ปลูกกล้วย เรื่องกล้วยๆ


การปลูกก็ไม่ยากหรือต้องการการดูแลเป็นพิเศษอะไร บริเวณที่ปลูกเป็นดินค่อนเหนียวและชื้น อยู่ใกล้ๆกับที่ล้างจาน ตลอดเวลาที่ปลูกแทบจะไม่เคยรดน้ำเลยแต่ต้นก็งามอวบสมบูรณ์
เรื่องปลูกกล้วยที่จะเล่านี้เป็นเรื่องต่อเนื่องมาจากตำลึงข้างรั้ว  กล่าวคือไปได้หน่อกล้วยน้ำว้าในคราว เดียวกับที่ได้เถาตำลึงมาปลูกนั่นเอง ตำลึงนั้นนำไปปลูกแถวๆรั้วเหล็กดัดข้างบ้าน ส่วนหน่อกล้วยเห็นว่าต้องการพื้นที่มากกว่าเลยปลูกติดกำแพงหลังบ้านที่มีเนื้อที่กว้างกว่าข้างบ้าน
การปลูกก็ไม่ยากหรือต้องการการดูแลเป็นพิเศษอะไร บริเวณที่ปลูกเป็นดินค่อนเหนียวและชื้น อยู่ใกล้ๆกับที่ล้างจาน ตลอดเวลาที่ปลูกแทบจะไม่เคยรดน้ำเลยแต่ต้นก็งามอวบสมบูรณ์ ไม่นาน(จำเวลาเป็นเดือน เป็นปีไม่ได้)ก็ออกปลีให้ผลเป็นเครือยาว จะทุลักทุเลก็ตอนตัดปลี ตัดเครือกล้วยและโค่นต้นกล้วยที่ออกเครือแล้วนี่แหละ อาจจะเนื่องจากไม่ได้เป็นมืออาชีพจึงไม่มีทักษะนั่นเองเรื่องง่ายๆของคนอื่นจึงยากเย็นเหลือเกินสำหรับเรา
จากหน่อกล้วยสามหน่อเล็กๆเขาขยายเป็นหน่อใหม่หน่อแล้วหน่อเล่าสี่หน่อห้าหน่อ กินบริเวณกว้างพอสมควรแต่ไม่ถึงกับรก ต้นกล้วยน่าจะเป็นต้นไม้มงคลได้เหมือนกันในแง่ที่ "ไม่เคยตาย" พอตัดเครือกล้วยและโค่นต้นเก่าก็จะเห็นว่าข้างๆต้นเก่านั้นจะมีหน่อใหม่แทงขึ้นมาแทนที่แล้ว
กล้วยเครือหนึ่งนับจำนวนเป็นหวีก็ได้อยู่ประมาณ๙–๑๓หวี นอกจากกินเอง แจกเพื่อนบ้าน แล้วยังเหลือขายอีก เพื่อนบ้านที่บ้านเขาอยู่ถนนสายหลักและเปิดหน้าบ้านขายข้าวเหนียว ส้มตำ ไก่ย่าง น้ำตก และของกินประเภทขบเคี้ยวอีกเล็กๆน้อยๆมาเห็นเข้าแล้วบอกว่า “ เอาไปฝากขายซิจะขายให้ “ ส่งให้เขาหวีละสิบบาท เขาไปขายสิบห้าบาทบ้าง สิบสามบาทบ้าง ก็เป็นรายได้เล็กๆน้อยให้ชื่นใจกับน้ำพักน้ำแรงที่เป็นผลพลอยได้นอกเหนือจากความสุขที่อิ่มเต็มล้นใจ
ก็นั่นแหละบางคนบอกว่าซื้อเขากินก็ได้จะกี่ตังค์กันดีกว่ามาปลูกให้รก เกะกะบ้านถ้าอย่างนั้นก็เลิกคุยกันไปเลยแสดงว่าเราอยู่ในคนละอารมณืและความรู้สึกป่วยการคุยกันเรื่องนี้หาเรื่องอื่นมาคุยกันเถอะหรือก็นั่นเป็นอีกความคิดเห็นก็ไม่ว่ากัน
ในแง่ของการเป็นยานั้น กล้วยน้ำว้าถือเป็นสมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน ดังที่ปรากฏในเอกสารประกอบการสอนวิชาพฤษศาสตร์การแพทย์ของศาสตราจารญพเยาว์ เหมือนวงษ์ญาติ มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์ไทยเดิมฯ อายุรเวทวิทยาลัย( ชีวกโกมารภัจจ์ ) ว่ากล้วยน้ำว้าห่ามช่วยป้องกันบำบัดโรคแผลในกระเพาะอาหารได้ โดยนำผลกล้วยน้ำว้าห่าม มาฝานตากแดด บดเป็นผง ชงดื่มครั้งละ๓-๔ ช้อนชาหรือ ๕–๗ กรัมผสมน้ำหรือน้ำผึ้ง๑–๑ ๑/๒ ช้อนโต๊ะ ดื่มวันละ ๔ครั้งก่อนอาหารและก่อนนอน การที่ผงกล้วยช่วยป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหารได้เพราะในกล้วยมีสารที่จะไปกระตุ้นให้เซลล์ในเยื่อบุกระเพาะหลั่งสารพวก MUCIN ออกมาช่วยเคลือบกระเพาะ
 
นอกจากนี้ผงกล้วยห่ามยังช่วยรักษาอาการท้องเสียได้โดยชงผสมน้ำดื่มครั้งละ ๓–๔ช้อนชาวันละ๓ครั้งก่อนอาหารในกล้วยห่ามมีสารแทนนินจึงสามารถแก้อาการท้องเสียได้ แต่หากกินแล้วมีอาการท้องอืดเฟ้อแนะนำให้ป้องกันโดยใช้ร่วมกับขิงหรือกระวาน
ส่วนในกรณีที่ช่วยแก้อาการท้องผูกนั้นโครงการสมุนไพรเพื่อการพึ่งพาตนเองแนะนำให้กินกล้วยสุกเพราะในกล้วยสุกจะมีสารเพกติน(pectin)ซึ่งเป็นเส้นใยอ่อนนุ่มสามารถกระตุ้นให้เกิดการขับถ่ายได้หรือบางตำรากล่าวว่าเพกตินจะไปช่วยเพิ่มกากอาหารในลำไส้ ซึ่งเมื่อมีกากมากก็จะไปดันผนังลำไส้ทำให้เกิดอาการปวดถ่ายได้
การกินกล้วยน้ำว้าสุกเพื่อแก้อาการท้องผูกนี้ผู้แนะนำบอกว่าควรกิน ๑–๖ ลูก แล้วแต่ว่าจะท้องผูกมากน้อยแค่ไหนโดยการกินนั้นอาจกินก่อนนอนหรือหลังตื่นนอนครั้งเดียวหรือแบ่งกินก่อนและหลังอาหารวันละสองครั้งเช้า – เย็น หรือแบ่งกินก่อนหรือหลังอาหารวันละสามครั้งเช้า-กลางวัน-เย็นก็ได้แล้วแต่สะดวก
ทั้งนี้ควรกินติดต่อกันสักระยะหนึ่งจึงจะเห็นผลเนื่องจากฤทธิ์ในการเป็นยาระบายของกล้วยนั้นไม่รุนแรงหรือให้ผลทันทีทันใด แนะนำให้กินกล้วยเป็นประจำได้ทุกวันก็จะดี
เมื่อได้อ่านบทความของเภสัชกร สรจักร ศิริบริรักษ์ที่กล่าวว่าหากวิเคราะห์คุณค่าทางอาหารของกล้วยสุก๑ ผลหรือประมาณ ๑๑๔ กรัมนั้นจะให้สารสำคัญอะไรและเป็นจำนวนเท่าใดนั้นพบว่า
ในกล้วยสุกหนึ่งผลจะสารอาหารที่มีคุณค่ามากมาย เช่น ให้วิตามินบี ๖ ถึง๓๓.๑ % RDA และให้โปตัสเซียมถึง๒๒.๖% RDAเป็นต้น (% RDAคือตัวเลขแสดงว่าสารชนิดนั้นมีเป็นกี่เปอร์เซนต์ของปริมาณที่ร่างกายต้องการใน ๑ วัน )เช่น หมายความว่ากล้วยหนึ่งผลมี วิตามิน บี ๖ ถึง๓๓.๑ % และ โปตัสเซียมถึง๒๒.๖%ของปริมาณที่ร่างกายต้องการในหนึ่งวัน
ผู้เขียนอยากจะทราบว่าวิตามินบี ๖ และโปตัสเซียมมีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างไรจึงไปอ่านเพิ่มเติมจากเอกสารทางด้านโภชนาการ

ซึ่งหากจะเล่าอย่างย่อๆก็คงได้ความว่า วิตามินบี๖ มีประโยชน์อย่างเหลือหลายต่อระบบประสาทและสมอง และจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการสร้างเม็ดเลือดแดง ส่วนโปตัสเซียมนั้นก็มีส่วนช่วยรักษาสมดุลน้ำและสมดุลกรด-ด่างทำให้ขบวนการเผาผลาญต่างในร่างกายดำเนินไปด้วยดีและช่วยรักษาสมดุลการทำงานของระบบหลอดเลือดหัวใจและระบบประสาทให้ปกติ
 ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นการหยิบโน่นนิดนี่หน่อยมาฝาก แต่ก็น่าจะเพียงพอที่เป็นเหตุผลสนับสนุนว่าทำไมจึงมาชวนปลูกกล้วยไว้เป็นยา แต่ก็ไม่ว่ากันหากไม่สะดวกปลูก แต่สะดวกซื้อ ขอเพียงแต่เห็นกล้วยน้ำว้าผลไม้พื้นบ้านออยู่ในสายตาแล้วหันมาบริโภคกล้วยน้ำว้าสุกวันละผลเป็นอย่างน้อยเพื่อสุขภาพของตนเองและสุขภาพของชาติ
ต้นหนึ่งออกเครือและแก่จัดพอที่จะตัดเครือมีตัวตา ว่าใช้เวลาเท่าไรข้าฝงคนอื่นทางรั้วได้มาแล้วก็เวลาที่พูดถึงกล้วยโดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้วยน้ำว้านั้นจะรู้สึกถึงความเป็นไทยแท้คล้ายกับว่าเป็นผลไม้แห่งภูมิปัญญาไทยที่ควร คิดอยู่เหมือนกันว่าเขียนเรื่องกล้วย ๆหมายความว่าเรื่องง่ายๆแบบนี้จะมีใครอ่านหรือ แต่คิดอีกด้านหนึ่งว่ากล้วยไม่ใช่ของกล้วยๆแต่เป็นของอร่อย ดี และมีคุณค่า
หมายเลขบันทึก: 100222เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2007 11:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 10:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท