อนุทิน 32340


ปภังกร
เขียนเมื่อ

กรรมชั่วนั้นเปรียบเสมือนเกลือ ทำไม่ดีก็ต้องกินเกลือ เกลือมันเค็มนะ ใคร ๆ ก็ไม่อยากกิน

กรรมดีอันเป็นบุญและกุศลนั้น เปรียบเสมือนน้ำเปล่าอันบริสุทธิ์ ใคร ๆ ก็ต้องดื่ม ดื่มแล้วสดชื่น สบาย

คนเรามีทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว ก็เปรียบเสมือนเกลือและน้ำที่ผสมเข้าด้วยกัน

คนใดมีกรรมชั่วมากกว่ากรรมดีก็เปรียบเสมือนน้ำทะเล ที่ใคร ๆ ก็ไม่อยากกินเพราะมันเค็ม กินแล้วก็กระอัก สำลัก เกิดโทษไม่มีประโยชน์กับร่างกาย

ซึ่งแตกต่างกับคนที่มีกรรมดีมากกว่ากรรมชั่วก็เปรียบได้ดั่งน้ำในแม่น้ำ ลำธาร ที่ใสสะอาดสามารถดื่มกินได้

หากถามว่าน้ำในแม่น้ำนั้นที่เราดื่มมีเกลือไหม ก็สามารถตอบได้ว่า "มี" (สิ่งเหล่านี้เป็นวิทยาศาสตร์) แต่มีเกลือในปริมาณน้อย มีอยู่ในปริมาณที่จะไม่เกิดโทษกับร่างกาย แต่ถึงอย่างไรเราก็ต้องกินเกลือเข้าไป

อย่างเช่นน้ำเกลือที่เขาใช้เช็ดแผล มันก็มีเกลือ แต่ทำไมมันไม่ทำให้เราแสบ

ก็เปรียบได้เช่นเดียวกับกรรมชั่วที่เจือจางอยู่ในกรรมดี

หากเราไม่มีกรรมชั่วเลย เราก็ไม่รู้จักคิด ไม่รู้จักพิจารณา นำกรรมชั่วที่เกิดมาเหล่านั้นมา "ภาวนา" นำมาเป็นอุบายทำให้ใจสงบ และนำมาสร้างเสริมให้เกิดปัญญา



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท