อนุทิน 32615


Sasinand
เขียนเมื่อ

กินผักเขียวโดยตรง หรือแปรรูปเป็นน้ำผัก   ก็อาจได้รับปริมาณ โปตัสเซียมสูง และการจำแนกผักที่มีความเข้มข้นของ K สูงไม่สามารถตรวจสอบได้ด้วยตาเปล่า ต้องใช้ชุดทดสอบหรือเครื่องมือในห้องปฏิบัติการ
เพราะ เกษตรกรผู้ปลูกผัก  ใส่ปุ๋ย K2O ที่สูงจนเกิดสภาพการบริโภคอย่างฟุ่มเฟือยของพืช แต่ก็ไม่สามารถทำให้ผลผลิตสูงขึ้นและมีแนวโน้มลดลงเสียด้วย
และ อาจส่งผลให้ผู้ บริโภคโดยเฉพาะผู้ป่วยโรคไต   ได้รับปริมาณ K มากกว่าที่ควร

ช่วงที่ควรระวัง คือช่วง ภาวะน้ำท่วม เทศกาลกินเจ อาจเป็นเหตุให้เกษตรกรใส่ปุ๋ยเพิ่มขึ้นเพื่อหวังเพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่
สรุปว่า การกินผักดิบ และน้ำผัก ก็ต้องระวังด้วย ไม่ควรบริโภคผักซ้ำซาก และไม่ควรกินผักดิบสีเขียว  ในปริมาณ ที่มากเกินไปด้วย ไม่ทราบว่า ผักดิบสีอื่นๆ ก็จะมีปัญหาอย่างนี้หรือเปล่า เพราะทำการวิจัยเฉพาะผักเขียว

ฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง สถาบันวิจัยและพัฒนา กำแพงแสน
ภาควิชาปฐพีวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท