อนุทิน 10863


คุณครูพเนศ
เขียนเมื่อ

http://advisor.anamai.moph.go.th/tamra/child/brain04.html

บทที่ 4
ความจำและระบบการเก็บข้อมูลในสมอง

สมองของคนเรามีเส้นทางความจำ อย่างน้อย 5 อย่าง คือ

1.     ความจำภาษา คำพูด ความหมายของคำต่างๆ (Semantic)

2.     ความจำสถานที่ ตำแหน่งที่อยู่ (Episodic ; Location)

3.     ความจำขบวนการ ขั้นตอน (Procedure)

4.     ความจำอัตโนมัติ (Automatic)

5.     ความจำทางอารมณ์ (Emotional) ซึ่งมีอิทธิพลเหนือความจำอื่นๆ และเส้นทาง ที่ไปเก็บสะสมข้อมูลที่ถาวรในสมอง

http://advisor.anamai.moph.go.th/tamra/child/brain05.jpg

การเรียนรู้และความจำ

ความจำจะมีทั้งความจำระยะสั้น (Short term memory) และความจำระยะยาว (Long term memory)

ความจำระยะสั้นมีเวลา 15-30 วินาที ซึ่งหากเรารีบร้อน เราจะลืมความจำนี้ เพราะสมองมีพื้นที่จำกัด สำหรับความจำนี้ เช่น เราเดินไปชั้นล่างเพื่อไปโทรหาเพื่อน โดยจำเบอร์โทรศัพท์จากชั้นบน แต่พอไปถึงชั้นล่างก็ลืมไปแล้ว

ข้อมูลทั้งหมดที่สนใจหรือสำคัญจะเก็บไว้เป็นความจำถาวร ซึ่งเกิดขึ้นในขณะหลับ

ความจำที่สามารถสั่งการได้ (Voluntary) คือ เกี่ยวกับคำพูด ภาษา ฯลฯ

ส่วนความจำที่เป็นแบบอัตโนมัติ เช่น อารมณ์ ขบวนการในการทำงานที่เกิดขึ้น ในกิจวัตรประจำวัน หรือใช้บ่อยๆ เช่น การเดินขึ้นบันได การวิ่ง รับประทานอาหาร ฯลฯ

การจำข้อมูลซ้ำๆ มากมาย จะทำให้สอบได้ดี แต่อาจไม่อยู่ในพื้นที่สมองที่ถาวร เช่น การเรียนมากมาย (cramming) ในโรงเรียน แต่จะมีผลแค่ระยะสั้น พอสอบเสร็จก็ลืม และไม่ได้ช่วยเพิ่มการเจริญเติบโตของสมอง ใยประสาท ซึ่งเป็นจริงดังในปัจจุบัน ที่เราเคยเรียนมากมายในสมัยเด็ก แต่ความรู้ในวัยเด็กก็ลืมไปมาก เมื่อเราเติบโตเป็นผู้ใหญ่ เพราะเป็นข้อมูลที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ หรือไม่มีความหมาย เพราะฉะนั้น เราควรให้ความรู้แก่เด็กเท่าที่จำเป็น เรียนแล้วสามารถนำไปใช้เป็นประโยชน์ได้ เพื่อให้เด็กมีเวลาได้พักผ่อน ออกกำลังกาย ทำกิจกรรมบ้าง เพื่อให้สมองได้รับการพัฒนาเต็ม ตามศักยภาพครบทุกส่วน ไม่ใช่ให้เรียนครอบคลุมมากมายเกินความจำเป็น สุดท้ายก็จำอะไรไม่ได้มากเมื่อโตขึ้น เป็นการทำลายโอกาสในการพัฒนาสมอง ส่วนที่เกี่ยวข้องกับไหวพริบ จินตนาการ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ซึ่งสำคัญกว่าความรู้รอบตัว (Albert Eistein เป็นคนกล่าวไว้) และไม่สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ที่อยู่นอกตำราเรียนได้ ดังที่เด็กไทยเป็นกันในยุคปัจจุบันนี้ ในโลกปัจจุบันการพัฒนาสมองที่เกี่ยวช้องกับไหวพริบ จินตนาการ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์มากกว่าการให้ความรู้มากมาย ดังที่มีตัวอย่างให้เห็นมากมายที่มีความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด ลองสังเกตรอบๆตัวเรา ดูว่าผู้ที่ประสบความสำเร็จด้วยตนเองจะเรียนหนังสือไม่มาก แต่มีประสบการณ์มากมายในชีวิต เช่น คุณธนินทร์ เจียรวนนท์ เจ้าของพิซซ่าฮัท-สเวนเซ็น, บิลล์เกตต์, คุณเจริญ สิริวัฒนา ฯลฯ เพราะเขากล้าเสี่ยง บวกการมีไหวพริบ จินตนาการ การมองภาพรวมออก (สมองซีกขวา) และประสบการณ์ในชีวิตจริง ไม่ได้เรียนเก่งเป็นที่หนึ่ง หรือบางคนก็ไม่จบปริญญา

ความจำทางอารมณ์

ประกอบด้วยประสบการณ์ทางอารมณ์ทกชนิด เช่น ถ้ามีอารมณ์ทางลบทุกชนิดไม่ว่า เศร้า ทุกข์ เครียด กลัว โกรธมาก และนาน ก็จะไม่สามารถจดจำข้อมูลที่เป็นเหตุผลอย่างอื่นได้ (เป็นความจำที่มีอำนาจเหนือความจำอื่นๆ) เพราะเมื่อเกิดความเครียดก็จะทำให้ cortisol หลั่งซึ่งจะยับนั้งการเรียนรู้ และคิดอะไรไม่ออก ไม่มีเหตุผล และเกิดการลัดวงจรของการเดินทางของข้อมูลข่าวสารในสมอง

สมองส่วนที่เก็บความจำทางอารมณ์จะพัฒนาในวัย 6-24 เดือน แต่สมองที่เกี่ยวกับความจำอื่นๆ จะพัฒนาทีหลัง เพราะฉะนั้น ถ้าเราจะพัฒนาอารมณ์เด็ก ต้องอยู่ในช่วง

 

http://advisor.anamai.moph.go.th/tamra/child/brain05.html#brain05

 

กลยุทธ์ของความทรงจำ

เราจะให้เด็กสามารถจำความรู้ต่างๆ ได้ดังนี้

1.     Mind mapping หรือ Webbing เช่น แสดงคงามคิดหลัก และรายละเอียดปลีกย่อย วิธีนี้จะทำให้เกิดการสรุปรวบยอด และเข้าถึงความจำได้ดีที่สุด วิธีการคือ เขียน ความคิด หัวข้อที่กลางแผ่นกระดาษแล้วลากโยงเส้นสีต่างๆ กันไปที่แต่ละรายละเอียด โดยใช้คำน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ อาจวาดรูป หรือสัญลักษณ์ เพื่อแสดงคำอธิบาย

2.     การตั้งคำถามปลายเปิด หรือให้เด็กตั้งคำถาม หรือกำหนดคำตอบหรือให้เด็กตั้งคำถาม

3.     การสรุปใจความสำคัญ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสามารถของการคิดซับซ้อนได้

4.     การแสดงบทบาทตัวละครในเรื่องที่เรียน (บางวิชา) เช่น ประวัติศาสตร์ สงคราม

5.     การถกเถียงกัน

6.     คำย่อจากหลายๆคำนำหน้า เช่น WTO ฯลฯ

7.     ลำดับเวลาได้ผลดีในวิชาประวัติศาสตร์

8.     การทดสอบความรู้

9.     ถอดคำให้ง่ายเข้า จากคำพูดของผู้เขียนมาเป็นภาษาเด็กๆ

10.   ในการเรียนการสอนควรจัดกลุ่มกัน ผลัดกันสอนหรือให้วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล เมื่อเปลี่ยนหัวข้อที่สอน ก็จะเปลี่ยนกลุ่มกัน หรือเปลี่ยนที่นั่งกัน ทำให้มีความหลากหลาย สนุกสนาน หรือเปลี่ยนสีกระดาษ การจัดโต๊ะเรียนเป็นรูปแบบต่างๆที่หลากหลาย และพอใจของแต่ละคน เพื่อให้รู้สึกมั่นคง ทำให้สมองรับความรู้ได้ง่ายขึ้น

11.   เมื่อต้องการให้เด็กจำได้อาจจะต้องสอบในสถานที่ ที่เคยเรียนรู้

12.   การใช้ดนตรี การเต้นรำ กีฬา รูป เสียง เกมช่วยในการเรียนรู้ เช่น ตบมือ กระโดดเมื่อตอบคำถามได้ การทำให้มีการเคลื่อนไหวของร่างกายขณะเรียน จะทำให้สนุกสนาน และจำได้ง่ายขึ้น การใส่ข้อมูลในดนตรี โคลง กลอน ภาษิตล้วนทำให้จำได้ง่ายขึ้น

13.   การทำให้สิ่งแวดล้อมในห้องเรียนมีความสุข และทำให้มีอารมณ์ดี

14.   อาจทำให้เด็กเสนอวิธีเรียนเอง ทดสอบเป็นครั้งคราวว่าเด็กเข้าใจไหม

15.   ดารฉลองกันหลังเรียนจบแต่ละเรื่อง การตกแต่งห้องเรียนเพิ่มความแปลกใหม่

16.   กำหนดจุดมุ่งหมายต้องการรู้อะไร และจำกัดเวลา (dead line setting)

17.   เรียนรู้ด้วยการกระทำ

o    ร้อยละ10 เกิดจากสิ่งที่เราอ่าน

o    ร้อยละ20 เกิดจากสิ่งที่เราได้ยิน

o    ร้อยละ30 เกิดจากสิ่งที่เราได้เห็น

o    ร้อยละ50 เกิดจากสิ่งที่เราได้เห็นและได้ยิน

o    ร้อยละ70 เกิดเมื่อเราได้ถกเถียงความคิดเห็นกัน

o    ร้อยละ80 เกิดเมื่อเราได้สัมผัสกับตัวเอง

o    ร้อยละ90 เกิดเมื่อเราได้สอนคนอื่น

 

 



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท