อนุทิน 110339


นางสาว กมลรัตน์ ฉิมพาลี
เขียนเมื่อ

        วันนี้เวียนมาถึงเมื่อไร ครูปุ้มต้องทุ่มทั้งกาย ใจและจิตวิญญาณเหมือนเดิมในการสอนเดอะแก๊งส์ซ่า วันนี้ถึงกับต้องติดสินบนกันเลยทีเดียว เด็กๆเหล่านี้บ่นให้ครูปุ้มฟังด้วยประโยคเดิมๆ งานเยอะมากเลยครับ/ค่ะ ให้เขียนรายงาน ให้ซ่อมแก้ ขนาดจะใกล้สอบมิดเทอมแล้วแท้ๆเลย น่าสงสารเด็กไทยจริงๆนะค่ะ ที่ถูกยัดเยียดความรู้ให้ตลอดเวลา เด็กๆเรียนอย่างเบื่อหน่ายจากที่โรงเรียนมาแล้ว ครูปุ้มจึงต้องลดความคาดหวังในการเรียนนี้ให้เบาลงนิดหนึ่ง เพื่อไม่ให้เพิ่มภาระทางจิตใจให้กับเด็กๆ 

       เรียนเสร็จเราก็ไปนั่งดื่มนมกันค่ะ ระหว่างที่ได้พุดคุยแลกเปลี่ยน ครุปุ้มได้คิดอะไรเยอะแยะเลยค่ะ

       ครูปุ้มเห็นด้วยกับงานวิจัยขอฮาร์วาร์ด ในปี 1993 ชื่อ Report of Memory Traning Issued By Harvard University ที่รายงานว่า การรับรู้มาจากการทำซ้ำ (ทศ  คณนาพร.   2554  :  79  "พลิก720 องศาวิธีคิด เพื่อชีวิตที่รุ่งโรจน์ตลอดกาล จัดพิมพ์โดย แฮปปี้บุ๊ค) แต่คำถามต่อมาก็คือ ห้องเรียนมีเวลาให้เด็กๆได้ทำซ้ำบ่อยแค่ไหน และการทำซ้ำนั่นต้องไม่หมายถึงสิ่งที่น่าเบื่อ ครูต้องออกแบบการฝึกนั้นให้ท้าทาย ยกตัวอย่างการสอนพี่ม. 6 ของครูปุ้ม ครูปุ้มใช้วิธีการเล่าที่มาก่อน จากนั้นถามเพื่อดู concept ของผู้เรียนมามีมากน้อยเท่าไร จากนั้นต้องอธิบายอย่าลึกซึ้งโดยเฉพาะเรื่องของพื้นฐาน อย่างการสอนเรื่องพันธุศาสตร์ คุณครูรู้ไหมค่ะว่าพื้นฐานพันธุศาสตร์อยู่ที่ไหน

       "ใช่แล้วค่ะ"  เรื่องการแบ่งเซลล์ เรื่องการแบ่งเซลล์นี้ถือเป็นหัวใจของการสอนพันธุศาสตร์เลยทีเดียว เด็กๆต้องเข้าใจพื้นฐานพฤติกรรมของโครโมโซมก่อน จึงจะสามารถเรียนเรื่องนี้ได้อย่างสนุกสนาน และพร้อมที่จะทำโจทย์ที่หลากหลายได้อย่างไม่เบื่อ ครูปุ้มได้ยินพี่ๆบอกว่า "อยากเรียนวิชาอื่นเข้าใจเหมือนวิชานี้จัง" "หนูอยากเรียนชีวะทุกวัน" นั่นคือผลสัมฤทธิ์ของการสอนของครูปุ้มค่ะ

       การท่องสำคัญไหมสำหรับชีววิทยา? สำคัญล้านเปอร์เซ็นต์ค่ะ แต่การท่องแบบนกแก้วนกขุนทองนั้นก็ลืมล้านเปอร์เซ็นต์เหมือนกัน คุณครูจึงต้องเชื่อมต่อ สร้างความสัมพันธ์ของสิ่งที่ต้องท่อง แสดงให้เห็นถึงที่มาที่ไปของการท่อง อย่างกฎข้อที่ 1,2 และ 3 ของเมนเดล จริงๆแล้วไม่ต้องท่องเลยค่ะ ถ้าเราสอนให้นักเรียนเข้าใจ

      ครูปุ้มได้ยินเด็กเล่าให้ฟังว่า เวลาถามครูมักจะใช้คำว่า "เค้าก็เขียนกันมาอย่างนี้" "ฉันก็เห็นมันเป็นนี้มาตลอด" ครุปุ้มเสียใจจังค่ะ อย่างเช่น คำว่า Nerve, Neuron กับ Nervous นี่ จริงๆถ้าเด็กถาม สิ่งแรกที่ครูน่าจะต้องแสดงคือ การชื่มชมค่ะ ชื่นชมที่เด็กๆช่างสังเกต ลองมาดูวิธีที่ครูปุ้มอธิบายนะค่ะ 

       Nerve นี่เป็นคำนาม เราจะใช้ทั่วๆไป มักจะวางอยู่ได้ด้านหลัง ใช้เมื่อจะบอกว่า ประสาท/เซลล์ประสาท เช่น auditory Nerve เส้นประสาทควบคุมการทรงตัวและการได้ยิน

      Neuron คือคำนาม แปลว่า เซล์ประสาท  ใช้เมื่อบอกว่านั่นคือตัวเซลล์ประสาท เช่น Sensory Neuron, Association Neuron, Motor Neuron เวลาแปลก็แปลว่าเซลล์ประสาทรับความรับสึก เซลล์ประสาทประสานงาน เซลล์ประสาทสั่งการ ตามลำดับ

 

      ส่วนคำว่า Nervous เป็นคำคุณศัพท์ (adj) จำทหน้าที่ขยายคำนามก็วางหน้านาม แปลว่าเกี่ยวกับประสาท เช่น somatic nervous system  คำหลักคือคำว่าระบบ ใช่ไหมค่ะ ระบบเกี่ยวกับประสาทแบบโซมาติก ประมาณนี้ค่ะ 


          เด็กๆจะไม่ต้องจำมากมายเลยค่ะ ถ้าคุณครูช่วยอธิบายผู้เรียนอย่างชัดเจน สนุกนะค่ะ ที่เด็กๆเรียนรู้ที่จะถามเรา สนุกนะคะ ถ้าเราอธิบายให้ผู้เรียนร้องอ๋อกันเป็นแถว การเรียนการสอนสนุกค่ะ... 


       อย่าลืมเพิ่มพื้นที่และเวลาให้พวกเค้าได้ฝึกซ้อมอย่างสนุกสนานด้วยนะค่ะ




ความเห็น (1)

Central Nervous System

Central = adj บอกตำแหน่ง ถ้าเป็นคำนามคือ center ค่ะ

Nervous = adj แปลว่าเกี่ยวกับเส้นประสาท

System = นามหลักค่ะ

ระบบที่เกี่ยวกับประสาทส่วนกลาง

Peripheral Nervous System

ก็เหมือนกันค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท