อนุทิน 138506


ธันยพร พงศ์จันทร์
เขียนเมื่อ

บันทึกอนุทินครั้งที่ 5

เรื่อง การจัดการความรู้ KM

ความรู้ที่ได้

หลังจากได้เรียนรู้เรื่องการจัดการความรู้ KM การที่จะรู้ ความรู้มีอะไร อยู่ที่ใคร มีรูปแบบใด หรือเทคนิควิธีการสอน การเขียนแผน หรือการพัฒนาหลักสูตรนั้น จะต้องมีการสำรวจว่าองค์กรต้องการอะไร วิธีการค้นหาความรู้อาจทำในรูปแบบของ My Mapping ในการค้นหาความรู้ต้องมีการระบุให้ชัดเจน เช่น การจัดทำ KM ในการจาดการชั้นเรียน การจัดทำ KM ในการบริหารงานวิชาการซึ่งมีทั้งหมด 7 ขั้นตอน ดังนี้

1. โดยเริ่มจากการค้นหาและวางกรอบในการจัดทำ หรือเรียกว่าการบ่งชี้ความรู้

2. แสวงหาความรู้ ถ้ารู้ว่าไม่มีความรู้ในองค์กรหรือที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาโรงเรียนทำได้

3. การสร้างความรู้จากความรู้เดิม การแลกเปลี่ยนความรู้ หรือการนำความรู้จากภายนอกเข้าสู่องค์กรก็ได้ แต่ถ้ารู้ว่ามีความรู้อยู่แล้ว อาจทำเป็นรูปแบบ My Mapping แล้วรวบรวมออกมา โดยมีการจัดอย่างเป็นระบบ มีความสำพันธ์กัน เป็นหมวดหมู่ ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ เพื่อให้สะดวกในการใช้

4. การประมวลความรู้ และเข้าถึงความรู้ มีความจำเป็น เพื่อความถูกต้องและความเหมาะสมกับความรู้

5. การเข้าถึงการเรียนรู้

6. การแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อาจจัดทำเอกสาร จัดทำหลักฐานข้อมูล จัดทำสมุดหน้าเหลืองโดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้ง่ายและรวดเร็วขึ้น

7. การเรียนรู้

ดังนั้นถ้ามีการทำจัดทำ KM ขึ้นจะเห็นได้ว่ามีประโยชน์ เป็นการเก็บความรู้ไว้เพื่อเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ซึ่งอาจเก็บรวบรวมได้หลายรูปแบบ Story telling หรือ Web Go to know

จะนำไปประยุกต์ใช้อย่างไร

ความรู้ที่ได้นำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันโดยการนำความรู้ที่มี แลกเปลี่ยนความรู้กับครูภายในโรงเรียน โดยเริ่มจากเรื่องของนักเรียน รูปแบบเทคนิคการสอนต่างๆ ถือว่าเป็นการเริ่มเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ นำไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้

บรรยากาศในการเรียน

มีการสนทนาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ประสบการณ์ต่างๆจากเพื่อนในห้องที่เคยประสบความสำเร็จ ทำให้มีความชัดเจนในการจัดทำ KM



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท