เทคนิคการลดปริมาณรังสีในการตรวจซีที : การลดพื้นที่ในการสแกน


การเลือกพื้นที่ในการสแกนที่พอเหมาะ ช่วยลดปริมาณรังสีในการตรวจลงได้

สวัสดีครับ

วันนี้ขอนำเสนอเทคนิคหนึ่งที่สามารถใช้ลดปริมาณรังสีในการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ได้

 

เทคนิคที่ใช้ คือ การกำหนดพื้นที่ในการสแกนให้เหมาะสมกับอวัยวะที่ต้องการตรวจ สำหรับการ Scout หรือ Topogram หรือ Surview

 

เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์บางรุ่น จะจำกัดพารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับพื้นที่ในการสแกน (Scan Length หรือ Scan Field)

 

 

สำหรับการ Scout ภาพ เพื่อวางแผนก่อนตรวจ โดยมีพารามิเตอร์ที่เลือกได้ 3-5 แบบ เช่น 250, 360 และ 480 mm. หรือ ตัวอย่างในภาพเลือกได้ 5 แบบ คือ SS, S, M, L, และ LL 

 

 

 

ดังนั้น รังสีเทคนิคผู้ควบคุมเครื่อง ต้องเลือกขนาดของพื้นที่สแกน ตามพารามิเตอร์ที่เครื่องมีให้เลือกใช้เท่านั้น ไม่สามารถเลือกให้พอเหมาะกับขนาดตามความยาวของอวัยวะได้ 

 

 

 

ตัวอย่างการเลือกใช้ Scan Filed ขนาด SS ที่เครื่องกำหนด สามารถครอบคลุมได้เฉพาะบางส่วนของกะโหลกศีรษะ

 

 

ตัวอย่างการเลือกใช้ Scan Field ขนาด S ที่เครื่องกำหนด สามารถถ่ายภาพได้ครอบคลุมตั้งแต่กะโหลกศีรษะถึงกระดูกคอ

 

 

 

 

ข้อด้อย : ของเครื่องที่มีพารามิเตอร์ที่จำกัดแบบนี้ใช้งาน คือ นักรังสีเทคนิค ต้องตัดสินใจเลือกใช้พารามิเตอร์อันใดอันหนึ่ง

 

หากเลือกขนาดเล็กเกินไป ก็ไม่สามารถถ่ายภาพครอบคลุมอวัยวะที่ต้องการได้

 

หากเลือกขนาดใหญ่เกินไป ผู้รับบริการก็มีโอกาสได้รับปริมาณรังสีมากเกินจำเป็น

 

 

 

 

แต่เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ สามารถกำหนดพื้นที่สแกนได้ตามขนาดที่ต้องการ ทำให้นักรังสีเทคนิค สามารถเลือกกำหนดพื้นที่สแกนได้เหมาะสมกับขนาดของอวัยวะที่ต้องการตรวจมากขึ้น 

 

 

แต่นักรังสีเทคนิคบางคน ยังคุ้นเคยกับเทคนิคเดิมๆ ไม่ได้ใส่ใจในการกำหนดพื้นที่การสแกนให้เหมาะสม ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเลือกใช้ขนาดพื้นที่สแกนที่มีพื้นที่กว้างไว้ก่อน เพื่อให้ครอบคลุมอวัยวะที่สนใจหรือมากกว่า แต่ไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบต่อผู้รับบริการ คือ ได้รับปริมาณรังสีที่มากขึ้น ตามขนาดพื้นที่ที่ใช้

 

 

 

 

ข้อเสนอแนะ :

 

เพื่อให้สามารถกำหนดพื้นที่ในการสแกนได้ถูกต้อง ตรงหรือใกล้เคียงกับความเป็นจริง สำหรับการวางแผนการตรวจ หรือ Scout หรือ Topogram หรือ Surview 

 

ดังนั้น... ควรที่จะวัดความยาวของผู้รับบริการที่สอดคล้องกับอวัยวะที่ต้องการตรวจ 

ภาพบน : การวัดความยาวของทรวงอก

ภาพล่าง : การวัดความยาวช่องท้อง ตรวจตับ

 

 

เมื่อทราบขนาดความยาวของพื้นที่ที่ต้องสแกนแล้ว ต่อจากนั้นก็มากำหนดพารามิเตอร์ให้ตรงหรือใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด 

 

 

 

 

 

 

ตัวอย่าง การเปลี่ยนขนาด Scan Length เมื่อใช้ 80 kV 10 mA จะทำให้ค่า DLP เปลี่ยนแปลง ในภาพ แสดงให้เห็นว่า พื้นที่ที่กว้าง ค่าปริมาณรังสีที่ผู้รับบริการจะได้รับ จะมีค่ามากขึ้นตามไปด้วย 

 

ภาพซ้าย : Scan Length 350 mm , DLP = 0.3 mGy*cm

ภาพขวา  : Scan Length 500 mm , DLP = 0.5 mGy*cm

 

 

 

 

 

สรุป : จากตัวอย่างที่นำเสนอมานี้ เป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถใช้เพื่อช่วยลดความเสี่ยงภัยจากรังสีแก่ผู้รับบริการ โดยที่คุณภาพของภาพถ่ายรังสีที่ได้จากการตรวจนั้น ไม่เปลี่ยนแปลง 

 

DLP : Dose Arer Product หมายถึง ปริมาณรังสีดูดกลืนที่วัดตามความยาวที่ตรวจ โดยหน่วยที่ใช้ คือ mGy*cm  ถ้าการตรวจครอบคลุมความยาวของร่างกายมากขึ้น ผู้ป่วยได้ปริมาณรังสีมากขึ้น 

 

 

การลดปริมาณรังสี ด้วยเทคนิคนี้ ถึงปริมาณรังสีที่ลดลงไปนั้น จะลดลงไม่มากนัก แต่ก็เป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถทำให้เกิดความปลอดภัยในการตรวจมากขึ้น

 

หมายเลขบันทึก: 445040เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2011 15:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 มีนาคม 2014 11:05 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณมากค่ะสำหรับข้อเสนอแนะที่นำไปปรับใช้ได้ ในโอกาสต่อไป

เป็ด

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท