สภามหาวิทยาลัย : (20)


มหาวิทยาลัย เป็นองค์กรที่คนมีความรู้สึกเชิงปัจเจกสูง ผู้บริหารต้องรู้จักใช้แรงบีบคั้นภายนอก มาเป็นเครื่องมือสร้างความสามัคคีภายใน การนำเสนอเรื่องต่อสภามหาวิทยาลัยเป็นแรงบีบคั้นอย่างหนึ่ง

ใช้สภามหาวิทยาลัยเป็นเครื่องมือสร้างความรู้สึกเป็นทีมระหว่างฝ่ายบริหารกับบุคลากร

• ผมมีข้อสังเกตมานาน   ว่าอธิการบดีหลายมหาวิทยาลัย มีความสามารถสูงมาก   ในที่ประชุมสภามหาวิทยาลัย ท่านจะทำหน้าที่นำเสนอเรื่องเชิงระบบ เชิงการพัฒนา อย่างคล่องแคล่ว   และเวลาตอบคำถามหรือข้อสังเกต ก็ทำได้อย่างดีเยี่ยม
• แต่ผมบอกตัวเองว่าถ้าผมได้ทำงานในตำแหน่งนั้น (ซึ่งผมไม่เคยทำ) ผมจะไม่ทำตัวเช่นนั้น    ผมจะจัดให้คณบดี / ผอ. สถาบัน  หรือรองอธิการบดี เป็นผู้นำเสนอและตอบคำถาม    ผมจะคอยเสริมให้เห็นภาพใหญ่ ภาพเคลื่อนไหว เท่านั้น    ถ้ามีโอกาสผมจะให้อาจารย์หรือเจ้าหน้าที่ที่ไม่มีตำแหน่งบริหาร ได้เข้ามานำเสนอผลงานของตน เพื่อให้เป็นที่ชื่นชมยินดีต่อสภามหาวิทยาลัย    และให้ผู้มีผลงานได้ชื่นใจ
• ผมมองว่าการที่อธิการบดีมอบให้ผู้บริหารระดับรองเป็นผู้เสนอเรื่องในสภามหาวิทยาลัย เป็นการสร้าง ownership ซึ่งจะนำไปสู่ความภาคภูมิใจ และความมุ่งมั่นที่จะลงมือทำ
• ยิ่งอธิการบดีช่วยซ้อมการนำเสนอ และช่วยเสริม ให้สภามหาวิทยาลัยมีมติเห็นชอบหรือชื่นชม ก็จะยิ่ง “ได้ใจ” ทีมงาน   และทำให้เกิดความรู้สึกมีชะตากรรมร่วม   ต้องฟันฝ่าร่วมกัน
• มหาวิทยาลัย เป็นองค์กรที่คนมีความรู้สึกเชิงปัจเจกสูง    ผู้บริหารต้องรู้จักใช้แรงบีบคั้นภายนอก มาเป็นเครื่องมือสร้างความสามัคคีภายใน   การนำเสนอเรื่องต่อสภามหาวิทยาลัยเป็นแรงบีบคั้นอย่างหนึ่ง

วิจารณ์ พานิช
๒๕ พค. ๔๙
  
  


 

หมายเลขบันทึก: 30956เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2006 09:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:01 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท