บันทึก (1) เล่าเรื่อง สสย.


เล่าเรื่อง  แผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน (สสย.)
                    สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในฐานะที่เป็นหน่วยงานขับเคลื่อนสังคมไทยสู่สังคมสุขภาวะ ได้ให้กำเนิดหรือหรือก่อตั้งแผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน (สสย.)
                  เพื่อเป็นแผนงานหลักอีกแผนหนึ่งของ สสส. ในอันที่จะเสริมสร้างให้เกิดสื่อดีที่สร้างสรรค์สำหรับเด็ก และเยาวชน ด้วยเห็นว่าปัจจุบันมีสื่อหลายชนิดที่อยู่รอบตัว และเข้าถึงเด็กและเยาวชนได้อย่างทั่วถึง ประกอบกับสื่อเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ทรงอิทธิพลในการถ่ายทอดค่านิยม ทัศนคติ และแบบอย่างแก่เด็ก สื่อเข้าถึงคนทุกกลุ่ม ทุกวัย ได้อย่างใกล้ชิดและกว้างขวาง และน่าจะเป็นตัวแปรสำคัญที่จะทำให้สังคมเกิดสุขภาวะหรือทุกข์ภาวะ
          ดังนั้นหากมีการพัฒนากระบวนการสร้างสรรค์สื่อและการเผยแพร่สื่อที่มีคุณภาพต่อเยาวชน ครอบครัวและสังคม ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมทั้งภาครัฐ เจ้าของเรื่อง ผู้ผลิตสื่อ ภาคธุรกิจ ภาคสังคม ชุมชน ครอบครัว ตลอดจนเด็กและเยาวชน สื่อ น่าจะเป็นกลไกหนึ่งในการพัฒนาและเสริมสร้างสุขภาวะเด็กและเยาวชนได้
 เป้าหมายของแผนงาน
 1. เด็กและเยาวชนเข้าถึงสื่อสร้างเสริมสุขภาวะ ผ่านช่องทางเผยแพร่ต่างๆ
 2. มีต้นแบบของสื่อสร้างเสริมสุขภาวะเยาวชน
 3. ผู้ผลิตสื่อเพื่อเยาวชนได้รับการพัฒนาศักยภาพและสามารถผลิตสื่อคุณภาพสู่  สังคม
4. ผู้บริโภคสื่อโดยเฉพาะเด็ก เยาวชนและครอบครัว ได้เรียนรู้เท่าทันสื่อ สามารถเลือกบริโภคสื่อและมีส่วนร่วมในการสร้างสรรค์สื่อเพื่อเยาวชนนโยบายพัฒนาเด็กและเยาวชนได้รับการสนับสนุนในฐานะวาระแห่งชาติและได้รับการตอบรับจากสาธารณชน
ยุทธศาสตร์หลักของแผนงานฯ (พ.ศ.2550 2552)
                ยุทธศาสตร์หลักของแผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน (สสย.) เพื่อเสริมสร้างให้เกิดสื่อดีที่สร้างสรรค์สำหรับเยาวชน แบ่งออกเป็น 4 ด้านดังนี้
1.    การพัฒนาช่องทางเผยแพร่สื่อสร้างสรรค์
2.    การสนับสนุนการผลิตสื่อ
3.    การพัฒนาศักยภาพผู้ผลิตสื่อ
4.    การสร้างกระแสสังคมและการมีส่วนร่วม
ยุทธศาสตร์ที่หนึ่ง  การพัฒนาช่องทางเผยแพร่สื่อ
·       การพัฒนาสถานีโทรทัศน์ ETV ให้เป็นช่องทางเผยแพร่รายการสร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชนทุกวัย และเตรียมพร้อมสำหรับสถานีโทรทัศน์เพื่อเด็กและครอบครัวย
·      การพัฒนาช่องทางเผยแพร่รายการโทรทัศน์เด็กที่มีคุณภาพและเข้าถึงเด็กมากยิ่งขึ้น โดยผ่านช่องทางโทรทัศน์ / เคเบิลท้องถิ่น / อินเตอร์เน็ตทีวี / IPTV ฯลฯ
·      การพัฒนาวิทยุสำหรับเด็กและเยาวชนเพื่อเผยแพร่รายการวิทยุที่มีคุณภาพและเข้าถึงเด็กหลากหลายมากยิ่งขึ้น
·      การพัฒนาหนังสือเด็กเพื่อให้มีหนังสือที่มีคุณภาพและกระจายเข้าถึงเด็กทุกกลุ่ม
·      การพัฒนาสื่อทางเลือก เช่น ลิเก ละคร สื่อพื้นบ้าน ฯลฯ เพื่อศึกษาและพัฒนาการใช้สื่อทางเลือกที่มีเนื้อหาส่งเสริมสุขภาวะเยาวชน ฯลฯ
ยุทธศาสตร์ที่สอง  การสนับสนุนการผลิตสื่อเด็กและเยาวชนที่มีเนื้อหาส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์
·       สนับาสนุนการผลิตสื่อ (รายการโทรทัศน์ รายการวิทยุ หนังสือ) สำหรับเด็กและเยาวชน และเผยแพร่ผ่านช่องทางที่ได้พัฒนาในยุทธศาสตร์ที่หนึ่ง
·       สนับสนุนการผลิตสื่อต้นแบบสำหรับเด็ก เช่น รายการโทรทัศน์ วิทยุ สื่อมัลติมีเดีย แอนิเมชั่น ภาพยนตร์สั้นๆ เพื่อกระตุ้นให้มีการพัฒนาวงการสื่อเด็ก
·      การระดมทุนและทรัพยากรเพื่อการผลิตสื่อเด็กและผลักดันเรื่องนี้ให้เป็นนโยบายรัฐ ฯลฯ
ยุทธศาสตร์ที่สาม  การพัฒนาศักยภาพผู้ผลิตสื่อสำหรับเด็ก
·       สร้างเครือข่ายผู้ผลิตและเครือข่ายวิชาชีพด้านสื่อเด็ก
·       การจัดอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มผู้ผลิต ถ่ายทอดประสบการณ์จากมืออาชีพสู่คนรุ่นใหม่
·       ส่งเสริมให้เกิดผู้ผลิตสื่อเด็กรายใหม่ / รายย่อย และสนับสนุนโอกาสเข้าสู่ทางเผยแพร่สื่อ
·       พัฒนาและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการผลิตสื่อสำหรับเด็ก
·       พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนเรื่องสื่อเด็กในสถาบันการศึกษา
·       การให้รางวัลแก่ผู้ผลิตสื่อเด็กทีดีมีคุณภาพ
·       พัฒนาระบบสนับสนุนผู้ผลิตสื่อเด็ก เช่น มาตรการภาษี เวลาออกอากาศ ช่องทางเผยแพร่ ฯลฯ
ยุทธศาสตร์ที่สี่  การสร้างกระแสสังคมและการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็ก
·       พัฒนาเครือข่ายเฝ้าระวังตรวจสอบสื่อ
·       พัฒนามาตรฐานสื่อสำหรับเด็ก เช่น ระบบเรตติ้ง
·       การจัดระดับ และจำแนกสื่อตามเนื้อหาและกลุ่มผู้รับสื่อ ฯลฯ
·      พัฒนาหลักสูตรและกิจกรรมเรียนรู้เท่าทันสื่อ(Media Education) เพื่อให้การศึกษาแก่ผู้บริโภค
·       สร้างเครือข่ายเยาวชน ครอบครัว และชุมชน ฯลฯ
                        
                      งานของโครงการ ชวนอ่านหนังสือดี   เปิดพื้นที่การเรียนรู้”  ที่ได้รับการสนับสนุนทุนดำเนินงาน 12 เดือนจากสสส.โดยผ่านแผนงานสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชนนั้นเป็นโครงการที่มีเป้าหมายอยู่ที่การทำงานเพื่อส่งเสริมให้เกิดการรักการอ่าน(หนังสือ)ในเด็กอายุตั้งแต่o-12 ปีครอบครัวและชุมชนนำร่อง9พื้นที่ 5 เขตในกรุงเทพมหานครและ1พื้นที่ในเขตอำเภอบางบัวทองจังหวัดนนทบุรี _โดยงานทั้งหมดอยู่ภายใต้การดูแลของแผนสื่อสร้างสุขภาวะเยาวชน(สสย.)นั่นเอง
                                                                    บันทึกเมื่อวันอาทิตย์ที่1  เมษายน  2550
หมายเลขบันทึก: 100721เขียนเมื่อ 4 มิถุนายน 2007 16:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:44 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท