อนุทิน 156055


Nassama Mateang
เขียนเมื่อ

ความเป็นมาของนวนิยาย

            คำว่า "นวนิยายเป็นศัพท์ที่ไทยคิดขึ้นมาเองเพื่อใช้เรียกวรรณกรรมประเภทเรื่องสมมุติที่แต่งเป็นร้อยแก้วขนาดยาวตามแบบตะวันตก ซึ่งแต่เดิมคนไทยเรียกว่า เรื่องอ่านเล่น หรือเรื่องประโลมโลก  ตรงกับคำว่า Novel ในภาษาอังกฤษ หรือ Novella ในภาษาอิตาเลียน มีรากศัพท์ มาจากภาษาลาตินว่า Novellas

           สำหรับเมืองไทยนั้นคำว่านวนิยายนั้นเริ่มขึ้นในสมัย ร.5 ตอนปลาย หลังการปรากฏตัวของเรื่องสั้นเล็กน้อย ในสมัยนั้นนวนิยายออกมาในลักษณะเรื่องแปลพิมพ์เป็นเล่มเรื่องแรก คือ ความพยาบาท ซึ่งแปลโดย แม่วัน (พระยาสุรินทราชา)  พอเรื่องพยาบาทแพร่หลาย คนไทยหันมานิยมอ่านเรื่องแปลมากขึ้นจึงเกิดนักแปลขึ้นมาอีก เช่นเรื่อง "ขุมทรัพย์" และ"เรื่องสาวสองพันปี" แปลโดย นกโนรี หรือ หลวงวิลาสปริวัตร  เป็นต้น ซึ่งนวนิยายต่างๆเหล่านี้ถือเป็นนวนิยายยุคแรกในไทยและไทยก็นำมาจากตะวันตกทั้งสิ้น
           นวนิยายเรื่องแรกในไทยนั้นยังเกิดการถกเถียงกันว่า เรื่อง หัวใจชายหนุ่ม ของร.6 หรือเรื่อง ความไม่พยาบาท ของนกโนรี  และด้วยกระแสนิยมงานแปลสมัยเริ่มแรกจึงมีการแต่งนิยายที่อ้างชื่อตัวละครเป็นชื่อชาวต่างชาติเพื่อหลอกคนอ่านให้เชื่อว่าเป็นนิยายแปลปัจจุบันนวนิยายไทยนั้นมีทั้งเป็นนวนิยายแปลและนวนิยายที่คนไทยเราแต่งขึ้นมาเอง นอกจากการแต่งนวนิยายไว้อ่านเพื่อความเพลิดเพลินแล้ว นวนิยายยังถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนต์ บทละคร และละครโทรทัศน์ อีกด้วยทำให้นวนิยายแพร่หลายออกไปอีกมากและเพราะเกิดความหลากหลายทางวรรณกรรมนั่นเองทำให้วรรณกรรมแนวนวนิยายนั้นมีรูปแบบที่หลากหลายตามไปด้วยขนาดที่ความเจริญก้าวหน้าของวรรณกรรมยุคปัจจุบันดำเนินไป นวนิยายในยุคเก่าก็ยังถูกสนใจและถูกศึกษาอยู่ตลอด กลายเป็นประวัติศาสตร์ ทางวรรณกรรมที่ทรงคุณค่า

อ่านต่อที่ : https://sites.google.com/site/...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท