อนุทิน 140248


ATBB
เขียนเมื่อ

ยะลา "ประกบตัว" เด็กด้อยโอกาส

ดึงท้องถิ่นบูรณาการร่วมแก้ปัญหา

ยะลาใช้วิธี "ประกบตัว" แก้ปัญหาเด็กด้อยโอกาส โดยเฉพาะเด็กกำพร้าเสียพ่อแม่จากเหตุการณ์ความรุนแรง เผยข้อมูลพบตัวเลขเด็กที่ต้องดูแลกว่า 1.6 แสนคน ระดมเจ้าหน้าที่ทุกหน่วยงานร่วมแก้ไข สสค.ระบุยะลาคือต้นแบบ ถ้ายะลาทำได้ จังหวัดอื่นๆ ก็ทำได้เช่นกัน

เด็กด้อยโอกาสที่เข้าโครงการ มีอยู่หลากหลายกลุ่ม เช่นคุณแม่วัยใสซึ่งส่วนมากจะมีช่วงอายุไม่เกิน 15 ปี กลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวี เด็กพิการ และบางส่วนเป็นเด็กที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงในสามจังหวัดชายแดนใต้ พ่อแม่เสียชีวิต หรือแยกทางกัน ทำให้กำพร้าไม่มีใครดูแล การดำเนินการนั้นจะมีการแบ่งทีมงานออกเป็นชุด 1-2 คนต่อทีม เข้าทำการประกบกลุ่มเหล่านี้ การทำงานแบบนี้ถือว่าทุกภาคส่วนรับผิดชอบร่วมกันไม่ใช่ให้คนใดคนหนึ่งแบกรับ และหากเราปล่อยปละละเลยเด็กเหล่านี้ ผลเสียที่อาจจะเกิดขึ้นอาจจะทำให้เราสูญงบประมาณในการแก้ไขปัญหามหาศาล โดยทางทีมงานและผู้ร่วมมือนั้นจะทำการสำรวจเด็กและกลุ่มที่ด้อยโอกาสเหล่านี้ว่า ขาดแคลนในด้านใดเพื่อที่จะเข้าช่วยเหลือได้ตรงจุดตามปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างถูกวิธี

โดยทางสำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ และคุณภาพเยาชน (สสค.) ที่จัดตั้งโครงการนี้ หรือ CMU เชื่อว่า "พื้นที่อันตรายอย่างที่ยะลา ทำได้ดีขนาดนี้ถือว่าประสบความสำเร็จ ถ้ายะลาทำได้ พื้นที่อื่นๆ ก็ทำได้เช่นกัน"


ที่มา : ผู้ดูแลระบบ สสค. ยะลา "ประกบตัว" เด็กด้อยโอกาส (ออนไลน์).

แหล่งที่มา : http://www.qlf.or.th/Home/Contents/685 24 กรกฏาคม 2556"




ความเห็น (1)

โพสข้อมูลอ้างอิงให้ชัดเจนด้วยครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท