บ้านลอยน้ำ


เมื่อเราต้องอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีความเสี่ยงภัยต่อภาวะน้ำท่วมซ้ำซาก น่าจะมีการปรับเปลี่ยนรูปทรงของบ้านใหม่

สวัสดีครับ

เดี๋ยวนี้สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ปีนี้น้ำท่วมหลายพื้นที่ ทำให้ผมต้องเปลี่ยนความคิด แต่ก่อนผมมักจะบอกคนรู้จักว่า เวลาสร้างบ้านให้สร้างบ้านชั้นเดียว อย่า... สร้างบ้าน 2 ชั้น เพราะเมื่อแก่ตัวเดี๋ยวจะเดินขึ้นบ้านชั้น 2 ไม่ไหว  มาบัดนี้ ต้องแนะนำว่า... ควรสร้างบ้าน 2 ชั้น เพราะอาจจะได้เอาไว้อาศัย บนบ้านชั้นสอง เมื่อเวลาน้ำท่วมบ้าน

 

เวลานี้ เมื่อน้ำท่วมบ้าน หลายคนต้องย้ายออกมานอนข้างถนน บางคนไม่อยากย้ายออกมาจากบ้านที่ถูกน้ำท่วม เพราะห่วงสมบัติ กลัวขโมยไปขนข้าวของ เมื่อตอนเจ้าของบ้านย้ายออกมา 

 

ดังนั้น

 

เมื่อได้อ่านเรื่อง บ้านลอยน้ำ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพฯ

จาก http://www.gotoknow.org/blog/dr-ammy/463206

ก็เห็นด้วยกับความคิดนี้ว่าน่าจะเหมาะกับบ้านที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยกับภาวะน้ำท่วม โดยเฉพาะบริเวณที่มีน้ำท่วมซ้ำซาก

 

แต่ราคาที่สร้าง อาจจะแพงสำหรับหลายท่าน ดังนั้นอาจจะลองสร้างแบบการนำวัสดุเหลือใช้มาประยุกต์ เช่น ทุ่นอาจใช้ถังน้ำมันมาทำ ตัวบ้านลอยน้ำ สร้างขนาดไม่ต้องใหญ่มาก สร้างเพื่อเอาไว้อยู่ชั่วคราวข้างบ้านที่อาศัยอยู่เดิม เพราะบางคนไม่อยากไปไกล จะได้เฝ้าสมบัติที่บ้านเดิมได้ด้วย 

 

การสร้างคือ

1. ตอกเสาไว้ลึก 4 เสา (หรือผูกติดกับบ้านหลังที่อาศัยอยู่ในปัจจุบัน คล้ายกับเรือเดินสมุทรที่ต้องมีเรือขนาดเล็กไว้ข้าง)

2. บ้านสร้างบนทุ่น

3. ผูกทุ่นติดกับเสา แบบหลวมๆ

4. เมื่อน้ำท่วม ทุ่นลอยน้ำ เราก็อาศัยอยู่บนบ้านลอยน้ำ

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 463600เขียนเมื่อ 3 ตุลาคม 2011 15:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

ขอบคุณคะ ภาพวาดอาจารย์ชัดเจนดีจัง

ช่วยกันคิด หาวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น ทำบ้านลอยน้ำเป็นแนวคิดที่น่าสนใจ

นึกถึงบ้าน ที่สร้างด้วยวัสดุเบาๆ แบบในญี่ปุ่น ไม่รู้จะเหมาะกับบ้านเราไหมนะคะ

วัสดุที่ใช้ควรเป็นอะไรดีครับ ที่จะคงทนหน่อย และต้นทุนต่ำนิด (ส์) จึงเหมาะกับชาวบ้าน

สวัสดีค่ะ

Ico64

ติดตามข่าวและขอเป็นกำลังใจให้มีการพัฒนาวิธีการป้องกันแก้ไขน้ำท่วมในพื้นที่ต่างๆโดยเฉพาะบ้านอยู่อาศัยนะคะ...ในสหรัฐอเมริกามีการผลิต DoorDam เพื่อกั้นน้ำท่วมเข้าอาคารบ้านเรือนทั้งตามฤดูกาลและในภาวะการเกิดพายุที่รุนแรง ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีหลายรูปแบบ หลายขนาด ถ้าใครต้องการนอกเหนือจากที่วางจำหน่าย เขาก็มีวิศวกรไปออกแบบและผลิตให้โดยเฉพาะ...ก็อาจเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับบ้านที่อยู่ในบริเวณที่ไม่ถึงกับจมน้ำซึ่งจะต้องปรับเปลี่ยนเป็นบ้านลอยน้ำได้ต่อไป...หากได้มีการส่งเสริมให้มีการศึกษาและผลิตขึ้นใช้ให้เหมาะกับอาคารบ้านเรือนในประเทศไทย...แต่คงจะต้องปรับเปลี่ยนแบบและวัสดุในการก่อสร้างบ้านชั้นล่างให้มีความเหมาะสมกับการติดตั้ง DoorDam...

เรียน ทุกท่าน

แนวคิดบ้านลอยน้ำ ตามที ดร.พจนา นำเสนอ น่าสนใจ

ชาวไทยผู้มีความรู้ทักษะด้านวัสดุศาสตร์ น่าศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ต่อ เพื่อพัฒนาสำหรับผลิตขึ้นใช้ในประเทศเพื่อผู้ประสบภัย ต่อไป

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยม มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครับ

สวัสดีครับ รศ.เพชรากร หาญพานิชย์

เป็นความคิดและความต้องการที่ยอดเยี่ยมเข้ากับสถานการณ์จริงๆ ครับ

"เรือนแพ" ของไทยก็เป็นภูมิปัญญาที่มีมานานแล้วเช่นกันนะครับ เห็นแถวพิษณุโลกมีหลายหลัง

น่าจะพิจารณาต่อยอดได้บ้างนะครับ...ตามแบบนั้นดีมากเลยครับอาจารย์ เห็นด้วย ๆ

ฝันไปเล่นๆว่า..เราๆกลับไปเรียนเรื่องราวของความเป็นอยู่ของคนสมัยก่อน..เป็นต้นว่า"ความเป็นอยู่ของผีตองเหลือง"กุศโลบายความเป็นอยู่กับธรรมชาติ..ไม่ใช่..ทารุณธรรมชาติ..จนทำให้ตนเดือดร้อน..อยู่ทุกวันนี้..และจะรุนแรงยิ่งขึ้นๆในอนาคต..อ้ะ..ยายธี

สวัสดีค่ะ

ชอบแนวคิดบ้านลอยน้ำมากค่ะ

แต่เดิมเรือนแพที่คนไทยใช้เป็นที่อยู่อาศัย

เห็นทีจะต้องกลับนำมาฟื้นฟูกันอีกนะคะ

สวัสดีค่ะ

แวะมาอ่านบันทึกนี้ค่ะ

พร้อมกับมาชมภาพวาดค่ะ

เป็นแนวคิดที่ดีค่ะ

ขอบคุณสำหรับบันทึกนี้นะคะ

ขอบคุณค่ะ

เข้าท่าดีนะค่ะ

ไม่ต้องกังวลกับน้ำ

ลอยไปใหนก็ได้

ไม่จมแน่นอนค่ะ

แถมด้วยส้วมลอยน้ำ

ได้มาตอนไปช่วยน้ำท่วมที่เมืองยาง  โคราชคะ

อยากสร้างรีสรอทลอยน้ำเหมือนกัน แถวอยุธยา บ้านลอยน้ำน่าสนใจมากคะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท