อนุทิน 138040


Curriculum and Instruction
เขียนเมื่อ

                                                      บันทึกอนุทินครั้งที่ 2


วันที่ : 3 สิงหาคม 2557

เรื่อง : การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้  ,  เสวนาอาเซียน

วิชา : การศึกษาเพื่อพัฒนาสังคมแห่งการเรียนรู้

ผู้สอน : ผศ. ดร. อดิศร เนาวนนท์

ผู้บันทึก : นางสาวอภิญญา รักพุดซา รหัสประจำตัว 57D0103121

                ระดับปริญญาโท สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ภาคพิเศษ หมู่ 1



1.  การเตรียมตัวล่วงหน้าในการเรียนแต่ละครั้ง

     ได้ศึกษาหลักและแนวคิดในการจัดการความรู้  การจัดการความรู้หรือที่เรียกย่อ ๆ ว่า  KM  คือ  เครื่องมือ  เพื่อใช้ในการบรรลุเป้าหมายของงาน  บรรลุเป้าหมายการพัฒนาคน  และบรรลุเป้าหมายการพัฒนาองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

2.  ความคาดหวังในการร่วมกิจกรรม

     2.1  ความเข้าใจในการจัดการความรู้  หลักการที่ใช้ในการจัดการความรู้

     2.2  ความรู้ความเข้าใจในการบรรลุเป้าหมายทั้ง  3  ประการ  คือ  งาน  คน  และองค์กร

     2.3  เพราะเหตุใดจึงเปรียบเทียบการจัดการความรู้เหมือนกับปลาทู  ที่มีส่วนประกอบ  3  ส่วน  คือ  หัวปลา  ตัวปลา  และหางปลา  

                         

   

      เนื่องจากวันนี้ต้องเข้ารับการอบรม  "เสวนาอาเซียน"  การเรียนการสอนในวันนี้จึงเลื่อนไปเรียนในสัปดาห์หน้า  ดังนั้นความคาดหวังในการเข้าอบรม  "เสวนาอาเซียน"  วันนี้คือ  อยากทราบความแตกต่างของหลักสูตรที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนในประเทศอาเซียนว่ามีความแตกต่างกันหรือไม่  อย่างไร

3.  ความรู้ความเข้าใจที่ได้รับ

     การเสวนาอาเซียนในวันนี้  มีวิทยากรมาให้ความรู้จาก  4  ประเทศด้วยกัน  คือ  ฟิลิปปินส์  เวียดนาม  กัมพูชา          และสิงคโปร์  หลักสูตรที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของประเทศอาเซียนทั้ง                 4  ประเทศนั้น  มีความแตกต่างกันในด้านของหลักสูตร  ระยะเวลาในการเรียน  รูปแบบการจัดการเรียนการสอน  แต่สิ่งหนึ่งที่  4  ประเทศนี้พึงมีร่วมกัน  คือ  "วินัย"  ทั้ง  4  ประเทศจะปลูกฝังความมีวินัยให้กับนักเรียน  ตั้งใจเข้มงวดกวดขันเรื่องวินัยให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติจนเกิดความเคยชิน  มีการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการศึกษาในทางที่สร้างสรรค์  ประเทศสิงคโปร์เป็นประเทศที่มีการพัฒนาทางการศึกษาได้อย่างรวดเร็ว  นักเรียนและผู้ปกครองในสิงคโปร์จะให้ความสำคัญในเรื่องของการเรียนเป็นอย่างยิ่ง  นับได้ว่าเป็นการจัดการเรียนการสอนเพื่อมุ่งเข้าสู่ศตวรรษที่  21  อย่างแท้จริง

     จะเห็นได้ว่าหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานในแต่ละประเทศมีทั้งส่วนที่แตกต่างกัน  และบางอย่างก็คล้ายกัน  เช่น  เมื่อเทียบกับประเทศไทยแล้วหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานในประเทศฟิลิปปินส์คือ  12  ปี  เช่นเดียวกับประเทศไทย  ประเทศกัมพูชาในสมัยก่อนผู้หญิงไม่ได้เรียนหนังสือ  และผู้ชายก็จะเรียนที่วัดเช่นเดียวกับประเทศไทย  ส่วนเวียดนามและสิงคโปร์เน้นที่วิชาการมากกว่ากิจกรรม  แต่ท้ายที่สุดแล้วเป้าหมายของหลักสุตรแต่ละประเทศนั้นย่อมเหมือนกัน  หากจะเปรียบกับการเดินทางอาจต่างกันที่เดินทางคนละเส้นแต่จุดหมายปลายทางคือจุดเดียวกันนั่นเอง

4.  ความคิดเห็นหรือประเด็นที่เรียน

     จากการ  "ฟังเสวนาอาเซียน"  ข้าพเจ้ามีความคิดเห็นว่าการศึกษาของชาติไทยเราก้ไม่ได้แพ้ชาติใดในโลกแต่ปัจจุบันนี้เด็กไทยมองข้ามในเรื่อง  "วินัย"  ในการศึกษา  ทำอะไรก็ได้ตามใจฉัน  อยากให้นักเรียนไทยให้ความสำคัญในเรื่องของการศึกษาและมีวินัยในตนเองมากกว่านี้  สิ่งสำคัญควรใช้เทคโนโลยีในทางที่สร้างสรรค์เกิดประโยชน์  เพื่อที่จะเป็นบุคคลคุณภาพมีศักยภาพในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป

5.  การนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาตนและปฏิบัติงาน

     ความรู้ที่ได้รับในวันนี้เป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานของแต่ละประเทศ  สิ่งที่ควรนำไปใช้เป็นแบบอย่างในการพัฒนาทั้งต่อตัวข้าพเจ้าเองและในการทำงานของข้าพเจ้าก็ตาม  คือ  เรื่องของความมีวินัยในตนเองไม่ว่าจะทำการสิ่งใด  สิ่งสำคัญในฐานะที่เป็นครูจะนำเรื่องของวินัยไปปลุกฝังให้ผู้เรียนเป็นคนมีวินัย  ใฝ่รู้  ใฝ่เรียน  เพื่อที่จะได้ก้าวทันการเป็นผู้เรียนในศตวรรษที่  21

6.  บรรยากาศการเรียน

     ภายในหอประชุมอนุสรณ์ 70 ปี อากาศเย็นสบาย ถ่ายเทสะดวก มีการใช้สื่อนำเสนอทันสมัย ในการเสวนา  ได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่้วมรับฟังการเสวนาอภิปรายร่วมกัน  มีการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ  นับว่าเป็นบรรยากาศของสังคมแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่  21  อย่างแท้จริง

   



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท