อนุทิน 136757


นิรุทธิ์ การเกตุ
เขียนเมื่อ

ความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างไทยกับไต้หวัน (เขตเศรษฐกิจ)

ภาพรวมความสัมพันธ์ทั่วไป

มีความสัมพันธ์ราบรื่นราบรื่น ภายใต้หลักการ "จีนเดียว"

การเมือง

ในภาพรวมมีเสถียรภาพ โดยมีจุดเปลี่ยนที่สำคัญเมื่อรัฐบาลพรรคก๊กหมินตั๋งได้รับเลือกตั้งเมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๑ และเดือนมกราคม ๒๕๕๕ ติดต่อกัน ทำให้นายหม่า อิงจิ่ว ดำรง

ตำแหน่งประธานาธิบดีติดกันสองสมัย โดยรัฐบาลพรรคก๊กมินตั๋งมุ่งเน้นการดำเนินนโยบายกระชับความสัมพันธ์กับจีน และเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๖ ไต้หวันได้ปรับคณะรัฐมนตรี ครั้งใหญ่ซึ่งมีนายเจียง อี๋ฮว่า รองนายกรัฐมนตรี ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีคนใหม่และนายเหมา จื้อกั๋ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีคนใหม่ และนายหลิน หย่งเล่อ อดีตผู้แทนไต้หวันประจำสหภาพยุโรปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศไต้หวัน ทั้งนี้ การปรับคณะรัฐมนตรีครั้งนี้มีการเปลี่ยนแปลง ตำแหน่งทั้งหมด ๑๓ ตำแหน่ง

การต่างประเทศ

ความสัมพันธ์ไทย - ไต้หวันในปี ๒๕๕๕-๒๕๕๖

ภาพรวมราบรื่น ความร่วมมือจำกัดอยู่ในสาขาอื่น ๆ ที่มิใช่การเมืองและความมั่นคง เนื่องจากนโยบาย “จีนเดียว” ของไทย สาขาความร่วมมือที่โดดเด่นที่สุดยังคงเป็นเศรษฐกิจ โดยไต้หวันเป็นทั้งคู่ค้า นักลงทุน แหล่งนักท่องเที่ยว และตลาดแรงงานที่สำคัญอันดับต้น ๆ ของไทย รองลงมาคือด้านวิชาการซึ่งมีการแลกเปลี่ยนความรู้และบุคลากรในสาขาต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น การเกษตร การศึกษา สาธารณสุข วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม ตลอดจนการปราบปรามขบวนการมิจฉาชีพข้ามชาติ

การแลกเปลี่ยนการเยือนที่สำคัญ ได้แก่ ฝ่ายไทย นายไชยยศ จิรเมธากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เดินทางไปไต้หวัน เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เดินทางไปไต้หวัน เมื่อเดือนเมษายน ๒๕๕๔ เพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับไต้หวัน นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เดินทางไปไต้หวัน เมื่อเดือนมีนาคม ๒๕๕๔ เพื่อส่งเสริมตลาดแรงงานและคุ้มครองสิทธิประโยชน์แรงงานไทยในต่างประเทศ ฝ่ายไต้หวัน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังไต้หวันเดินทางมาประเทศไทย เมื่อเดือนมกราคม ๒๕๕๓ เพื่อร่วมเป็นประธานในพิธีลงนามความตกลงระหว่างธนาคารเพื่อการส่งออกของไต้หวันกับธนาคารกสิกรไทย ที่กรุงเทพฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานไต้หวันเดินทางมาเยือนประเทศไทย เพื่อเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมคณะกรรมการร่วมด้านแรงงานไทย -ไต้หวัน ครั้งที่ ๑๓ ที่เมืองพัทยา เมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๕๓ และเมื่อ ๑๖ มกราคม ๒๕๕๖ พลตำรวจโทสันติ เพ็ญสูตร ผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติและคณะเดินทางไปร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามในข้อตกลงระหว่างสำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย ไทเปและสำนักงานเศรษฐกิจและวัฒนธรรมไทเปประจำประเทศไทยว่าด้วยความร่วมมือในการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติทางเศรษฐกิจและอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องอื่นๆ

[1]ครั้งแรกเมื่อเดือนพฤศจิกายน ๒๕๕๒ ระหว่างการประชุมผู้นำเอเปค ที่สิงคโปร์

[2]ความตกลงกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (Economi

c Cooperation Framework Agreement-ECFA) ระหว่างไต้หวันกับจีนที่ลงนามเมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๕๓ เป็นกรอบการเจรจาที่นำไปสู่ความตกลงการค้าเสรีระหว่างกัน โดยในชั้นต้นได้กำหนดให้ลดภาษีสินค้าไต้หวันไปจีนจำนวน ๕๓๙ รายการ (ร้อยละ ๑๖ ของมูลค่าการค้ากับจีนทั้งหมด) และลดภาษีสินค้าของจีนไปไต้หวันจำนวน ๒๗๐ รายการ (ร้อยละ ๑๐ ของมูลค่าการค้ากับไต้หวันทั้งหมด) ทั้งนี้ ไต้หวันไม่ลดภาษีสำหรับสินค้าเกษตรของจีนและไม่เปิดเสรีด้านแรงงานกับจีน เนื่องจากเป็นภาคเศรษฐกิจที่มีความอ่อนไหว

[3]หลังจากจีนและไต้หวันอนุญาตให้คณะนักท่องเที่ยวจากจีนไปท่องเที่ยวที่ไต้หวัน มีนักท่องเที่ยวจีนเดินทางไปไต้หวันเกือบ ๒ ล้านคน มากเป็นประวัติการณ์ เมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๕๔ ทางการจีนและไต้หวันเห็นชอบที่จะเพิ่มเที่ยวบินโดยสารระหว่างช่องแคบไต้หวันจาก ๓๗๐ เที่ยว/สัปดาห์ เป็น ๕๕๐ เที่ยว/สัปดาห์และล่าสุดในวันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๕๔ จีนและไต้หวันอนุญาตให้ชาวจีนเดินทางไปท่องเที่ยวไต้หวันด้วยตนเองแล้ว

[4]Taiwan Relations Act ค.ศ. ๑๙๗๙ (พ.ศ. ๒๕๒๒)

[5]ไต้หวันและสิงคโปร์ ได้ร่วมมือกันศึกษาความเป็นไปได้ที่จะจัดทำความตกลงความร่วมมือด้านเศรษฐกิจระหว่างกัน เมื่อเดือนสิงหาคม ๒๕๕๓ หลังจากไต้หวันลงนาม ECFA กับจีน เพียง ๒ เดือน

[6] ปัจจุบัน มีประเทศที่ให้การรับรองสถานะของไต้หวันรวม ๒๓ ประเทศ ได้แก่ นครรัฐวาติกัน บูร์กินาฟาโซ เซาตูเมและปรินซิปี สวาซิแลนด์ แกมเบีย คิริบาตี นาอูรู ปาเลา มาร์แชลล์ หมู่เกาโซโลมอน ตูวาลู เบลีซ สาธารณรัฐโดมินิกัน เอลซัลวาดอร์ กัวเตมาลา เฮติ ฮอนดูรัส นิการากัว ปานามา ปารากวัย เซนต์คิตส์และเนวิส เซนต์ลูเซีย และเซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์

ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ

การค้า

ไต้หวันเป็นคู่ค้าสำคัญอันดับต้น ๆ ของไทย การค้ารวมไทย - 

ไต้หวันในช่วงเดือนม.ค.-พ.ค. 2556 มีมูลค่าทั้งสิ้น 4,599 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2555 ร้อยละ 7.48) โดยไทยส่งออกไปไต้หวันมูลค่า 1,349 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นำเข้าจากไต้หวัน 3,250 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2555 ร้อยละ 3.98 และ 8.86 ตามลำดับ) โดยไต้หวันเป็นคู่ค้าอันดับที่ 11 ของไทย และไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 14 ของไต้หวัน

ในช่วง ก.พ. 2557 ไทยส่งออกสินค้าไปไต้หวันทั้งสิ้น 290.94 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2556 ร้อยละ 15.08 และไทยนำเข้าจากไต้หวันช่วงเดือน ก.พ. 2557 มูลค่า 495.88 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2556 ร้อยละ 12.63 โดยคิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 1,698 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2556 ร้อยละ 1.9 ไทยขาดดุลการค้าให้กับไต้หวัน 575 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งลดงจากปี 2556 ร้อยละ 20.5 ทำให้ไต้หวันเป็นคู่ค้าอันดับที่ 12 ของไทย ส่วนไทยเป็นคู่ค้าลำดับที่ 14 ของไต้หวัน

การส่งออกสินค้าตามโครงการ 1 ทูต 3 ผลิตภัณฑ์ (ผลไม้แช่แข็งและแห้ง อาหารสัตว์เลี้ยง และผลิตภัณฑ์จากยางพารา) ในช่วง ก.พ. 2557 มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจาก ก.พ. 2556 ทุกรายการ

การค้าระหว่างไทยและไต้หวันในช่วงเดือน ม.ค. - เม.ย. 2557 มีมูลค่าทั้งสิ้น 3,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2556 ร้อยละ 1.09 โดยไทยส่งออกไปไต้หวันมูลค่า 1,220 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 15.40 นำเข้าจากไต้หวัน 2,380 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2556 ร้อยละ 4.95 ไทยขาดดุลการค้าให้กับไต้หวัน 1,160 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งลดลงจากปี 2556 ร้อยละ 19.82 ทำให้ไต้หวันเป็นคู่ค้าอันดับที่ 12 ของไทย ส่วนไทยเป็นคู่ค้าอันดับที่ 14 ของไต้หวัน

ในเดือน พ.ค. 2557 ไทยส่งออกสินค้าไปไต้หวันมูลค่า 347.44 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2556 ร้อยละ 19.10 และเพิ่มขึ้นจากเดือน เม.ย. 2557 ร้อยละ 9.02 โดยมีสัดส่วนเป็นสินค้าอุตสาหกรรม เกษตรกรรม ร้อยละ 84.15 8.01 และ 7.46 ตามลำดับ ไทยนำเข้าจากไต้หวัน ช่วง พ.ค. 2557 มูลค่า 648.67 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2556

สินค้าส่งออกของไทยไปไต้หวันที่สำคัญได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ขณะที่สินค้าที่ไทยนำเข้าจากไต้หวันที่สำคัญได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์เหล็กและสินแร่โลหะต่างๆ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ และเครื่องจักรไฟฟ้า

การลงทุน

การลงทุนจากไต้หวันมาไทยในเดือน พ.ค.-มิ.ย. 2556 ที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนมีมูลค่าทั้งสิ้น 1,101 ล้านบาท ทำให้ปี 2556 มีการขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากไต้ห

วันแล้า 5,024 ล้านบาท ส่วนใหญ่อยู่ในอุตสาหกรรมเกษตรและผลิตผลจากการเกษตร

ช่วง ม.ค. - ก.พ. 2557 มีธุรกิจไต้หวันที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุน 5 โครงการ มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 367 ล้านบาท แต่หากรวมมูลค่าการลงทุนของบริษัทไต้หวันที่จดทะเบียนในต่างประเทศด้วย (เฉพาะโครงการใหญ่) จะมีมูลค่าการลงทุนรวมทั้งสิ้น 456 ล้านบาท

การลงทุนในเดือน ม.ค. - เม.ย. 2557 มีธุรกิจไต้หวันที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุน 10 โครงการ มูลค่าทั้งสิ้น 835 ล้านบาท จัดเป็นนักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย มากที่สุดเป็นลำดับที่ 11 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2556 จำนวนโครงการและมูลค่าลงทุนลดลงร้อยละ 52.4 และ 79.6 ตามลำดับ แต่หากนับรวมการลงทุนของบริษัทไต้หวันที่มีแหล่งเงินทุนมาจากประเทศอื่นด้วยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่ จะมีมูลค่าการลงทุนรวมทั้งสิ้นประมาณ 2,172 ล้านบาท โดยมีการลงทุนขนาดใหญ่ในกิจการผลิตชิ้นส่วนเหล็กหล่อ กิจการถลุงแร่ ผลิตท่อเหล็กไร้สนิม อาหารสัตว์ และกิจการอบพืช

การท่องเที่ยว

ประเทศไทยเป็นแหลงท่องเที่ยวยอดนิยมอันดับ 4 ของไต้หวันรองจาก จีน ญี่ปุ่น และฮ่องกง โดยในเดือนมิถุนายน 2556 มีนักท่องเที่ยวไต้หวันเดินทางมาประเทศไทย 52,118 คน เพิ่มจากปี 2555 ร้อยละ 43.80 จนถึงเดือนพฤษภาคม 2556 มีนักท่องเที่ยวไต้หวันมาเยือนไทยแล้ว 250,184 คนเพิ่มขึ้นร้อยละ 35.82

ในช่วง ก.พ. 2557 มีนักท่องเที่ยวไต้หวันเดินทางมาประเทศไทย จำนวน 26,432 คน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปี 2556 ร้อยละ 39.43 ทำให้ไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวยอดนิยมอันดับ 9 ของชางไต้หวันในช่วง ม.ค. - ก.พ. 2557 (จากสูงสุดอันดับ 4 ในปี 2556) และชาวไต้หวันเป็นนักท่องเที่ยวที่มาเยือนไทยมากเป็นอันดับที่ 18

จำนวนนักท่องเที่ยวไต้หวันที่เดินทางเยือนไทยในช่วง เม.ย. 2557 ลดลงอย่างมาก เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2556 ซึงมีจำนวนถึง 43,474 คน อันเป็นผลมาจากสถานการณ์ทางการเมืองของไทยที่ยังไม่มั่นคงทำให้นักท่องเที่ยวชาวไต้หวันไม่มั่นใจที่จะเดินทางมาเที่ยวในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ถึงแม้ว่าช่วงนั้นรัฐบาลจะได้ยกเลิกการใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉินตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม 2557 แล้วก็ตาม

จำนวนนักท่องเที่ยวไต้หวันเิดนทางเยือนไทยในช่วง พ.ค. 2557 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2556 เป็นผลจากสถานการณ์ทางการเมืองไทยยังไม่มั่นคง ทำให้ชาวไต้หวันหันไปเที่ยวญี่ปุ่นและเกาหลีใต้มากขึ้น ดังน้้น สำนักงานการค้าไทยและ ททท. ไทเป ได้เร่งดำเนินการส่งเ

สริมและสร้างความเชื่อมั่นการท่องเที่ยวไทยในตลาดไต้หวัน ทั้งการสนับสนุนรายการทีวีเข้าไปสัมภาษณ์และแนะนำแหล่งท่องเที่ยวในเชียงใหม่ การนำเที่ยวสื่อมวลชนไต้หวัน 43 รายการเยือนไทยในปลายเดือน ก.ค. 2557 จัดสัมนาการท่องเที่ยวในโครงการ Thailand Luxury เป็นต้น

ด้านอื่นๆ

แรงงาน

ไต้หวันเป็นตลาดแรงงานสำคัญอันดับต้น ๆ ของไทย แต่อย่างไรก็ตามตั้งแต่ช่วงเดือนธันวาคม 2555 การจ้างแรงงานฟิลิปปินส์ และมาตรการตรวจสอบค่าบริการจัดหางานที่เข้มงวด ทำให้จำนวนแรงงานไทยลดลงอย่างต่อเนื่องจนถึงเดือนสิ้นพฤษภาคม 2556 (62,596)  ในช่วงสิ้นเดือนมิถุนายน 2556 แรงงานไทยในไต้หวันเพิ่มจากช่วงเดือนพฤษภาคมเป็น 62,737 คน เนื่องจากการเข้าไปทำงานในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิิกส์ทดแทนแรงงานฟิลิปปินส์ที่ทางไต้หวันเริ่มมีมาตรการในการระงับการจ้างงาน รวมถึงการผ่อนคลายมาตรการตรวจสอบค่าบริการจัดหางานอย่างเข้มงวด ซึ่งคงจะทำให้แรงงานไทยในไต้หวันทีจำนวนเพิ่มากขึ้น

เอกสารอ้างอิง

http://www.eastasiawatch.in.th/relationship.php?id...



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท