ตัวชี้วัดความพอเพียงทางธุรกิจ


(สำหรับโครงการศึกษาวิจัยเพื่อจัดทำดัชนีชี้วัดภาวะเศรษฐกิจและสังคมโดยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง)

กำลังช่วยอาจารย์ในโครงการฯ พัฒนาตัวชี้วัดความพอเพียงทางธุรกิจ ขณะนี้มีอยู่ด้วยกัน 19 ตัว แบ่งเป็นหมวดต่างๆ ดังนี้

 

ความพอประมาณ

  • อัตราการหมุนเวียนของสินค้าคงเหลือ (วัดเรื่องวัตถุดิบ, สินค้าระหว่างผลิต, สินค้าสำเร็จรูป)
  • สัดส่วนต้นทุนด้านโลจิสติกส์ (วัดการขนส่ง)
  • อัตราการว่างงาน (วัดการใช้คน)
  • สัมประสิทธิ์การกระจายรายได้หรือผลตอบแทนของบุคลากรในองค์กร (วัดการเอาเปรียบแรงงาน)
  • สัดส่วนยอดเงินบริจาคขององค์กร (เมื่อให้ได้ ก็ถึงซึ่งความพอ)

ความมีเหตุผล

  • อัตราการหมุนเวียนของสินทรัพย์ถาวร (วัดความสมเหตุสมผลในการลงทุน)
  • อัตราส่วนของการซื้อเทคโนโลยีมาใช้ในกิจการ (วัดการพึ่งพาภายนอก)
  • อัตราการเข้าออกของบุคลากร (วัดความมีเหตุผลในการบริหาร)

การมีภูมิคุ้มกัน

  • อัตราส่วนหนี้สินต่อทุน (วัดการสร้างภูมิคุ้มกันต่อผลกระทบจากภายนอก)
  • อัตราส่วนค่าใช้จ่ายทางการเงินต่อยอดขาย (วัดการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวระยะสั้น)
  • สัดส่วนการจดทะเบียนเลิกกิจการ (วัดความยั่งยืนของกิจการ)
  • การลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนา (วัดการสร้างภูมิคุ้มกันในตัวระยะยาว)

ความรู้

  • การลงทุนด้านการฝึกอบรม (วัดความรู้ลึกในงานที่ทำ)
  • ผลิตภาพแรงงานเชิงมูลค่าเพิ่ม (วัดความรู้รอบในการประยุกต์ให้เกิดมูลค่าในงานที่ทำ)
  • จำนวนชั่วโมงของการปฏิบัติธรรมทางศาสนา (วัดการส่งเสริมให้เกิดความระลึกรู้หรือสติ และความรู้ชัดหรือปัญญา)

คุณธรรม

  • ดัชนีวัดคอร์รัปชันขององค์กร (วัดความซื่อสัตย์สุจริต)
  • อัตราการเลี่ยงภาษีของธุรกิจ (วัดความซื่อสัตย์สุจริต)
  • อัตราการร้องเรียนของผู้บริโภค (วัดความอดทน มีความเพียรและความรอบคอบระมัดระวังในการดำเนินธุรกิจ)
  • จำนวนชั่วโมงของการอาสาสมัครเพื่อบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ (วัดการแบ่งปัน การช่วยเหลือเกื้อกูล ประสานงาน และประสานประโยชน์กัน)

ทั้งนี้ ยังไม่ได้พิจารณาว่ามีหน่วยงานใดที่เผยแพร่ข้อมูลจำพวกนี้อยู่บ้างหรือไม่ หากไม่สามารถหาข้อมูลตัวเลขตามตัวชี้วัดเหล่านี้ได้ คงต้องปรับปรุงตัวชี้วัดบางตัวใหม่

หมายเลขบันทึก: 100753เขียนเมื่อ 4 มิถุนายน 2007 19:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 มิถุนายน 2012 02:19 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ในส่วนของความพอประมาณ ประยุกต์ดัชนีชี้วัดกับงานบริการอย่างไรดีครับ -- ผมเห็นว่าหลายตัวน่าสนใจ แต่อีกหลายตัวก็น่าจะเหมาะสำหรับการผลิตมากกว่า

เรียนอาจารย์พิพัฒน์ที่เคารพ

หนูอยากทราบเกี่ยวกับการเปรียบเทียบเศรษฐกิจพอเพียงในระดับต่างๆ ตั้งแต่บุคคล สังคม จนถึงประเทศรวมทั้งประเทศไทยกับ

ประเทศอื่นๆว่ามีการใช้อะไรเปรียบเทียบที่เป็นรูปธรรมว่า หมู่บ้านนั้นพอเพียงหรือไม่พอเพียงอย่างไร ทำยังไงคะ

ขอบคุณมากค่ะ

นักศึกษาเศรษฐกิจพอเพียง มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

เรียนคุณปวีณา

ผมได้พูดเรื่องนี้ในงานวิทยานิพนธ์อยู่เหมือนกัน พออาจจะช่วยได้บ้าง ยังไงลองไปค้นคว้าดูเพิ่มเติมด้วย

http://www.mcu.ac.th/En/thesisdetails.php?thesis=255014

พิพัฒน์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท