อนุทิน 138041


Curriculum and Instruction
เขียนเมื่อ

                                                            บันทึกอนุทินครั้งที่  3


วันที่ : 10 สิงหาคม 2557

เรื่อง : องค์กรแห่งการเรียนรู้  (Learning  Organization  :  LO)

วิชา : การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้

ผู้สอน : ผศ. ดร. อดิศร เนาวนนท์

ผู้บันทึก : นางสาวอภิญญา รักพุดซา รหัสประจำตัว 57D0103121

ระดับปริญญาโท สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ภาคพิเศษ หมู่ 1



1.  การเตรียมตัวล่วงหน้าในการเรียนแต่ละครั้ง

      -ศึกษาแรงจูงใจในการริเริ่มการจัดการความรู้  ซึ่งมีแรงจูงใจแท้  และแรงจูงใจเทียม

      -ประเภทของความรู้แบ่งได้  2  ประเภท  คือ  ความรู้เด่นชัด  และความรู้ซ่อนเร้น

      -ความหมายและส่วนประกอบของโมเดลปลาทู

2.  ความคาดหวังในการร่วมกิจกรรม

      -การจัดการความรู้  หรือ  KM  สามารถพัฒนาองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ได้อย่างไร

3.  ความรู้ความเข้าใจที่ได้รับ

      องค์กรหรือหน่วยงานที่สามารถจัดการความรู้เพื่อบรรลุเป้าหมาย  3  ประการไปพร้อม ๆ กัน  คือ  บรรลุเป้าหมายของงาน  บรรลุเป้าหมายของการพัฒนาคน  และบรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กร  อันจะนำไปสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ได้

      องค์กรแห่งการเรียนรู้  (Learning  Organization  :  LO)  เป็นองค์กรที่มีการสร้างช่องทางให้เกิดการถ่ายทอดความรู้  ซึ่งกันและกันภายในระหว่างบุคลากร  ควบคู่ไปกับการรับความรู้จากภายนอก  เป้าประสงค์สำคัญคือ  เอื้อให้เกิดโอกาสในการหาแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด  (Best  Practices)  เพื่อนำไปสู่การพัฒนาและสร้างเป็นฐานความรู้ที่เข้มแข็ง  (Core  Competence)  เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกที่เกิดขึ้นตลอดเวลา

      การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้นั้นต้องอาศัย  The  five  disciplince  หรือแนวทางในการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้  ที่สำคัญ  5  ประการ  ดังนี้

      1.  บุคคลรอบรู้  (Personal  Mastery)  หมายถึง  บุคคลที่ให้ความสำคัญกับความรู้  มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต  (Lifelong   Learning)  เพื่อเพิ่มศักยภาพของตนเองอยู่เสมอ

      2.  แบบแผนทางความคิด  (Mehtal  Model)  หมายถึง  ความเชื่อ  ทัสนคติ  แสดงถึงวุฒิภาวะ  (Emotional  Quotient,  EQ)  ความสามารถในการตัดสินใจเรื่องต่า่ง ๆ ได้อย่างเหมาะสม  

      3.  การมีวิสัยทัศน์ร่วม  (shared  Vision)  หมายถึง  ทัศนคติร่วมของคนในองค์กรที่สามารถมองเห็นภาพ  และมีความต้องการมุ่งไปในทิศทางเดียวกัน

      4.  การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม  (Team  Learning)  หมายถึง  การเรียนรู้ร่วมกันในลักษณะกลุ่มหรือทีมงาน

      5.  การคิดอย่างเป็นระบบ  (System  Thinking)  หมายถึง  คนในองค์กรสามารถที่จะเชื่อมโยงสิ่งต่าง ๆ อย่างเป็นระบบใหญ่  แล้วสามารถมองเห็นระบบย่อยเพื่อที่จะนำไปวางแผนและดำเนินการทำส่วนย่อย ๆ ให้เสร็จทีละส่วน

      แนวทางสำคัญในการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ทั้ง  5  ประการนั้น  เป็นหลักที่สมาชิกในองค์การจำเป็นต้องใช้พัฒนาตนเองและองค์กรสู่การเป็นองค์กรอัจฉริยะ  ที่จะสามารถดำรงอยู่ได้ในศตวรรษที่  21

                                                          

4.  ความคิดเห็นหรือประเด็นที่เรียน

      การที่องค์กรใดองค์กรหนึ่งจะก้าวสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้  ไม่เพียงแต่จำเป็นต้องมีความเข้าใจในแนวทางสำคัญในการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ทั้ง  5  ประการ  เพราะถ้าหากเรามีความเข้าใจแต่ไม่ลงมือปฏิบัติ  ไม่ร่วมกัน       ขับเคลื่อนเป็นทีมงาน  หรือปฏิบัติแค่ใครคนใดคนหนึ่ง  องค์การหรือองค์กรย่อมไม่สามารถเดินทางไปสู่เป้าหมายได้อย่างแน่นอน

5.  การนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาตนและการปฏิบัติงาน

      The five disciplince  นับเป็นแนวทางในการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้  5  ประการ  และสิ่งที่ควรจะพัฒนาเป็นลำดับแรก  คือ  ต้องพัฒนาตนเองให้เป็นคนรอบรู้  มีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา  เพื่อเพิ่มศักยภาพของตนเอง  สิ่งที่สำคัญไม่ว่าเราจะพัฒนาอะไร  ทุกอย่างล้วนแล้วแต่ต้องเริ่มต้นจากการพัฒนาตนเอง

6.  บรรยากาศการเรียน

      บรรยากาศในการเรียนเป็นไปด้วยความสนุกสนาน  อาจารย์สอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ทำให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม  แสดงความคิดเห็น  ถ้าหากมีข้อสงสัยอาจารย์ก็ให้คำปรึกษาและอธิบายได้อย่างชัดเจนเข้าใจได้เป็นอย่างดี

                                



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท