อนุทิน 171536


ณัฐวดี การะพิทักษ์
เขียนเมื่อ
  1. ผู้บริโภคยินดีจ่ายเสมอแม้จะมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับงาน รายได้ ไปจนถึงเศรษฐกิจ ผู้บริโภคก็ยังคงใช้จ่ายเงิน แม้จะกันเงินส่วนหนึ่งเอาไว้เผื่อสำรอง แต่ผู้บริโภคก็มีแนวโน้มที่จะจับจ่ายเมื่อต้องเผชิญกับความเบื่อหน่าย และความซ้ำซากจำเจในระหว่างที่ต้องใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ที่บ้าน ผู้บริโภคจำนวนมากจึงหันมาซื้อของออนไลน์เป็นความบันเทิงให้กับชีวิต

  2. การค้าออนไลน์เปลี่ยนไปมากแม้ว่าหลายประเทศหรือแม้แต่บางจังหวัดในประเทศไทยก็ตามได้เริ่มกลับมาเปิดร้านขายของกันตามปกติ แต่จากที่เคยสัมผัสความสะดวกสบายในการช้อปปิงออนไลน์แล้วได้รับสินค้าภายในไม่กี่วัน บางครั้งได้รับสินค้าภายในวันที่สั่งเลยด้วยซ้ำ ทำให้ผู้บริโภคจำนวนมากยังคงติดอกติดใจกับการซื้อของออนไลน์ต่อไป

  3. โซเชียลมีเดียสามารถเปิดตัวแบรนด์ได้ในชั่วข้ามคืนมีธุรกิจที่ดำเนินการเพียงคนเดียวเกิดขึ้นมากมายและเฟื่องฟูขึ้นด้วยโซเชียลมีเดีย ตั้งแต่ร้านอาหาร ร้านขายเสื้อผ้า เครื่องประดับ ของตกแต่งบ้าน ไปจนถึงงานศิลปะและงานฝีมือ โดยที่แบรนด์เหล่านั้นประสบความสำเร็จขึ้นมาได้โดยที่ไม่ได้ทำอะไรมากไปกว่าการใช้ TikTok หรือ Instagram

  4. ผู้บริโภคชื่นชอบแบรนด์แบบ D2C (Direct to Customers) และรักการเป็นส่วนหนึ่งในคอมมูนิตี้แบรนด์ ผู้บริโภคยอมจ่ายให้กับแบรนด์ที่ขายสินค้าแบบปลีกผ่านช่องทางการขายเฉพาะของแบรนด์เอง อาจจะเป็น Line หรือแอคเคาท์ออฟฟิซเชียลของแบรนด์ โดยไม่ผ่านตัวแทน ไม่ผ่านคนกลาง เพราะผู้บริโภคจได้มีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับแบรนด์มากขึ้น เพราะสร้างความมั่นใจในสินค้าได้มากกว่า

  5. อย่ากลัวที่จะปรับตัวเพื่อปลดล็อกโอกาสให้กับธุรกิจในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ธุรกิจจึงต้องมองหาและเปิดรับการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ไม่มีอะไรผิดหรือจะเปลี่ยนทิศทางไปจากเดิม ซึ่งอาจนำไปสู่ความสำเร็จหรือผลกำไรเพิ่มเติม ถ้าหากเอาแต่ทำแบบเดิมในวันที่สถานการณ์ได้เปลี่ยนไปแล้ว นั่นก็เท่ากับปิดประตูแห่งโอกาสไปแล้ว

ที่มาhttps://www.smethailandclub.com/marketing-7244-id.html



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท