อ่านกัน เรื่องราวที่กล่าวไว้ในที่นี้เป็นเรื่องราวความสัมพันธ์ระหว่างโลกานุวัตรกับเศรษฐกิจ

บทที่ 2

             

           ในบทที่2 นี้จะเป็นการกล่าวถึงเรื่องราวทางเศรษฐกิจ เศรษฐกิจภายใต้กระแสโลกาภิวัตร( Globalization ) ถือได้ว่าเป็นเรื่องราวที่สัมพันธ์แนบแน่นกันมาก ซึ่งความสัมพันธ์ระหว่างเศรษฐกิจกับโลกาภิวัตรได้อธิบายไว้ในบทที่ 1 เศรษฐกิจที่เกิดขึ้นตรงนี้ได้ก่อรูปแนวความคิดทางเศรษฐกิจแบบใหม่ ( New Economic ) แนวคิดใหม่ทางเศรษฐกิจคือ ทั่วทั้งโลกสามารถติดต่อค้าขายกันอย่างอิสรเสรี มิได้มีประเทศใดหรือรัฐใดเป็นเจ้าของศูนย์กลางทางการค้า การค้าขายภายใต้เศรษฐกิจในรูปลักษณะนี้ได้มีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น

           โดยแรกเริ่มเดิมทีการค้าขายซึ่งการนำเงินตราเข้ามาเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนได้เริ่มขึ้นตะวันตกหรือแถบยุโรปนั้นเอง แล้วค่อยแพร่ขยายมายังตะวันออกหรือในแถบเอเซีย ตามมาด้วยแนวคิดของเศรษฐกิจแบบทุนนิยม การค้าที่ขยายตัวหรือเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ กำลังหาจุดสมดุลของการค้าเพื่อให้การค้านั้นไม่หยุดนิ่งมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งประเด็นหรือปัจจัยที่เป็นปัญหาต่อการเจริญเติบโตทางการค้าและเศรษฐกิจคือ อาณาเขต , ประชากร, อำนาจอธิปไตย,รัฐบาล ซึ่งสิ่งต่างๆ ที่กล่าวถึงตรงนี้เป็นองค์ประกอบของรัฐ

           องค์ประกอบของรับตามแนวคิดสมัยใหม่ คือในช่วง ค.ศ.ที่ 15 -20 กำลังกลายเป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตทางการค้า แนวคิดเพื่อหาทางออกและทำให้การค้าเจริญเติบโตไปได้อีก คือการที่รัฐหรือประเทศจะต้องพยายามลดขอบเขตข้อจำกัดในเรื่ององค์ประกอบของรัฐ การจำกัดบทบาทขององค์ประกอบของรัฐกำลังถูกถกเถียงว่าจะเป็นเครื่องมือในการช่วยให้การค้าและเศรษฐกิจเจริญเติบโต

           องค์ประกอบแรกคือเรื่อง อาณาเขต อาณาเขตเป็นเรื่องที่ถูกการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจท้าทายเป็นอย่างมาก เพราะเมื่อก่อนการค้าขายจะเกิดขึ้นภายในรับหรืออาณาเขตของประเทศนั้นเท่านั้นมิได้มีการขยายไปสู่รัฐอื่น การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจึงทำลายประเด็นตรงนี้ไปเสียแล้ว หรือจะเป็นองค์ประกอบในเรื่องของอำนาจอธิปไตย ซึ่งเมื่อในอดีตแต่เก่าก่อนอำนาจอธิปไตยเป็นเรื่องที่มิสามารถจะลุกล้ำได้ แต่การเปลี่ยนทางด้านเศรษฐกิจของกระแสโลกาภิวัตรได้ทำลายลงแล้ว สิ่งต่าง ๆเหล่านี้ได้พยายามผลักดันให้ระบบเศรษฐกิจการค้าชนะอุปสรรคข้อจำกัดองค์ประกอบของรัฐ แนวคิดที่ถือว่าเป็นจุดอิ่มเอิบคือ การทำระบบการค้าเดียวทั่วทั้งโลก แนวคิดนี้ถูกขยายด้วยการกระทำอย่างเช่น การค้าเสรีเป็นต้น

 

                แนวคิดเรื่องการค้าเสรี  ( Free Trade Policy ) มีรากฐานมาจากทฤษฎีการได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ ( The Theory of Comparative Advantage ) ที่เสนอว่า แต่ละประเทศควรเลือกผลิตสินค้าที่ตนมีต้นทุนการผลิตได้เปรียบโดยเปรียบเทียบมากที่สุด แล้วนำสินค้าที่ผลิตได้นั้นแลกเปลี่ยนกับสินค้าที่ประเทศอื่นมีต้นทุนการผลิตได้เปรียบ ถึงแม้ว่าประเทศหนึ่งจะอยู่ในฐานะเสียเปรียบอีกประเทศหนึ่งในการผลิตสินค้าทุกชนิดก็ตาม ประเทศทั้งสองก็ย่อมจะทำการค้าต่อกันได้ โดยแต่ละประเทศจะเลือกผลิตสินค้าที่เมื่อเปรียบเทียบสินค้าอื่นแล้ว ประเทศตนสามารถประเทศตนสามารถผลิตได้ต้นทุนต่ำที่สุด แล้วนำมาแลกเปลี่ยนสินค้าที่ผลิตขึ้นอีกประเทศหนึ่ง  

 

        นโยบายการค้าเสรีไม่สนับสนุนการเก็บภาษีศุลกากรในอัตราที่สูงและขจัดข้อบังคับต่าง ๆ ที่กีดกันการค้าระหว่างประเทศ ดังนั้นประเทศที่ใช้นโยบายการค้าเสรีจึงมีลักษณะโดยทั่วไปดังนี้ ประการที่หนึ่ง จะมีการดำเนินการผลิตตามหลักการแบ่งงานกันทำ กล่าวคือ เลือกผลิตแต่สินค้าที่ประเทศนั้นมีประสิทธิภาพในการผลิตสูงและมีต้นทุนการผลิตต่ำ ประการที่สอง ไม่มีการเก็บภาษีคุ้มกัน ( Protective Duty ) เพื่อคุ้มครองช่วยเหลืออุตสาหกรรมในประเทศแต่อย่างใด คงเก็บแต่ภาษีศุลกากรเพื่อเป็นรายได้ของรัฐ ประการที่สาม ไม่ให้สิทธิพิเศษหรือกีดกันสินค้าของประเทศใดประเทศหนึ่ง มีการเก็บภาษีอัตราเดียวและให้ความเป็นธรรมแก่สินค้าทุกประเทศเท่า ๆ กัน ประการสุดท้ายคือ ไม่มีข้อจำกัดทางการค้า ( Trade Restriction ) ที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศ ไม่มีการควบคุมการนำเข้าหรือส่งออกที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าระหว่างประเทศ ยกเว้นการควบคุมสินค้าบางอย่างที่จะเป็นอัตรารายต่อสุขภาพอนามัย ศิลธรรมจรรยาหรือความมั่นคงของรัฐเท่านั้น

             จากแนวคิดพื้นฐานดังกล่าวได้ผลักดันให้ประเทศไทยซึ่งยืนอยู่บนรากฐานแนวคิดของโลกทุนนิยม และยังมีนโยบายทางการด้านเศรษฐกิจที่สอดรับกับแนวคิดการค้าเสรี โดยประเด็นที่จะกล่าวถึงเป็นการกล่าวถึงการทำการค้าเสรีระหว่างไทยกับจีน การทำการเสรีระหว่างไทยกับจีนมีอยู่หลายแง่มุม แง่มุมที่ต้องมองคือ ณ วันนี้ไทยกำลังอยู่ภายใต้กระแสของโลกาภิวัตร ซึ่งกระแสนี้ได้ผลักดันให้ไทยต้องมีการพัฒนาและปรับตัว การทำการค้าเสรีก็เปรียบเสมือนการปรับตัวเองของไทยเพื่อให้ยืนอยู่ได้ในกระแสโลกาภิวัตร ส่วนประเทศจีนเองก็พยายามปรับตัวเหมือนกัน หากมองในมุมทางด้านรัฐศาสตร์แล้วจีนเองก็ยังคงมีข้อจำกัดด้วยแนวคิดพื้นฐานทางด้านการปกครอง ซึ่งวันนี้ประเทศจีนเองก็มีรูปแบการปกครองแบบสังคมนิยมอยู่ ด้วยแนวคิดพื้นฐานทางการเมืองนี้เองจึงทำให้การปรับเปลี่ยนบริบทด้านต่าง ๆ ของจีนเป็นเรื่องที่สำคัญ และในเวลานี้ก็มิอาจที่จะต้านทานกระแสโลกาภิวัตรได้ การปรับตัวของประเทศจีนวันนี้ เพื่อให้อยู่ได้ในกระแสโดยเปิดเศรษฐกิจการค้าเป็นแบบเสรี

 

               ประเด็นต่อมานั้นจะกล่าวถึงเรื่อง FTA ไทยกับจีน ซึ่งในที่นี้จะมิขอกล่าวว่าข้อตกลงเขตการเสรีระหว่างไทยกับจีนมีอะไรบ้าง ( เอกสารแนบท้าย ) แต่จะมองในมุมที่ว่า การค้าเสรี ณ วันนี้ได้กลายมาเป็นเงื่อนไขของโลกาภิวัตร( Globalization ) อย่างแนบแน่นจนไม่สามารถจะแยกแยะออกได้ หากพิจารณาถึงแง่มุมทางโลกาภิวัตรจะพบว่า โลกภิวัตร( Globalization )ได้ยืนอยู่ได้ด้วยฐานของข้อมูลข่าวสาร ฉันใดก็ฉันนั้น การค้าเสรีก็ยืนอยู่ได้ด้วยข้อมูลซึ่ง การค้าเสรีได้สร้างระบบการค้าแบบใหม่ที่มิใช้การค้าที่อิงอยู่กับอำนาจการเมืองอีกแล้ว เป็นการค้าที่เปิดกว้างมากขึ้นและเป็นการค้าของคนทั้งโลก

              เมื่อวิเคราะห์ถึงแนวนโยบายเรื่องการค้าเสรียิ่งตอกย้ำ ถึงแนวคิดเรื่องการข้ามรัฐ ( Bypassing state ) ซึ่งได้กล่าวไว้ในบทที่ 1 อย่างชัดเจน เพราะว่าการค้าเสรีคือการค้าที่มีการก้าวข้ามรัฐ และการก้าวข้ามรัฐของรูปแบบการค้าเสรีนี้เองยังทำให้ตัวเศรษฐกิจได้ขยายวงกว้าง จนเป็นตัวกำหนดการก้าวเดินของรัฐแต่ละรัฐ ในอดีตจะพบว่าความมั่นคงของรัฐจะขึ้นอยู่ที่ กำลังพล รัฐไหนมีประชากรมาก มีกำลังทหารมาก ก็เท่ากับว่ารัฐนั้นมีความมั่นคง ซึ่งในปัจจุบันนี้ได้กลับกลายเปลี่ยนแปลงไปทั้งหมดแล้ว ฉะนั้นรัฐที่มีความมั่นคงมิได้เป็นรัฐที่มีกำลังพลมาก แต่เป็นรัฐที่มีเศรษฐกิจเจริญก้าวหน้า จะเห็นตัวอย่างที่ชัดเจนคือ ประเทศสิงคโปร์  

 

                   นโยบายการค้าเสรี นั้นได้แสดงพลังให้เห็นอย่างชัดเจนแล้วว่าโลกทั้งโลกกำลังเป็นโลกานุวัตร ซึ่งเรื่องของการที่โลกเป็นโลกเดียวกันนั้น เพิ่งเริ่มมีการกล่าวถึงกระแสโลกาภิวัตร เพราะในสมัยอดีตโลกนั้นถูกมองว่ามีขนาดใหญ่เกินกว่าที่จะก้าวข้ามไปหากัน แต่พอเกิดโลกานุวัตรขึ้นโลกทั้งใบกลับแคบลงอย่างชัดเจน ยิ่งเมื่อเกิดการค้าเสรียิ่งบ่งบอกได้ชัดเจนว่าโลกนั้นแคบลงมาก ทวีปหนึ่งทำการค้าขายกับอีกทวีปหนึ่งนั้นง่ายมาก มีการนำระบบInternet มาลองรับการติดต่อ โลกในยุคโลกาภิวัตรนั้นแคบลงอย่างแท้จริง   

 

            ดังนั้นอาจกล่าวในบริบทตอนท้ายนี้ว่า การค้าเสรีนั้นเกิดมาจากโลกาภิวัตร และที่สำคัญการค้าเสรีได้สนับสนุนต่อแนวคิดการก้าวข้ามรัฐ ( Bypassing state ) และการค้าเสรีได้พยายามสร้างมิติมุมมองใหม่ให้เกิดขึ้น ทั้งในแง่มุมทางเศรษฐกิจ การเมือง แนวคิดระหว่างรัฐต่อรัฐก็แปลเปลี่ยนไปด้วย การเกิดการค้าเสรี ณ ที่นี้มิได้มีผลในแง่บวกเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีผลในด้านลบอีกด้วย หากมองในแง่มุมทางสังคมแล้วจะพบได้ว่า การเกิดการค้าเสรี ได้มองข้ามความหลากหลายทางสังคมหรือภูมิปัญญาทางสังคมไป การมองข้ามความหลากหลายทางภูมิปัญญาของสังคมก็เปรียบเสมือนความพยายามที่จะละทิ้งความสำคัญของคุณค่าทางสังคม โดยมุ่งเน้นในแง่มุมเพียงด้านเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียว จะเห็นได้ว่าในทุกสังคมจะมีภูมิปัญญาของตัวเอง ในระดับหมู่บ้านอาจมีการประชุมกรรมการเหมืองฝาย มีการเรียกร้องให้ผู้ใหญ่ของหมู่บ้านดูแลเรื่องการทำมาหากิน  ซึ่งตรงนี้สะท้อนให้เห็นว่าในระดับหมู่บ้านมีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ดังนั้นมุมมองของความเป็นภูมิปัญญาความหลากหลายทางความคิด จึงเป็นเรื่องที่โลกาภิวัตรและการค้าเสรีมองข้ามไป การมองข้ามตรงนี้เป็นเรื่องที่อันตรารายอย่างยิ่ง

วันนี้คงพอแค่นี้ก่อน

 เอกสารอ้างอิง

1    รุ่งนภา  บุญยะนั้นท์ ความเป็นมาของการค้าเสรี สำนักมาตรการนำเข้าส่ง

ออกสินค้าทั่วไปกรมการค้าต่างประเทศ : กรุงเทพ 2549

 

2   ----------------------- อ้างแล้ว

 

3    ธีรยุทธ บุญมี ประชาสังคม Civil society หน้า20 บทที่ 1 บทนำ , กรุงเทพฯ :

 สายธาร , 2546

 

 

                 

หมายเลขบันทึก: 100963เขียนเมื่อ 5 มิถุนายน 2007 15:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 22:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท